รู้จัก ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ พร้อมเช็กอาการและวิธีรักษา

รู้จัก ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ พร้อมเช็กอาการและวิธีรักษา

ไทรอยด อีกหนึ่งอวัยวะที่พบเห็นได้บ่อย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด โดยมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบต่าในร่างกาย โดยเฉพาะการผลิตฮอร์โมน ที่มีส่วนสำคัญต่อการเผาผลาญพลังงาน การเจริญเติบโต และการปรับสมดุลต่าง ในร่างกาย

ต่อมาเมื่อต่อมไทรอยด์ เกิดภาวะการทำงานที่ผิดปกต จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ในหลายด้า จนกลายเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่มีคุณภาพได้ ดังนั้นการเข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวมข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาวะโรคดังกล่าวแต่ละประเภท พร้อมเช็กอาการ และวิธีการรักษา มาฝากกัน เพื่อหาแนวทางในการรักษาได้อย่างตรงจุ

 

ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ คืออะไร?

ไทรอยด์ อาการ

 

เป็นความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่
 

  1. ภาวะทำงานเกิน หรือเป็นพิษ (Hyperthyroidism)
  2. ภาวะทำงานต่ำ หรือ ภาวะพร่องฮอร์โมน (Hypothyroidism)

โดยอาการของไทรอยดเป็นพิษ จะมีการผลิตฮอร์โมนที่มากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีอาการใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว และน้ำหนักลดลง ในขณะที่ภาวะพร่องฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ขี้หนาว ผิวแห้ง และมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยอาการของไทรอยด์ 2 ประเภท จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้  

 

ช็กเลย! อาการไทรอยด์เป็นพิษ VS ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

ลักษณะอาการ 

แบบเป็นพิษ 

แบบพร่องฮอร์โมน 

ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก 

ขี้หนาว 

มือสั่น 

เสียงแหบ 

หงุดหงิดง่าย 

รู้สึกง่วงนอนบ่อย 

ผมร่วง 

ผิวแห้ง 
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว 

ประจำเดือนผิดปกติ 

ขับถ่ายบ่อย 

ท้องผูก 

น้ำหนักลดลง  

อ้วนขึ้นง่าย 

กล้ามเนื้ออ่อนแรง 

เป็นตะคริวบ่อย ๆ 

  ตารางเปรียบเทียบลักษณะอาการของโรคทั้ง 2 ประเภท  
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

 

โดยอาการข้างต้น สามารถพบได้ทั้งเพศหญิง และเพศชาย ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายเสี่ยงตามข้างต้นควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และหาแนวทางในการรักษาต่อไป 

 

ใครบ้างที่อาจเสี่ยง ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ?

 

ใครบ้างที่อาจเสี่ยง ภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ?

 

  • พบได้มากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 7-10 เท่า 
  • ผู้ที่มีอายุ 30-50 ปีขึ้นไป 
  • ผู้ที่เคยมีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคดังกล่าว 
  • ผู้ที่เคยได้รับการรักษาด้วยรังสีบริเวณคอ 
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกั
  • การคลอดบุตร โดยในรายที่เพิ่งคลอด อาจทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง


ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรหมั่นไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเช็กระดับฮอร์โมน
ไทรอยด์ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยหากตรวจพบเร็ว หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้ขึ้น ได้รับแนวทางในการป้องกัน หรือรักษาที่ตรงจุด และเพิ่มโอกาสให้หายป่วยได้เร็วขึ้นด้วย
 

 

วิธีการรักษา ไทรอยดป็นพิษ และ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด

 

วิธี รักษา ไทรอยด์ เป็น พิษ

 

1. การรักษาไทรอยด์แบบเป็นพิษ (Hyperthyroidism) 

  • การใช้ยา โดยจะเป็นการใช้ยาลดฮอร์โมนไทรอยด์ เช่น โพรพิลไทโอยูราซิล (Propylthiouracil) และเมไทมาโซล (Methimazole) ซึ่งช่วยยับยั้งการผลิตฮอร์โมนจากต่อม โดยทั่วไปผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และติดตามผลการรักษากับแพทย์ 
  • การรับประทานแร่รังสีไอโอดีน I-131 โดยจะมีทั้งในรูปแบบน้ำหรือแคปซูล ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ตัวแร่จะไปทำหน้าที่ยับยั้งการทำงาน เพื่อให้ต่อมฝ่อลง   
  • การผ่าตัด ในกรณีที่การใช้ยาไม่ประสบผลหรือมีผลข้างเคียง แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเอาต่อมออกบางส่วนหรือทั้งหมด อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีการรักษาแพทย์จะพิจารณา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย 

 

2. การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) 

สำหรับภาวะพร่องฮอร์โมน หรือ Hypothyroidism การรักษามักจะเป็นการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งมีวิธีหลัก ๆ ดังนี้ 

  • รักษาด้วยยา โดยจะใช้ยาเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine) ซึ่งเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงในการรักษาโรคชนิดนี้ 
  • ปรับขนาดยา การรักษาจำเป็นต้องปรับขนาดยาตามผลการตรวจเลือดระดับฮอร์โมนของไทรอยด์ในร่างกาย ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจะนัดติดตามอาการเพื่อเช็กว่าค่าไทรอยด์อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ 
  • เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยในการควบคุมอาการของโรค 

 

วิธีดูแลตัวเอง และป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็น ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ

 

วิธีดูแลตัวเอง และป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็น ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ

 

การดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น 

 

  1. ป้องกันการขาดสารไอโอดีน

  • หมั่นบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับธาตุไอโอดีนเพียงพอ ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ 
  • รับประทานอาหารที่มีไอโอดีน เช่น อาหารทะเล (ปลา, สาหร่าย) และผลิตภัณฑ์จากนม
     
  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่ไม่ดีต่อสุขภาพ. เช่น ไส้กรอก แฮม  
  • เน้นอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ธัญพืช และซีเรียล เพื่อป้องกันภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์
     
  1. ควบคุมการบริโภคอาหาร

  • หลีกเลี่ยงน้ำตาลและไขมันสูง เนื่องจากอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงอาจขัดขวางการผลิต ฮอร์โมนไทรอยด์และเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา 
  • ระมัดระวังกับพืชผักบางชนิด เช่น ผักในกลุ่ม Cruciferae เช่น บรอกโคลี และ กะหล่ำปลี มีสารที่เรียกว่า กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของโรคดังกล่าวได้
     
  1. หมั่นดูแลสุขภาพโดยทั่วไป

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดและส่งเสริมสุขภาพโดยรวม 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับที่ดีช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อไทรอยด์โดยตรงได้ 

 

  1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

  • การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 
  • โดยหากมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำหนักลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว ควรพบแพทย์เพื่อทำการประเมินโรคไทรอยด์ 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ “ภาวะไทรอยดผิดปกติ” 

1. โรคชนิดนี้ สามารถรักษาให้หายเองได้หรือไม่?

แนะนำให้พบแพทย์จะดีที่สุด เพื่อประเมินอาการกลุ่มของโรค และทำการรักษาได้อย่างตรงจุด ซึ่งส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกินยา แต่หากกินยาแล้วไม่หาย อาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ การใช้สารรังสี ทั้งนี้จะต้องใช้วิจารณญาณของแพทย์เลือกให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละเคส

 

2. ไทรอยด์ กับ คอพอกเหมือนกันไหม?

ไม่เหมือนกัน เนื่องจากไทรอยด์จะเกิดขึ้นจากการทำงานผิดปกติ เช่น การผลิตฮอร์โมนมากเกินไป (Hyperthyroidism) หรือผลิตน้อยเกินไป (Hypothyroidism) ในขณะที่โรคคอพอก (Goiter) จะเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นผิดปกติ ซึ่งถึงแม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่สาเหตุการเกิดคอพอกก็มักจะมาจาก การขาดธาตุไอโอดีน เกิดเนื้องอกบริเวณคอ หรือการอักเสบนั่นเอง

 

3. โรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากความเครียดจริงไหม?

เป็นความจริง โดยโรคดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้จากความเครียด เนื่องจากร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน และคอร์ติซอล ออกมา ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้

 

สรุป

ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ คือ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) และภาวะทำงานต่ำ  (Hypothyroidism) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกัน โดยผู้หญิงจะมีโอกาสพบได้มากกว่าผู้ชายราวประมาณ 7-10 เท่า หากใครรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกาย ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที เพื่อหาแนวทางการรักษาที่ตรงจุดต่อไป 

 

ที่มา  

สัญญาณเตือนไทรอยด์ผิดปกติ จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อาการผิดปกติของไทรอยด์ จาก โรงพยาบาลรามาธิบดี
Pitfall of Management of Hyperthyroidism จาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
โรคไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
อาการเสี่ยงภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
การรักษาโรคไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี 131 จาก มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
กะหล่ำปลีดิบ มีโทษจริงหรือ จาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก