เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย มักจะมาพร้อมกับค่ารักษาพยาบาลที่ตามมา หลายคนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษาเนื่องจากมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย แต่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วคนไทยทุกคน มีสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดย สิทธิบัตรทอง คือ หนึ่งในนั้น
โดยปัจจุบันประเทศไทยนั้น การคุ้มครองสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ ได้แก่
1.สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
2.สิทธิประกันสังคม
3.สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ สิทธิ 30 บาท หรือ “สิทธิบัตรทอง”
โดยวันนี้ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะมาอธิบายรายละเอียดของการใช้ “สิทธิบัตรทอง” สิทธิ์ในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคนไทยที่ควรรู้ กันค่ะ
สิทธิบัตรทอง คือ อะไร
สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ บัตรทอง คือ สิทธิ์ตามกฎหมายของคนไทยที่ใช้ในการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข และการแพทย์ เพื่อการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัย ส่งเสริมด้านสุขภาพ และการป้องกันโรค ฯลฯ
สิทธิบัตรทองนั้น ไม่เพียงแต่จะสามารถใช้ได้กับการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ยังสามารถใช้ได้กับแพทย์แผนไทย รวมไปถึงแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ ตามกฎหมายการประกอบโรคศิลปะ
แนวทางการใช้งานสิทธิบัตรทอง
- ติดต่อหน่วยบริการประจำตามสิทธิ
- แสดงความจำนง การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ สิทธิบัตรทองแก่เจ้าหน้าที่
- แสดงบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อเข้ารับบริการ
ผู้ที่ได้รับ สิทธิบัตรทอง คือ ใครบ้าง
หลายคนอาจมีความเข้าใจเบื้องต้นว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือสิทธิบัตรทองจะคุ้มครอง ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ
ซึ่งหากขยายความ สิทธิบัตรทองนั้นจะครอบคลุมสิทธิ์ให้แก่ คนไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งยังไม่ได้รับสิทธิ์การรักษาพยาบาลของข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจใด ๆ รวมไปถึงยังไม่ได้รับสิทธิประกันสังคม ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะมีสิทธิหลักประกันสุขภาพตามกฎหมาย และสามารถลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ตัวอย่างกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิบัตรทอง
- เด็กแรกเกิด ที่ไม่ได้มีสวัสดิการข้าราชการจากพ่อแม่
- บุตรข้าราชการคนที่ 4 (เนื่องจากสิทธิ์ข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน)
- ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากข้าราชการ โดยไม่มีบำนาญ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ฯลฯ
บุคคลที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับสิทธิบัตรทอง
- ผู้ที่มีสิทธิประกันสังคม
- ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
- ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ
- พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ
เช็กสิทธิการรักษาพยาบาลด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ได้ที่
- สอบถามด้วยตัวเองที่ สถานีอนามัย, โรงพยาบาลใกล้บ้าน, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, สำนักงานเขต, หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)
- โทร 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก (ค่าบริการ 3 บาทต่อครั้ง)
- ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.nhso.go.th
- ตรวจสอบผ่าน Application สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
- LINE Official Account สปสช. @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ พร้อมลงทะเบียนรับสิทธิบัตรทองผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ Application สปสช. หรือ LINE Official Account สปสช. @nhso
สิทธิบัตรทอง คือ สิทธิในการคุ้มครองอะไรบ้าง
ผู้ที่ถือสิทธิบัตรทอง จะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านบริการสาธารณสุข โดยคุ้มจะครองบริการ ดังนี้
- บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
- การตรวจวินิจฉัยโรค
- การตรวจและรับฝากครรภ์
- การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
- ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์
- การทำคลอด
- การกินอยู่ในหน่วยบริการ
- การบริบาลทารกแรกเกิด
- บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
- บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
- บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
- บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม
- การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
- การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการประสบภัยจากรถยนต์
- การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน
สิทธิบัตรทอง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทุกโรคจริงหรือ
‘30 บาท รักษาทุกโรค’ เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคยอดฮิตคำนี้มาอย่างยาวนาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ก็สามารถครอบคลุมเกือบทุกโรคตามที่ได้กล่าวมา แต่อาจมีบางประเภทของการรักษาพยาบาลที่ทางสิทธิประกันสุขภาพไม่ได้ให้การรับรอง โดยสิทธิบัตรทองไม่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ดังนี้
สิทธิบัตรทอง ไม่คุ้มครองการรักษาพยาบาลใดบ้าง
- การรักษาหรือการวินิจฉัยที่เกินกว่าความจำเป็นตามที่แพทย์วินิจฉัย
- ศัลยกรรมความงามเพื่อความสวยงาม
- การรักษาที่อยู่ในขั้นตอนของการทดลอง
- การปลูกถ่ายอวัยวะบางรายการที่ทางสิทธิประกันสุขภาพไม่ได้กำหนด
- บริการทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ สปสช. กำหนด
ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ร่วมเป็นหน่วยบริการ สปสช. ให้บริการผู้มีสิทธิบัตรทอง รับยาได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย ครอบคลุม 16 กลุ่มอาการ ดังนี้
- มีไข้
- ไอ เช่น ไอตอนกลางคืน
- เจ็บคอ
- ปวดหัว เช่น ปวดหัวข้างขวา
- เวียนหัว
- ปวดท้อง
- ท้องเสีย
- ท้องผูก
- ปัสสาวะลำบาก อย่างอาการ ปัสสาวะแสบขัด หรือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ตกขาวผิดปกติ เช่น อาการตกขาวสีเหลือง
- ปวดข้อ
- เจ็บกล้ามเนื้อ เช่น อาการ ปวดขา ปวดหลังส่วนล่าง
- มีบาดแผล
- อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน
- ความผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับตา เช่น อาการ เปลือกตาอักเสบ
- ความผิดปกติต่างๆ เกี่ยวกับหู เช่น อาการ หูอื้อ
“เจ็บป่วยเล็กน้อย 16 อาการ รับยาไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส”
สามารถเข้ารับบริการได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 200 สาขาทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับบริการเฉพาะในเขตพื้นที่ที่ลงทะเบียนตามสิทธิ์ไว้เท่านั้น แต่สามารถเข้ารับบริการได้ที่ร้านยาทุกร้านที่เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการ สปสช. โดยสังเกตสัญลักษณ์ ‘ร้านยาคุณภาพของฉัน’ ที่หน้าร้านยา
ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิบัตรทองเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3jCkz8I หรือสายด่วนสปสช. 1330
ที่มา ราชกิจจานุเบกษา, สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม สปสช. , ข่าวประชาสัมพันธ์ สปสช
สามารถขอสิทธิบัตรทองได้ที่ไหน
สำหรับสิทธิบัตรทองเป็นบัตรที่ผู้ไม่มีหลักประกันสุขภาพอื่น ๆ ควรได้รับ เนื่องจากจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการช่วยครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลต่าง ๆ หากใครที่ยังไม่มีบัตรทองก็สามารถเข้ายื่นขอดำเนินการรับสิทธิบัตรทองได้ที่ศูนย์บริการสารธารณสุขภายในกรุงเทพฯ หรือสถานที่ที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดสามารถขอดำเนินการรับสิทธิบัตรทองได้ที่โรงพยาบาลของภาครัฐ และสถานีอนามัยใกล้บ้าน
เอกสารยื่นขอสิทธิบัตรทอง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้
- สำเนาสูติบัตร หรือสำเนาใบเกิด กรณีเด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปี
- สำเนาทะเบียนบ้าน
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
Website: https://exta.co.th/
LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)
Instagram: instagram.com/extaplus
YouTube: youtube.com/eXtaHealthBeauty
สรุปเรื่องการเช็กสิทธิบัตรทอง
ทั้งนี้ เอ็กซ์ต้า แนะนำว่าทุกคนควรเช็กสิทธิบัตรทองของตนเอง เพราะสิทธิบัตรทองถือเป็นเรื่องขั้นพื้นฐานที่ผู้ครอบครองหรือผู้ถือบัตรควรทราบ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ของตัวเองให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ ผ่านแอป ALL PharmaSee ปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง