คัดจมูก จากภูมิแพ้ ดูแลตัวเองยังไงดี?

คัดจมูกจากภูมิแพ้ ดูแลตัวเองยังไงดี

บทความที่แล้ว พี่เภสัชใจดีได้เล่าเรื่อง อันตรายของผลกระทบจากอาการแน่นจมูกไป
(อ่านบทความเรื่อง “อาการ คัดจมูก เหตุเกิดในรูเล็ก ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่” ได้ที่นี่)

ผู้ป่วยภูมิแพ้ หลายคนก็เลยเริ่มตื่นตัว ถามไถ่กันเข้ามาเยอะมาก ๆ ว่า “มียาตัวไหนที่ลดอาการ คัดจมูก จากภูมิแพ้ได้ผลดีบ้าง? และคุณสมบัติต่างกันอย่างไร?” วันนี้พี่เภสัชใจดี จึงมายกตัวอย่างยาลดอาการ คัดจมูก จากภูมิแพ้ ที่ใช้บ่อยในร้านยา ให้ทราบเบื้องต้นกันค่ะ

1. ยาชนิดพ่นจมูก – มีตัวยาออก ที่ฤทธิ์ได้ 2 แบบ

    1. ยาหดหลอดเลือด (Intranasal decongestant) ชนิดพ่น/หยอดในโพรงจมูก เช่น ตัวยา ออกซีเมแทโซลีน ไฮโดรคลอไรด์ (Oxymethazoline Hydrochloride)

      • ยาพ่นจมูกกลุ่มนี้มีจุดเด่นที่สามารถออกฤทธิ์ได้เร็วมาก คือ ภายใน 3-15 นาทีหลังพ่นหรือหยอดยา นับว่าเห็นผลเร็วดีทันใจหลายคน ..แต่ข้อเสียคือ ถ้าใช้ต่อเนื่องนานเกิน 5-7วัน อาจทำให้เกิดอาการคัดแน่นจมูกกลับมามากขึ้นหลังหยุดยา (rebound congestion) หรือระคายเคืองมากจนมีน้ำมูกเพิ่มขึ้นได้ (แบบที่ภาษาชาวบ้านชอบเรียกว่า Yo-yo effect นั่นล่ะค่ะ) จึงไม่ควรใช้ยานี้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

    2. ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูก (Intranasal steroid) – เช่น ตัวยา ฟลูติคาโซน โพรพิโอเนท (Fluticasone propionate), ตัวยา โมเมทาโซน ฟูโรเอท (Mometasone Furoate)

      • เป็นกลุ่มยาที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการคัดแน่นจมูกเช่นกัน การออกฤทธิ์จะเกิดขึ้นหลังพ่นยาเข้าไปแล้วหลายชั่วโมง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์กว่าที่อาการจะดีขึ้นในระดับที่พึงพอใจ แต่ยาจะออกฤทธิ์ที่ต้นเหตุ โดยไปลดกระบวนการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกที่เกิดจากโรคภูมิแพ้โดยตรง ดังนั้นจึงเหมาะจะเป็นยาที่ใช้สำหรับการควบคุมอาการโดยพ่นต่อเนื่องทุกวัน ใช้ในกรณีคัดแน่นจมูกรุนแรง/เรื้อรัง

      • ยาพ่นสเตียรอยด์รุ่นใหม่ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อยกว่ารุ่นเก่า ทำให้มีการศึกษาพบว่า เด็กกลุ่มที่ใช้ยาพ่นสเตียรอยด์รุ่นใหม่ มีอัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้ใช้ยานี้ จึงสามารถใช้ได้ต่อเนื่องนานถึง 1 ปี ผลข้างเคียงที่พบได้บ้าง คือ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองเฉพาะที่ ทำให้รู้สึกอึดอัด ในโพรงจมูก ซึ่งพบได้ร้อยละ 2-10 หรืออาจมีภาวะตกเลือดกำเดาบ้าง แต่จะหายไปเองเมื่อหยุดใช้ยา

      • ยาพ่นสเตียรอยด์รุ่นใหม่บางชนิด นอกจากรักษาอาการคัดแน่นจมูกจากภูมิแพ้ได้แล้ว ยังมีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) ได้ด้วย


2. ยาชนิดรับประทาน – มีตัวยาออก ที่ฤทธิ์ได้ 2 แบบ

    1. ยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทาน (Oral decongestant) เช่น ตัวยา ฟีนิลอีฟริน (Phenylephrine)

      • ข้อดีคือใช้ง่าย ผู้ป่วยบางคนรู้สึกว่าสะดวกกว่าการพ่นยา ออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังรับประทาน แต่ฤทธิ์จะน้อยกว่าชนิดพ่น/หยอดจมูก และ ควรใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจทำให้เกิดผลเคียงหลายอย่างได้คือ กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติเวียนศีรษะ ปวดหัว มือสั่น นอนไม่หลับ

      • และผู้ป่วยโรคต้อหิน ต่อมลูกหมากโตไทรอยด์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยมีปัญหาทางจิต ควรแจ้งให้แพทย์/เภสัชกรทราบ ก่อนจะได้รับยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทาน รวมถึงผู้ป่วยที่กำลังใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เช่น curcumin, ginkgo extract ด้วย

    2. ยาต้านฮิสตามีนชนิดรับประทานรุ่นใหม่ (New generation Oral antihistamine) เช่น ตัวยา เดสลอราทาดีน (Desloratadine)

      • ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านคัดแน่นจมูกน้อยกว่ายาหดหลอดเลือดชนิดรับประทานและยาพ่นจมูก แต่มีข้อดีคือ ช่วยลดต้นเหตุการอักเสบจากภูมิแพ้ ใช้ง่าย รับประทานวันละ1ครั้ง และมีความปลอดภัยสูง ใช้ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6เดือนขึ้นไป จึงนิยมใช้เป็นยาพื้นฐานตัวแรกในกรณีที่มีอาการคัดแน่นจมูกจากภูมิแพ้ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยจะออกฤทธิ์ 30 นาทีหลังรับประทานยา


นอกจากการใช้ยาข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว การออกกำลังกายก็จะทำให้จมูกโล่งขึ้นได้เนื่องจากมีการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก ทำให้มีการหดตัวของเยื่อบุในโพรงจมูกได้ สำคัญที่สุดคือควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ก่อภูมิแพ้ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้ใช้ลดอาการ คัดจมูก จากภาวะจมูกอักเสบ และ ไซนัสอักเสบ (allergic/non-allergic rhinitis, acute/chronic rhinosinusitis) ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อซักประวัติคัดกรองโรคก่อนเริ่มใช้ยา และใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น และถ้ามีปัญหาเรื่องโรคภูมิแพ้, การใช้ยา มาปรึกษาพี่เภสัชใจดีที่แอพพลิเคชั่น ALL PharmaSee หรือ ร้านยา eXta ใกล้บ้านทุกสาขา ได้เลยนะคะ


คัดจมูกจากภูมิแพ้ ดูแลตัวเองยังไงดี

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องอาการ คัดจมูก จากภูมิแพ้ หรือเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

(1) “ภาวะคัดแน่นจมูก”- เวชศาสตร์เขตเมือง 4.0. ทุนชัย ธนสัมพันธ์, ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช. ปารยะ อาศนะเสน, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล.
(2) E J Schenkel, et al. Absence of growth retardation in children with perennial allergic rhinitis after one year of treatment with mometasone furoate aqueous nasal spray. Pediatrics. 2000 Feb;105(2): E22.
(3) J. Bousquet, et al. Next-generation Allergic Rhinitis and Its Impact on Asthma (ARIA) guidelines for allergic rhinitis based on Grading of Recommendations Assessment, Development and Evaluation (GRADE) and real-world evidence. J Allergy Clin Immunol. 2020 Jan;145(1):70-80. e3.

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

eXta Shopping ยาและอาหารเสริม

well u M Plus Max เติมความมั่นชายให้เต็มแม็กซ์

ผิวหมองไม่สว่าง

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม

รวมยาสำคัญที่ต้องมีติดบ้านไว้ ในช่วงหน้าฝน

หน้าฝนได้กลับมา

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม

ตอบทุกข้อสงสัยของการใช้ยาพาราเซตามอล

พาราเซตามอล (Pa

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย

สารอาหารที่จำเป็นต่อผิว ป้องกันสิวจากภายใน

การ ป้องกันสิว

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย

12 สิงหา พาคุณแม่สุขภาพดี ด้วยการดูแลสุขภาพแทนความห่วงใย

12 สิงหา เดือนแ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก