ในช่วงเวลาที่ร่างกายไม่แข็งแรง อ่อนแอ หรือป่วยบ่อย โดยเฉพาะเมื่อสภาพอากาศเริ่มเย็นลง อาจทำให้หลายคนสงสัยได้ว่าทำไมถึงป่วยง่าย หรือรู้สึกอ่อนเพลียแม้จะดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญอาจเกิดจากการขาดแร่ธาตุอย่าง ‘ซิงค์’ หรือแร่ธาตุสังกะสี ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายสามารถป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดีและฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ซิงค์ (Zinc) แร่ธาตุสังกะสี มีประโยชน์อย่างไร ทานยังไงให้ได้ผล” มาฝากกัน เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจ และดูแลสุขภาพในช่วงหน้าหนาวที่กำลังมาถึงนี้ได้อย่างถูกต้อง
ซิงค์ (Zinc) คืออะไร และทำไมร่างกายถึงต้องการ?
ซิงค์ คืออะไร?
Zinc ซิงค์หรืออีกชื่อที่รู้จักกันว่า “แร่ธาตุสังกะสี” เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโต การฟื้นฟูเซลล์ และการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ซิงค์ ยังมีความสำคัญในการผลิตเอนไซม์ และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงานในร่างกายอีกด้วย อีกทั้งยังมีบทบาทในการช่วยสังเคราะห์ดีเอ็นเอและโปรตีน ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานในการฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย
ซิงค์ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้อย่างไร?
ซิงค์ (Zinc) หรือแร่ธาตุสังกะสี ที่พบมากเป็นอันดับสองในร่างกาย รองจากธาตุเหล็ก โดยประกอบอยู่ในทุกเซลล์และจำเป็นสำหรับการทำงานของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด ซิงค์มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน การย่อยอาหาร การทำงานของระบบประสาท และกระบวนการอื่น ๆ อีกมากมาย
ซิงค์มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocytes) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจจับ และกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ซิงค์ยังมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการซ่อมแซมเซลล์และการสร้างเซลล์ใหม่ รวมถึงมีส่วนช่วยในการผลิตโปรตีนที่จำเป็นต่อการเติบโตและการพัฒนาของร่างกายอีกด้วย
การมีซิงค์ในระดับที่เพียงพอจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในการฟื้นฟูบาดแผล และลดโอกาสในการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และรักษาความสมดุลของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้น ซิงค์จึงเป็นแร่ธาตุที่สำคัญและจำเป็นต่อสุขภาพของร่างกายและภูมิคุ้มกันโดยรวม
ทั้งนี้ ความสามารถในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการได้รับในแต่ละวัน หากร่างกายได้รับซิงค์ไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่การขาดแร่ธาตุซิงค์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพโดยรวมได้
ผลจากการขาด ซิงค์ ในร่างกาย
การขาดซิงค์ ในร่างกายอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด หรือการอักเสบที่ผิวหนัง นอกจากนี้ยังทำให้แผลสมานช้าลง ผิวพรรณไม่เรียบเนียน และอาจเกิดอาการผมร่วงได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลต่อการรับรสชาติ ทำให้การรับรู้รสเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลให้บางคนเบื่ออาหาร และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ การขาดซิงค์สามารถเกิดได้ทั้งในรูปแบบรุนแรง และแบบไม่รุนแรง แม้ว่าการขาดซิงค์ แบบรุนแรงจะพบได้น้อย แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนที่มีภาวะพันธุกรรมที่หายาก ทารกที่ดื่มนมแม่ที่มีซิงค์ไม่เพียงพอ ผู้ที่มีการติดสุรา และผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
อาการของการขาดซิงค์รุนแรง ได้แก่
- การเจริญเติบโตและพัฒนาที่บกพร่อง
- การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ที่ล่าช้า
- ผื่นผิวหนัง ท้องเสียเรื้อรัง แผลหายช้า
ส่วนการขาด ซิงค์ ในรูปแบบไม่รุนแรงนั้นพบได้บ่อยกว่า โดยเฉพาะเด็กในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากอาหารที่ทานเข้าไปในแต่ละวันมักจะขาดสารอาหารที่จำเป็น รวมถึงกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดซิงค์ ได้แก่ ผู้ที่มีโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคโครห์น คือ การอักเสบของระบบทางเดินอาหารเรื้อรัง มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติและวีแกน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ทารกที่ดื่มนมแม่อย่างเดียว ผู้ที่มีโรคโลหิตจางเซลล์รูปเคียว (Sickle cell anemia: SCD) ผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ผู้ที่มีโรคไตเรื้อรัง และผู้ที่มีภาวะติดสุรา
อาการของการขาดซิงค์แบบเบา ได้แก่
- ท้องเสีย
- ภูมิคุ้มกันลดลง
- ผมบาง
- ความสามารถในการรับรสหรือกลิ่นลดลง
- ผิวแห้ง
- ปัญหาภาวะเจริญพันธุ์
- แผลหายช้า
ซิงค์มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ?
ซิงค์ช่วยให้ผิวพรรณและเล็บแข็งแรง
ซิงค์ (Zinc) เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณดูชุ่มชื้นและมีความยืดหยุ่น อีกทั้งซิงค์ช่วยเรื่อง ลดการอักเสบของผิวหนัง รวมถึงเสริมความแข็งแรงของเล็บ ลดปัญหาเล็บเปราะบาง แตกหักง่าย นอกจากนี้ ยังช่วยลดปัญหาสิว รวมถึงผื่นผิวหนัง เนื่องจากซิงค์มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ พร้อมควบคุมการผลิตน้ำมันในผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณดูมีสุขภาพดี และลดการอุดตันของรูขุมขน
ซิงค์กับการเจริญเติบโตของร่างกาย
ซิงค์มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะในเด็ก การขาดซิงค์ อาจทำให้การเจริญเติบโตช้าลง ส่งผลต่อการเพิ่มความสูง รวมถึงพัฒนาการของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งยังมีบทบาทในการพัฒนาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีพลังงานเพียงพอสำหรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน ดังนั้น การทานอาหารที่มีซิงค์อย่างเพียงพอจึงสำคัญมากสำหรับเด็กในวัยเจริญเติบโต
บรรเทาอาการไข้หวัดด้วย ซิงค์
สำหรับคนที่เป็นไข้หวัดบ่อย ๆ ซิงค์สามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการได้ โดยซิงค์จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทานซิงค์ทันทีที่เริ่มมีอาการของไข้หวัด เช่น อาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล หรืออ่อนเพลีย จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้เร็วขึ้น และลดระยะเวลาของไข้หวัดได้
วิธีทานซิงค์ให้ได้ผลและประโยชน์สูงสุด
ปริมาณซิงค์ที่ควรได้รับในแต่ละช่วงวัย
โดยทั่วไป ปริมาณซิงค์ ที่ควรได้รับจากอาหารในแต่ละวันจะแตกต่างกันไปตามอายุ และสภาวะของแต่ละบุคคล ดังนี้
- ทารกอายุ 7 เดือนถึง 3 ปี ควรได้รับวันละไม่เกิน 3 มิลลิกรัม
- เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับวันละไม่เกิน 5 มิลลิกรัม
- เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับวันละไม่เกิน 8 มิลลิกรัม
- ผู้หญิงอายุ 14-18 ปี ควรได้รับวันละไม่เกิน 9 มิลลิกรัม
- ผู้หญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวันละไม่เกิน 8 มิลลิกรัม
- หญิงตั้งครรภ์อายุ 14-18 ปี ควรได้รับวันละไม่เกิน 12 มิลลิกรัม
- หญิงตั้งครรภ์อายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวันละไม่เกิน 11 มิลลิกรัม
- หญิงให้นมบุตรอายุ 14-18 ปี ควรได้รับวันละไม่เกิน 13 มิลลิกรัม
- หญิงให้นมบุตรอายุ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับวันละไม่เกิน 12 มิลลิกรัม
- ผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับวันละไม่เกิน 11 มิลลิกรัม
สำหรับการรับประทานอาหารเสริมซิงค์ ปริมาณที่แนะนำต่อวันอาจแตกต่างไปตามช่วงวัย และความต้องการของร่างกายเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
- ทารกอายุ 0-6 เดือน ควรได้รับซิงค์ จากอาหารเสริมไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับไม่เกิน 7 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับไม่เกิน 12 มิลลิกรัมต่อวัน
- เด็กอายุ 9-13 ปี ควรได้รับไม่เกิน 23 มิลลิกรัมต่อวัน
- วัยรุ่นอายุ 14-18 ปี ควรได้รับไม่เกิน 34 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผู้ใหญ่ (อายุ 19 ปีขึ้นไป) ควรได้รับไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน
ควรทานซิงค์เวลาใดดีที่สุด?
ซิงค์สามารถทานตอนท้องว่างก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมง แต่หากทานตอนช่วงท้องว่างและรู้สึกไม่สบายท้อง สามารถทานพร้อมกับอาหารได้ ควรหลีกเลี่ยงการทานซิงค์พร้อมกับแคลเซียมหรือธาตุเหล็กในปริมาณมาก เนื่องจากอาจทำให้การดูดซึมซิงค์ลดลงได้
แหล่งอาหารที่มีซิงค์
ซิงค์พบได้ในอาหารประเภทหอยนางรม ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งแร่ธาตุสังกะสีที่มีความเข้มข้นสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบได้ในเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อไก่ ปลา เมล็ดฟักทอง ถั่วต่าง ๆ และธัญพืชเต็มเมล็ด การทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายได้รับซิงค์อย่างเพียงพอ แต่หากรู้สึกว่าได้รับซิงค์ไม่เพียงพอ ก็สามารถทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีซิงค์ได้เช่นกัน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้มั่นใจว่าทานในปริมาณที่เหมาะสม
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทานซิงค์ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ใกล้บ้านหรือผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย อีกทั้งยังสามารถหาซื้อซิงค์ได้ที่ร้าน หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านทาง ALL Online ของเรา กดที่นี่เพื่อซื้ออาหารเสริมซิงค์ bit.ly/3cgIzGG
ใช้บริการ Delivery เพื่อส่งสินค้าสุขภาพถึงบ้าน คลิกเลย!
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับซิงค์ (Zinc)
ซิงค์ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันได้จริงไหม?
จริง เพราะ ซิงค์มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายมีความพร้อมในการป้องกันและต่อสู้กับเชื้อโรค โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสต่าง ๆ การทานซิงค์เสริมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
ใครบ้างที่ควรทาน ซิงค์ ?
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กที่กำลังเจริญเติบโต ผู้สูงอายุที่ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ลดลง รวมถึงคนที่มีภาวะผิวพรรณหรือเส้นผมไม่แข็งแรง เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และผู้ที่เป็นมังสวิรัติอาจต้องการซิงค์เสริม เนื่องจากอาหารจากพืชอาจมีปริมาณซิงค์ที่น้อยกว่าอาหารจากสัตว์
หากทานซิงค์มากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น?
การทานซิงค์ ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และอาการท้องเสียได้ นอกจากนี้ การทานซิงค์เกินปริมาณที่แนะนำเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น ทองแดง และทำให้เกิดภาวะขาดทองแดงได้ ดังนั้น ควรทานซิงค์ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เกินค่าที่แนะนำต่อวัน เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด
สรุป
ซิงค์(Zinc) เป็นแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค และฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทานซิงค์อย่างเหมาะสมจะช่วยให้สุขภาพผิวพรรณ เล็บ และระบบต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงได้ การทานซิงค์เสริมจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการดูแลสุขภาพ
ทั้งนี้หากใครที่มีโรคประจำตัว หรือกำลังทานยาอยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม
ที่มา
ธาตุทองแดง (Copper) สังกะสี (Zinc) จาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Zinc: Everything You Need to Know บทความจาก Healthline
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง