อาการ เจ็บคอ เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอ เช่น มีการอักเสบที่ผนังช่องคอ เพดานอ่อน ต่อมทอนซิล โคนลิ้นหรือกล่องเสียง
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บและระคายเคืองลำคอ อาการ เจ็บคอ มีอาการแสดงหลากหลาย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะมีอาการแตกต่างกัน ได้แก่
- เจ็บ แสบ ระคายเคืองในลำคอ ซึ่งมักจะเป็นมากเมื่อมีการกลืนน้ำลาย กลืนน้ำ และอาหาร หรือเมื่อมีการพูด
- คอแห้ง เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน มีอาการปวดร้าวที่หูเมื่อมีการกลืนหรือพูด
- มีการอักเสบที่เยื่อบุลำคอ โดยสังเกตจากเยื่อบุลำคอมีสีแดง บวม อาจมีตุ่มแดง จุดหนองสีขาว หรือฝ้าอยู่ในตามอวัยวะต่างๆ ในช่องปาก เช่นที่ ต่อมทอนซิล
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตขึ้น และเจ็บเมื่อกด
- อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่นไข้ ตาแดง ไอ น้ำมูกไหล เป็นต้น
สาเหตุของการ เจ็บคอ
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ โรคภูมิแพ้ โรคกรดไหลย้อน การสูบบุหรี่ การใช้เสียงที่มากเกินไป และการตะโกน มีสิ่งแปลกในลำคอ การสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ควัน ฝุ่น สารเคมี แอลกอฮอล์ หรือการได้รับยาบางชนิดเช่นยาเคมีบำบัด
การรักษาอาการ เจ็บคอ
การบรรเทาอาการ เจ็บคอ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ ยาแก้อักเสบ สามารถทำได้ด้วยการใช้ยาร่วมกับการปรับพฤติกรรม รวมถึงต้องหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระตุ้นอาการ
ยาที่ใช้บรรเทาอาการมีหลายกลุ่ม ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามอาการที่มี และจากสาเหตุที่ทำให้มีอาการ ได้แก่
- ยาที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง ให้ความชุ่มชื้นที่ลำคอ ช่วยบรรเทาอาการเช่น ยาอม สเปรย์พ่นคอ
- ยาที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบในลำคอ ใช้ในกรณีที่ เจ็บคอ หรือมีการอักเสบมาก
- ยาฆ่าเชื้อ โดยจะใช้ในกรณีที่มีการติดเชื้อในลำคอ
- ยาชาเฉพาะที่ มักจะผสมในยาอมที่ช่วยทำให้รู้สึกชา จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการได้
นอกจากยาแล้ว วิธีการปฏิบัติตัวตามด้านล่าง สามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการ เจ็บคอ ควบคู่กับการใช้ยาได้
- เลือกรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด อาหารที่ปรุงด้วยการผัด หรือทอดเพื่อลดอาการระคายเคืองคอ
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้วเพื่อให้ความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคืองคอ
- ไม่รับประทานอาหารที่เย็น เช่น ไอศกรีม น้ำแข็ง เครื่องดื่มที่เย็น เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายคอ
- หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว งดการตะโกน หรือการตะเบ็ง
- งดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา สาเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในลำคอ
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองคอ และช่วยทำความสะอาดช่องปากให้สะอาด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในที่ทีอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศที่เย็นมาก เช่น นอนเปิดแอร์ หรือใช้พัดลมเป่าเนื่องจากจะทำให้อากาศแห้ง ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ลำคอมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น และกำจัดสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการ เจ็บคอ
ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการตามด้านล่าง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุเพิ่มเติม และทำการรักษา
- เจ็บคอรุนแรง เป็นเรื้อรังมากกว่า1 สัปดาห์
- มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
- ไม่สามารถอ้าปาก หรือขยับปากได้ กลืนลำบาก ไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้
- มีอาการปวดหู หูอื้อหรือปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกายร่วมด้วย
- มีไข้สูงเกิน5 องศาเซลเซียส มีผื่นขึ้น
- มีเลือดปนออกมากับเสมหะ หรือน้ำลาย
- คลำพบก้อนที่ลำคอ
- มีอาการเจ็บคอบ่อยๆ เป็นๆ หายๆ
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- Antibiotic Prescribing and Use: Sore Throat. Centers for Disease Control and Prevention. Accessed on May 24, 2021 via https://www.cdc.gov/antibiotic-use/sore-throat.html
- รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน. เจ็บคอ…จะแย่แล้ว. ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย.09.2013. Accessed on May 24, 2021 via http://www.rcot.org/2016/People/Detail/182
- อาการเจ็บคอ แต่ไม่ได้เป็นหวัด คืออะไร. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.22 มิถุนายน Accessed on May 24, 2021 via http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=2030