หูอื้อ ไม่หาย แก้ยังไง ไม่ให้รบกวนชีวิตประจำวัน

หูอื้อไม่หาย แก้ยังไง

หูอื้อ เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่ดูจะไม่เป็นอันตรายแต่สร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยไม่น้อย ถึงแม้ว่าบางครั้งอาการหูอื้อจะเป็นแล้วหายเองได้ แต่ในบางกรณีที่เป็นมานานที่ไม่หายสักที หลายท่านอาจจะเกิดความกังวลและข้อสงสัยว่าอาการที่ตนนั้นเผชิญจะก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ ?

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับอาการ หูอื้อไม่หาย แก้ยังไง ไม่ให้รบกวนชีวิตประจำวันกันค่ะ

 

ทำความรู้จักกับ “หูอื้อ”

หูอื้อ (Tinnitus) เป็นคำที่ใช้เรียกเมื่อมีความรู้สึกว่าประสาทการรับเสียงลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง ซึ่งบางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู เช่น ได้ยินเสียงอื้ออึง หรือเสียงหวีด

ผู้มีอาการส่วนใหญ่ จะรู้ตัวเนื่องจากหูอื้อมักเกิดความผิดปกติแบบเฉียบพลัน ในบางรายอาจไม่รู้ตัวเนื่องจากอาการจะค่อย ๆ มากขึ้น โดยสังเกตได้จากผู้คนที่อยู่รอบข้าง เช่น เมื่อมีคนเรียกแล้วไม่ค่อยได้ยินหรือ เปิดเพลงเสียงดังกว่าปกติ

 

ลักษณะอาการ หูอื้อ เป็นอย่างไร

นอกจากการได้ยินเสียง และความคมชัดของเสียงลดลงผู้ที่มีอาการหูอื้อ อาจได้ยินเสียงรบกวนภายในหูดังนี้

  • เสียงหึ่ง หรือเสียงพึมพำ (Buzzing)
  • เสียงคำราม (Roaring)
  • เสียงฮัม (Humming)
  • เสียงคลิก (Clicking) แสดงถึงการหดเกร็งของกล้ามเนื้อใน และรอบ ๆ หู

โดยเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นภายในหูของผู้ที่มีอาการหูอื้อ อาจมีโทนที่ต่างกันไปตั้งแต่โทนทุ้มต่ำ ไปยังโทนเสียงแหลมสูง และอาการหูอื้อนั้นอาจเกิดข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้นั่นเอง

 

อาการ หูอื้อ

 

สาเหตุของการเกิดอาการหูอื้อ

อาการหูอื้อสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยภายในร่างกาย ดังนี้

ปัจจัยภายนอกร่างกายที่ทำให้หูอื้อ

  • อยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดัง เกินกว่าปกติ เช่น งานคอนเสิร์ต เสียงระเบิด หรือประทัด
  • หูอื้อจากความดันในหูเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การขึ้นเครื่องบิน หรือการดำน้ำ
  • มีสิ่งแปลกปลอมค้างอยู่ในรูหู เช่น น้ำ เศษฝุ่น หรือ ขี้หูอุดตัน
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการหูอื้ออยู่แล้ว อาการแย่ลงได้

ปัจจัยภายในร่างกายที่ทำให้หูอื้อ

  • หูอักเสบ จากการติดเชื้อที่หูชั้นนอก โดยมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ว่ายน้ำ และมีน้ำค้างในรูหูเป็นเวลานานน เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในน้ำเป็นสถานที่ที่เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราเติบโตได้อย่างดี
  • หูอักเสบ จากการติดเชื้อที่หูชั้นกลาง ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อไข้หวัด ทำให้จุลินทรีย์ที่มีอนุภาคขนาดเล็ก เข้าไปยังช่องว่างหลังแก้วหูจนก่อให้เกิดอาการหูอื้อได้
  • ประสาทหูเสื่อมตามอายุ โดยสามารถเริ่มเป็นได้ตั้งแต่อายุ 44 ปีขึ้นไป
  • ความเครียด เนื่องจากหูชั้นในมีความไวต่อของเหลวภายในร่างกาย หากมีอาการหัวใจเต้นแรงจากความวิตกกังวล รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดอาจก่อให้เกิดอาการหูอื้อได้
  • ความผิดปกติของหลอดเลือดภายในหู เช่น ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ไมเกรน โรคโลหิตจาง เป็นต้น
  • เส้นประสาทด้านการได้ยินกระทบกระเทือน การเกิดอุบัติเหตุบริเวณคอ หรือศีรษะ

 

ป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดอาการ หูอื้อ

อย่างที่ทราบกันว่าหูอื้อนั้นเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย ไม่ว่าจะปัจจัยภายนอกหรือภายในล้วนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก แต่บางกรณีสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการไม่อยู่ในพื้นที่เสียงดัง หากในกรณีจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงรบกวน เช่น สวมใส่อุปกรณ์อุดหู

 

อุปกรณ์อุดหู ป้องกัน หูอื้อ

 

หูอื้อไม่หายควรทำอย่างไรดี ?

เมื่อเกิดอาการ หูอื้อ ไม่หายสามารถรักษาได้ตามสาเหตุของการเกิดอาการหูอื้อด้วยตัวเองเบื้องต้น เช่น

1. หากเกิดอาการหูอื้อจากชั้นบรรยากาศเปลี่ยนแปลงอย่างการ ดำน้ำ หรือ นั่งเครื่องบิน ให้ใช้วิธีบีบจมูก พร้อมกลืนน้ำลาย หรือหายใจออกแรง ๆ รวมไปถึงการหาว และการเคี้ยวหมากฝรั่ง จะช่วยบรรเทาอาการหูอื้อเบื้องต้นได้ เนื่องจากจะช่วยให้ท่อระบายลม ได้ระบายลมที่คั่งอยู่ในหูออก ทำให้ผู้ป่วยได้ยินชัดขึ้น

2. หากน้ำเข้าหูให้เอียงหัวเพื่อเอาน้ำออก กรณีที่เอียงแล้วยังรู้สึกอื้อ ๆ ที่หูให้ยืนขึ้นขณะเอียงแล้วกระโดดเบา ๆ เพื่อเขย่าน้ำออก

3. รักษาโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการหูอื้อ เช่น อาการไข้หวัด

4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ เนื่องจากเป็นปัจจัยกระตุ้นอาการหูอื้อ

5. พักผ่อนให้เพียงพอ โดยลองนอนด้วยการยกหมอนสูง

6. หากเกิดอาการหูอื้อเนื่องมาจากความเครียดสะสม ให้ผู้ป่วยผ่อนคลายความกังวล เช่น การหากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย หรือการฟังเสียงดนตรีบรรเลงเบา ๆ เพื่อคลายความเครียด

7. แนะนำให้รักษาด้วยการหยอดยาละลายขี้หู โดยหยอดยาให้ท่วมรูหูทิ้งไว้สักครู่แล้วเทออก หากยังมีอาการ ให้ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง โดยหากอาการยังไม่หายอีกแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและรักษาอาการหูอื้อ ข้อควรระวัง ไม่ควรรักษาด้วยการแคะหูด้วยตัวเอง เนื่องจากอาจทำให้ขี้หูถูกดันให้ลึกลงไป และอาจเกิดอาการบาดเจ็บจากการแคะหูด้วยตัวเองได้

 

หูอื้อ แบบไหนควรไปพบแพทย์

อาการหูอื้อ ถึงแม้ว่าดูจะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่หากอาการหูอื้อนั้นเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที เช่น

  • หูอื้อหลังจากติดเชื้อระบบทางเดินหายใจด้านบน (หรือเป็นหวัด) โดยที่อาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
  • เมื่อมีอาการหูอื้อ ร่วมกับอาการเวียนหัว
  • เกิดภาวะซึมเศร้า จากความวิตกกังวลอันเนื่องมาจากอาการหูอื้อ
  • หูอื้อจนสูญเสียการได้ยิน

เนื่องจากอาการหูอื้อสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และหลายสาเหตุทำให้จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อทำการรักษาได้ถูกวิธี

 

สรุป

อาการหูอื้อ เป็นอาการที่รบกวนการได้ยิน ผู้ป่วยจะมีความสามารถในการได้ยินเสียงลดลง โดยบางรายอาจมีเสียงรบกวนภายในหูเช่น เสียงอื้ออึง หรือเสียงหวีด ซึ่งหากอาการหูอื้อนั้นอยู่ในขั้นเบื้องต้น ที่เกิดจากความดันอากาศที่เปลี่ยนไป หรืออาการไข้หวัด ผู้ป่วยสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง แต่หากอาการหูอื้อนั่นมีอาการรุนแรงขึ้น เป็นต่อเนื่องไม่หาย หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

 

หูอื้อ ถือเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับหู หนึ่งในกลุ่ม 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่มี สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 400 สาขา ทั่วประเทศ

 

ที่มา

หูอื้อ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ขึ้นเครื่องบินแล้วหูอื้อ ทำอย่างไรดี จาก RAMA Channel

Why Does My Ear Feel Clogged? จาก Healthline

Tinnitus จาก Mayo Clinic

Tinnitus is the medical term for “hearing” noises in your ears, Tinnitus จาก Penn Medicine

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก