“ผื่น” อาการผิดปกติทางผิวหนัง ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่น ๆ ทางภายนอกได้ เช่น การเปลี่ยนเเปลงของอากาศ, สารเคมีในผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปลักษณะอาการดังกล่าว จะสามารถเกิดขึ้นได้หลายประการ เริ่มตั้งแต่อาการคัน แสบร้อน ไปจนถึงการติดเชื้อแบบเรื้อรัง โดยสำหรับใครที่กำลังรู้สึกสงสัย ว่าผื่นแต่ละชนิด จะสามารถบ่งบอกถึงสัญญาณเตือนของโรคภัยต่าง ๆ อย่างไรได้บ้าง
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ ผื่นแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตและการดูแลผื่น มาฝากกัน
ทำความรู้จักกับ “ผื่น”
ผื่น เป็นอาการผิดปกติทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตามทั่วร่างกาย เช่น ผิวหนังติดเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, แพ้สารก่อกระตุ้น, สารเคมีในผลิตภัณฑ์ หรือมลพิษจากสภาพอากาศ เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการบวมบริเวณผิวหนัง และเริ่มรู้สึกระคายเคือง ปวดแสบ คัน ซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลอักเสบบริเวณกว้าง โดยในบางรายมักจะหายได้เอง หรือต้องทำการรักษาด้วยเทคนิคทางการแพทย์เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
สาเหตุของการเกิด “ผื่น” บริเวณผิวหนัง
อาการของผื่น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้จากสารก่อกระตุ้น, ผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ซึ่งปัจจัยที่พบได้บ่อยที่สุด จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1 พบได้บ่อยในคนทั่วไป
- การแพ้ยา (Drug Allergy) ยาบางชนิดอาจส่งผลให้มีผื่นขึ้นบนผิวหนังบริเวณต่าง ๆ โดยอาจเกิดจากการแพ้ยา หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- ลมพิษ (Urticaria) เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยมีลักษณะเป็นตุ่มแดงนูน และคันบริเวณผิวหนังส่วนต่าง ๆ แต่จะหายได้เอง
- แมลงสัตว์กัดต่อย (Insect Bites) โดยเฉพาะเห็บ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดผื่นแล้วยังเป็นพาหะส่งผ่านโรคได้ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, โรคไข้เห็บ ฯลฯ
- โรคผิวหนังอักเสบ (Allergic Eczema) และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) มักพบในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด โดยจะก่อให้เกิดตุ่มแดง คัน และมีผิวลอกเป็นขุย
- โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) หนึ่งในโรคผิวหนังที่ก่อให้เกิดอาการคัน ผิวลอก และมีตุ่มแดง โดยมักเกิดขึ้นบริเวณหนังศีรษะ ข้อศอก และข้อต่อต่าง ๆ
- โรคภูมิแพ้ตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus) คือ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดผื่นได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณแก้มและจมูก หรือผิวหนังส่วนที่ถูกแสงแดดบ่อย ๆ
ประเภทที่ 2 พบมากในเด็ก
- ผื่นผ้าอ้อม (Diaper Rash) เป็นผลจากการใส่ผ้าอ้อมที่เปื้อนปัสสาวะ หรืออุจจาระเป็นเวลานาน หรืออาจเกิดจากสารบางชนิดในผ้าอ้อม ทำให้เกิดการระคายเคือง
- โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) ก่อให้เกิดผื่นแดงและตุ่มน้ำใส ๆ ทั่วร่างกาย
- โรคหัด (Measles) โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดตุ่มแดงคันทั่วร่างกาย
- ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) ทำให้เกิดผื่นแดงเป็นปื้น ลักษณะหยาบคล้ายกระดาษทรายบนผิวหนังได้
- โรคมือเท้าปาก (HFMD) เป็นอาการติดเชื้อไวรัสที่พบในเด็ก ก่อให้เกิดผื่นบริเวณมือและเท้า รวมทั้งมีแผลภายในช่องปาก
- โรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) โรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดตุ่มเล็ก ๆ เป็นปื้นแดงบริเวณแก้ม ต้นแขน และขา
- โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) เป็นโรคที่พบได้น้อยแต่อาการค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้เกิดผื่นและมีไข้ นอกจากนี้ หากอาการรุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนอย่างหลอดเลือดหัวใจโป่งพองได้อีกด้วย
- โรคแผลพุพอง (Impetigo) คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้มีผื่นแดงตกสะเก็ด เป็นหนองบริเวณใบหน้า ลำคอ และมือ
ผื่นแต่ละชนิด มีลักษณะอาการ และความแตกต่างอย่างไร
ลักษณะของผื่นแต่ละชนิด จะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคต่าง ๆ ซึ่งจะยกตัวอย่างอาการ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยหลัก ๆ ได้ดังนี้
ชื่อโรค | สาเหตุ | อาการ | ลักษณะผื่น |
เห็บหมัดกัด (Fleabites) |
ถูกแมลงกัด และดูดเลือด | จะเริ่มรู้สึกคัน และระคายเคืองผิวบริเวณที่ถูกแมลงกัด | บางรายอาจเป็นลมพิษ หรือมีตุ่มเล็ก ๆ สีแดง บนผิวหนัง |
โรคฟิฟธ์ (Fifth Disease) |
ติดเชื้อไวรัส Parvovirus B19 ทางอากาศ | ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ท้องเสีย คลื่นไส้ | มีผื่นแดงขึ้นบริเวณแก้มสองข้าง |
โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Rosacea)
|
เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน | มีอาการแสบคัน และ ผิวหนังนูนหนา บางรายอาจมีอาการตาแดง ตาแห้งร่วมด้วย | เกิดตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และสามารถเห็นเส้นเลือดฝอยได้ชัด |
แผลพุพอง (Impetigo) |
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง | ระยะแรกจะมีผื่น หรือแผลสีแดงรอบจมูก และผิวหนัง จากนั้นจะเริ่มมีอาการคันมากขึ้น | จะเป็นตุ่มนูนแดง แผลพุพอง บริเวณปาก คาง และจมูก |
กลาก (Ringworm) |
ติดเชื้อราบนผิวหนัง | ผิวหนังมีการอักเสบ และรู้สึกคันมาก | มีวงกลมขอบแดงเป็นขุยบริเวณผิวหนัง สามารถขยายขนาดได้ |
โรคติดต่อทางผิวหนัง (Contact Dermatitis) |
ผิวหนังสัมผัสกับสารเคมี หรือมีอาการของโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย | รู้สึกคัน ผิวบวมแดงหรือหนาขึ้น | ผิวแห้ง เป็นสะเก็ด มีขุย
หรือเกิดตุ่มนูนเเดง |
โรคผื่นแพ้อักเสบ (Allergic Eczema) |
แพ้สารก่อการระคายเคืองในผลิตภัณฑ์ | หายใจลำบาก ไอ แสบตา น้ำมูกไหล ผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง | เกิดผื่นแดงอักเสบ ลักษณะวงกลม ผิวแห้ง รู้สึกแสบร้อน |
ผื่นแพ้อากาศ |
สารก่อภูมิแพ้ และมลพิษทางอากาศ | ไอ จาม น้ำมูกไหล และมีอาการตาแดงเกิดขึ้น | มีตุ่มนูนขึ้นบริเวณผิว หนัง และเกิดผื่นแดงเป็นปื้น ๆ |
โรคมือเท้าปากเปื่อย (HFMD) |
ติดเชื้อไวรัส Enterovirus | มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ และเกิดแผลพุพอง | ตุ่มใส มีแผลร้อนในปาก รวมถึงผื่นแดงขนาดเล็กที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า หรือก้น |
ผื่นผ้าอ้อม
|
เกิดจากการเสียดสีและความอับชื้น ระหว่างผิวหนัง กับผ้าอ้อม | รู้สึกคัน และอักเสบบริเวณผิวสัมผัส | เป็นปื้น ๆ เห็บขอบของผื่นชัดเจน |
โรคหิด (Scabies) |
ติดเชื้อไร Sarcoptes Scabiei | ผิวหนังเกิดการระคายเคือง และรู้สึกคัน | เกิดตุ่มแดงคัน และมีผื่นกระจายไปทั่วร่างกาย พบได้บ่อยคือ ง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับแขน |
โรคหัด |
ติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Rubeola Virus | ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล ตาแดง เจ็บคอ และมีจุดสีขาวภายในปาก
|
ช่วงแรกจะเป็นสีแดง ต่อมาจะกลายเป็นสีคล้ำอยู่รวมกันเป็นปื้น |
แพ้ยา
|
ร่างกายเกิดปฏิกิริยาการแพ้สารเคมีในตัวยา ซึ่งส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน | มีผื่นแดงคัน บางรายอาจเกิดลมพิษ และหัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก | เกิดจุดสีม่วงหรือสีแดงเล็ก ๆ บนผิวหนัง |
ตารางเปรียบเทียบลักษณะอาการ และความแตกต่างของผื่นแต่ละชนิด
ขอบคุณข้อมูลจาก Healthline
วิธีการดูแลรักษา และป้องกัน “ผื่น” เบื้องต้น
การรักษาส่วนใหญ่ มักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ โดยจะมีวิธีการดูแลรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ดังนี้
- ใช้ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด และครีมบำรุงสูตรอ่อนโยน ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์
เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว - ทาครีมที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ในบริเวณที่มีผื่น เพื่อบรรเทาอาการคันให้ดีขึ้น หรือเลือกใช้โลชันคาลาไมน์ (Calamine Lotion) ก็จะช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนังได้ดี
- ใช้ยาทาภายนอก หรือ รับประทานยาในกลุ่มปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบ และรอยแดง ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี ป้องการอับชื้น
- หยุดใช้เครื่องสําอาง หรือผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่เกาผื่น เพราะการทําเช่นนั้นจะทําให้อาการแย่ลง และอาจนําไปสู่การติดเชื้อได้
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจก่อให้เกิดการกระตุ้น ทำให้เกิดผื่น เช่น ละอองเกสร, ฝุ่น, ยา หรืออาหารที่แพ้ เป็นต้น
อาการร่วมของผื่นแบบไหน ที่ควรพบแพทย์โดยด่วน
หากมีอาการอื่น ๆ นอกเหนือจากผื่นที่เกิดขึ้น ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน เช่น
- มีอาการปวด และมีการเปลี่ยนสีบริเวณผื่น
- ปวดศีรษะ หรือ รู้สึกคันในลำคอ
- ปวดตามข้อ
- มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
- หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจลำบาก
- อาการบวมของใบหน้า หรือ แขนขา
- อาเจียน หรือ ท้องเสีย ฯลฯ
หมายเหตุ: หากร่างกายมีอาการเกิดผื่นแพ้เป็นประจำ หรือมีความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำ และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ทั้งนี้ อาการทางผิวหนัง ผื่น คัน ถือเป็นหนึ่งใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่มี สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 200 สาขา ทั่วประเทศ
ที่มา:
โรคผิวหนังอักเสบโรซาเชีย (Rosacea) จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคมือเท้าปาก โรคระบาดในเด็กที่ต้องระวัง จาก รามา แชนเนล
Everything You Need to Know About Rashes จาก Healthline
Rash จาก Pennmedicine
Skin Rash จาก Cleveland Clinic
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ