ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินมีอะไรบ้าง และเกิดขึ้นภายในกี่วัน

ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินมีอะไรบ้าง และเกิดขึ้นภายในกี่วัน

ในสถานการณ์คับขัน อย่างการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้คาดการณ์ ไม่ได้ป้องกัน หรือการป้องกันล้มเหลว ยาคุมฉุกเฉินคือตัวเลือกหนึ่งที่ผู้หญิงหลายคนนึกถึง อย่างไรก็ตาม นอกจากยาจะมีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังมีอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ คือ “ ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน ” ที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อให้คุณได้ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และเตรียมพร้อมรับมือกับอาการที่อาจเกิดขึ้น
 

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินมีอะไรบ้าง และเกิดขึ้นภายในกี่วัน มาฝากกัน

  

ก่อนจะไปเรียนรู้ถึงผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินให้มากขึ้นกันก่อนว่ายาคุมฉุกเฉินคืออะไร ทำงานอย่างไร มีกี่รูปแบบ และมีข้อควรระวังเรื่องอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้มีความพร้อมและสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ 

 

ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร

  

ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร

 

ยาคุมฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pills, Morning-After Pills) หมายถึง ยาที่ใช้รับประทานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยใช้ในกรณีฉุกเฉิน ยกตัวอย่างเช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้คาดการณ์, การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือการป้องกันล้มเหลว เช่น ถุงยางชำรุด รวมไปถึงการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม

 

ยาคุมฉุกเฉิน ทำงานอย่างไร ? 

ยาคุมฉุกเฉินมีตัวยาสำคัญคือ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) ซึ่งออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการตกไข่ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่ และอสุจิได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

อย่างไรก็ตาม หากมีการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว ยาคุมฉุกเฉินจะไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ และไม่สามารถทำให้เกิดการแท้งได้ ดังนั้น ยาคุมฉุกเฉินจึงไม่ถือว่าเป็นยาทำแท้ง 

 

วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน 

 

วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน

 

ยาคุมฉุกเฉินมีทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกัน คือ แบบแผง 1 เม็ด (1.5 มิลลิกรัม) และแบบแผง 2 เม็ด (เม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม)

  ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด  ยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด 
วิธีการกิน  รับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์  เม็ดแรกให้ทานหลังจากมีเพศสัมพันธ์ภายใน 72 ชั่วโมง และเม็ดที่สองห่างจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง 
ประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์  ยาจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหากรับประทานหลังจากมีเพศสัมพันธ์ทันที หากทานภายใน 24 ชั่วโมงแรก จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 85% 

ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ โดยยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด ซึ่งมีปริมาณฮอร์โมนมากกว่าแบบ 2 เม็ด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ได้มากกว่า 

 

ข้อควรระวังในการกินยาคุมฉุกเฉิน  

ควรใช้ยาเมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่แนะนำให้ทานยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 กล่อง (4 เม็ด) ต่อเดือน เนื่องจากการทานยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ จะทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลง มีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้น และทำให้เกิดความผิดปกติกับระบบการสร้างฮอร์โมนของร่างกาย หากมีเพศสัมพันธ์บ่อย แนะนำให้ใช้ยาคุมแบบปกติ การใส่ห่วงอนามัย หรือการใช้ถุงยางอนามัย จะปลอดภัยกว่า

 

ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน ที่พบบ่อย

 

อาการหลังกินยาคุมฉุกเฉิน

 

เนื่องจากยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาที่มีปริมาณฮอร์โมนสูง จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น  

  • ประจำเดือนผิดปกติ เช่น มาเร็ว หรือช้ากว่าปกติ, มีเลือดออกมากกว่าปกติ หรือน้อยกว่าปกติ, ประจำเดือนขาด, ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย, รอบประจำเดือนยาว หรือสั้นกว่าปกติ  
  • คลื่นไส้ อาเจียน ในกรณีที่อาเจียนออกมา หลังจากกินยาไปแล้ว 4 ชั่วโมง แนะนำให้รับประทานยาใหม่ เนื่องจากตัวยายังไม่ได้ถูกดูดซึม และออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เจ็บ หรือคัดเต้านม  
  • อ่อนเพลีย  
  • เวียนหัว หรือปวดหัว 

อีกหนึ่งผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ หากกินยาคุมฉุกเฉินบ่อย หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกถึง 2% ดังนั้น ควรใช้เฉพาะในกรณีจำเป็นเท่านั้น 

 

ระยะเวลาในการเกิดผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน 

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานยา และอาการจะหายไปเองประมาณ 1-5 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  

คำแนะนำเพิ่มเติม หากมีอาการรุนแรง หรือผลข้างเคียงยังคงอยู่นานกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อขอคำแนะนำ  

 

วิธีบรรเทา ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน 

  • ทานยาแก้อาเจียน ก่อนกินยาคุมฉุกเฉินเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ 
  • ทานยาแก้ปวด หากมีอาการปวดศีรษะ เช่น Ibuprofen หรือ Naproxen  
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อฟื้นฟูร่างกายจากอาการอ่อนเพลีย   

 

การใช้สิทธิบัตรทองเพื่อบรรเทา ผลข้างเคียงจากยาคุมฉุกเฉิน 

สำหรับผู้ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดท้อง จากผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน สามารถใช้สิทธิบัตรทองเพื่อรับบริการที่ร้านยาที่เข้าร่วม “โครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ได้ ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา และจ่ายยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น  

ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับบรรเทาผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินที่ร้านยา สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [ เช็กรายชื่อร้านยาได้ที่นี่ ] โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้เข้าร่วมโครงการสิทธิบัตรทอง พร้อมให้บริการ Delivery จัดส่งยาและสินค้าสุขภาพถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee  

 

ใช้บริการ Delivery คลิกเลย! 

 

คำถามที่พบบ่อย  

Q: ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด 2 เม็ด ต่างกันยังไง? 

A: ยาคุมฉุกเฉินทั้งแบบ 1 เม็ดและ 2 เม็ด มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด มีปริมาณยาที่สูงกว่าแบบแบ่งทาน 2 เม็ด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มากกว่า 

Q: กินยาคุมฉุกเฉินเสี่ยงอะไรบ้าง? 

A: ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ประจำเดือนมาไม่ปกติ เวียนหัว เจ็บหรือคัดเต้านม หากใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก 2% 

Q: จะรู้ได้ยังไงว่ายาคุมฉุกเฉินได้ผล? 

A: โดยทั่วไปแล้ว หลังจากทานยาคุมฉุกเฉินครบแล้ว อาจทำให้ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติประมาณ 1 สัปดาห์ หากประจำเดือนไม่มาตามกำหนด ควรตรวจการตั้งครรภ์เพื่อความแน่ใจ หรือหลังจากรับประทานยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว 3 สัปดาห์ แต่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือปัสสาวะบ่อย ควรตรวจการตั้งครรภ์ เนื่องจากอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ได้ 

 

สรุป  

ยาคุมฉุกเฉิน หรือยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pills, Morning-After Pills) คือ ยาที่มีฤทธิ์รบกวนกระบวนการตกไข่ เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น โดยยาคุมฉุกเฉินสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ ยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด และยาคุมฉุกเฉินแบบ 2 เม็ด หากทานยาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ภายใน 24 ชั่วโมง จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูงถึง 85% และเนื่องจากยาคุมฉุกเฉินเป็นยาที่มีปริมาณฮอร์โมนสูง จึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ อย่างเช่น อาการคลื่นไส้ ประจำเดือนมาผิดปกติ ปวดท้อง ปวดศีรษะ หากมีอาการดังกล่าวสามารถทานยาเพื่อบรรเทาอาการได้ ถ้ามีอาการรุนแรง หรือผลข้างเคียงยังคงอยู่นานกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ   

 

ที่มา 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

ยาคุมฉุกเฉิน จาก ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา 

ความรู้ทั่วไปเรื่องยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จาก มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ 

ยาหมอบอก [by Mahidol] ยาคุมฉุกเฉิน ป้องกันท้องได้ 100% จริงหรือไม่ จาก Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ถูกต้องและสิ่งที่ควรระวัง | รู้สู้โรค | คนสู้โรค จาก Thai PBS 

อาการข้างเคียงของ ยาคุมฉุกเฉิน | การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับรอบเดือน จาก สำนักงานสาธาณสุขอำเภอป่าโมก 

Everything You Need to Know About Plan B Side Effects จาก Cosmopolitan

Emergency Contraception: What to Expect จาก WebMD 

Morning-After Pill จาก Cleveland Clinic

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

 

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ แล้วมาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก