หลังจากที่เรา Work from Home กันมาสักระยะนึงแล้วจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 และก็ยังไม่มีวี่แววว่าเราจะได้กลับไป Work at Office กันเมื่อไร
ตอนนี้ก็เริ่มเกิดที่ทำงานใหม่ขึ้น นั่นก็คือ “Work from Bed” หรือการทำงานบนเตียงนั่นเองค่ะ อาจจะเป็นเพราะเราสามารถตื่นมาล้างหน้า แปรงฟัน แล้วเปิดคอมพิวเตอร์ทำงานต่อบนเตียงได้เลย ทำให้เรารู้สึกว่าไม่อยากจะลุกไปไหน แต่ทราบไหมคะ? ว่าการทำงานบนเตียงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเราได้นะคะ
🔹 สาเหตุที่เราไม่ควรทำงานบนเตียง
เพราะ เตียงอ่อนนุ่มเกินไป การนั่งหรือนอนบนเตียงแบบผิดลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อหลัง และสะโพก เกร็งตลอดเวลา และก่อให้เกิดโรคต่างๆ เกี่ยวกับกล้ามเนื้อตามมา
โรคที่อาจเกิดขึ้นจากการนั่งทำงานบนเตียง
-
อาจเกิดอาการปวดศีรษะ
-
กล้ามเนื้อหลังแข็งเกร็ง และเกิดอาการปวดตามมา
-
ปวดคอ จากการบาดเจ็บของกระดูก เอ็นและกล้ามเนื้อที่คอ
-
อาจเกิดเป็นโรคกระดูกและข้อเรื้อรังได้ในอนาคต
ดังนั้น หากเลิกทำงานบนเตียงได้ ควรเลิกทำงานบนเตียง จัดมุมสำหรับทำงาน โดยมีโต๊ะ เก้าอี้ที่เหมาะสม
แต่หากมีความจำเป็นไม่สามารถเลิกทำงานบนเตียงได้ ให้ปฏิบัติดังนี้
-
นั่งหลังตรงอยู่ในท่าเหมือนนั่งเก้าอี้ จะช่วยลดการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อได้
-
ม้วนผ้าห่มหรือใช้หมอนหนุนหลังเป็นเครื่องพยุงหลัง
-
ตั้งหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา เพื่อหลีกเลี่ยงการนั่งหลังค่อม
-
อย่านอนคว่ำหน้าพิมพ์งานอาจเกิดการบาดเจ็บที่คอและข้อศอกได้
-
เปลี่ยนอิริยาบท เพื่อผ่อนคลายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
การทำงานบนเตียง นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายของเราแล้ว ยังส่งผลถึงสุขภาพใจของเราด้วยนะคะ เพราะการทำงานบนเตียงทำให้เราขาดความกระตือรือร้นที่จะทำงาน เกิดความขี้เกียจในการทำงาน และที่น่าห่วงก็คือเรื่องของการนอนค่ะ เนื่องจากร่างกายเราเกิดความสับสน เพราะปกติการอยู่บนเตียงแสดงว่าเรากำลังจะนอน แต่พอเราเปลี่ยนมาทำกิจวัตรต่างๆ บนเตียง ทำให้ร่างกายลืมเงื่อนไขที่ว่าเมื่ออยู่บนเตียงต้องนอน นานวันไปก็จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และก็กลับไปส่งผลให้เราขาดสมาธิในการทำงานได้ค่ะ
รู้อย่างนี้แล้ว หากต้องทำงานที่บ้านไปอีกนาน ควรลงทุนซื้อโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับการทำงาน เพื่อสุขภาพของเราเองนะคะ แต่หากเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจากการทำงานบนเตียง หรือมีภาวะนอนไม่หลับจากการทำงานบนเตียง สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
Open this in UX Builder to add and edit content
- กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. “เตือนอย่านอนทำงาน WFH บนเตียง”
- “What happens when you work from bed for a year”