อาการผื่นไข้เลือดออก เป็นอย่างไร? กี่วันถึงจะหาย?

อาการผื่นไข้เลือดออก เป็นอย่างไร? กี่วันถึงจะหาย?

ไข้เลือดออก (Dengue Fever) เป็นโรคที่มักจะพบได้บ่อยในช่วงหน้าฝน เนื่องจากฝนตกทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยเป็นโรคไขเลือดออเพิ่มขึ้นตามมา นอกจากอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามตัวแล้ว ยังมีอาการผื่นไข้เลือดออกขึ้นตามตัวที่ต้องรักษาให้หายดี อาจทำให้ายคนตั้งคำถามได้ว่า ผื่น หรือตุ่มแดงไข้เลือดออกเกิดจากอะไร มีลักษณะอย่างไร และใช้เวลารักษาให้ายกี่วัน บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลดี เกี่ยวกับอาการผื่นไข้เลือดออกเป็นอย่างไร? กี่วันถึงจะหาย? มาฝากกัน


อาการผื่นไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดไหน?

 

อาการผื่นไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดไหน?

 

อาการผื่นไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในอาการป่วยของโรคไข้เลือดออก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) ซึ่งมากับยุงลาย ทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อเกิดอาการป่วยขึ้นมา โดยจะขอจำแนกอาการตามความรุนแรงได้ 3 ประเภท คือ

 

  1. ไข้เดงกีธรรมดา (Dengue without warning signs) ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคไข้เลือดออกที่ไม่รุนแรงมาก เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว รวมทั้งอาการผื่นไข้เลือดออก
  2. ไข้เดงกีเลือดออก (Dengue with warning signs) จะเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดลดต่ำลง ทำให้มีอาการเลือดออกตามผิวหนัง ตามไรฟัน และส่วนอื่น ๆ รวมทั้งมีอาการที่บ่งบอกถึงสัญญาณอันตราย เช่น อาเจียนมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน เหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย และมีอาการซึม เป็นต้น
  3. ไข้เดงกีช็อก (Severe dengue) จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงที่สุด ซึ่งเกิดจากภาวะพลาสมารั่วไหลออกนอกเส้นเลือด ทำให้เกิดอาการช็อก หรือมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะตับวายเฉียบพลัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และภาวะสมองอักเสบ เป็นต้น 

 

หลายคนอาจสงสัยว่า เชื้อไวรัสเดงกีในยุงลายมาจากไหน? คำตอบคือ ยุงลายได้ดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสในร่างกาย (ผู้ป่วยที่มีไข้สูง) จากนั้นไวรัสจะเข้าไปฝังตัวในเซลล์ผนังกระเพาะยุง แล้วเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนเชื้อออกมาจากเซลล์ และเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อถึงเวลาหาอาหารเพื่อวางไข่ ยุงจะบินเข้าไปกัดคน และแพร่เชื้อไวรัสเดงกีผ่านน้ำลายจนร่างกายติดเชื้อ  

 

ต่อมาเชื้อไวรัสเดงกีจะใช้เวลาฟักตัว 5 – 8 วัน และเกิดอาการผิดปกติจากโรคไข้เลือดออกที่ผิวหนังเป็นสีแดง หรือขึ้นผื่นแดงตามใบหน้า ลำคอ แขน ขา และหน้าอกในอีก 3 – 15 วันต่อมา ซึ่งจะเกิดเป็นลักษณะผื่นไข้เลือดออกที่แตกต่างกัน

 

อาการผื่นโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างไร? 

 

อาการผื่นโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างไร?

 

หลังจากที่ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกีแล้ว ร่างกายจะแสดงอาการผื่นของโรคไข้เลือดออกออกมาในลักษณะที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาที่ผ่านไป โดยจะขอแบ่งลักษณะอาการผื่นไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้  

 

1. อาการผื่นไข้เลือดระยะแรก

อาการป่วยโรคไข้เลือดออกในระยะแรกจะยังไม่เกิดเป็นผื่นแดง แต่จะเริ่มจากผิวหนังแดงขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลำคอ และหน้าอก เนื่องจากเชื้อเดงกีในร่างกายทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว อีกทั้งจะรู้สึกคันเล็กน้อย อาการผื่นไข้เลือดออกระยะนี้จะพบอยู่ในผู้ป่วยที่เป็นไข้เดงกีธรรมดา และจะแสดงออกมาในช่วง 24 – 48 ชั่วโมงแรกของการป่วย ก่อนจะพัฒนากลายเป็นผื่นแดง หรือตุ่มไข้เลือดออกในระยะต่อไป  

 

2. อาการผื่นไข้เลือดออกระยะหลัง 

หลังจากที่อาการผื่นไข้เลือดออกระยะแรกหายไปแล้วราว ๆ 3 – 5 วัน จะมีผื่นแดงเกิดขึ้นในลักษณะที่แตกต่างออกไป เริ่มจากผื่นปื้นแดง จะมีลักษณะคล้ายกับผื่นโรคหัด อาจมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ขึ้นตามตุ่มผื่นปื้นแดง ๆ พร้อมกับมีผื่นวงสีขาวแทรกตามจุดต่าง ๆ ของผื่นปื้นแดงอีกที มีอาการคันตามผิวหนังส่วนแขน ขา และลำตัว การเกิดอาการผื่นไข้เลือดออกลักษณะนี้อาจสันนิษฐานได้ว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายกำลังกำจัดเชื้อไวรัสเดงกีอยู่ มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นไข้เดงกีธรรมดา 

 

นอกจากผื่นปื้นแดง และผื่นวงสีขาวแล้ว ในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกบางคนอาจมีผื่นจ้ำเลือดขึ้นตามผิวหนังด้วย (บางคนอาจขึ้นเป็นตุ่มนูน) ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่า เกล็ดเลือดในร่างกายผู้ป่วยลดน้อยลง โดยจะพบผื่นชนิดนี้ในไข้เดงกีเลือดออก และเดงกีช็อก ซึ่งเป็นอาการของโรคไข้เลือดออกที่รุนแรงที่สุด

 

สรุป ลักษณะผื่นจากโรคไข้เลือดออก

ผื่นไข้เลือดออกระยะแรก 

ผื่นไข้เลือดออกระยะหลัง 

ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดง 

ผื่นปื้นสีแดง 

ผื่นวงสีขาว 

ผื่นจ้ำเลือด, ตุ่มจ้ำเลือด 

แต่ทั้งนี้ ลักษณะอาการผื่นไข้เลือดออกแต่ละชนิดไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นเฉพาะกับโรคไข้เลือดออกเท่านั้น ยังสามารถพบผื่นลักษณะเดียวกันจากโรคติดเชื้อชนิดอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อมีผื่นขึ้นตามร่างกาย แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อนำไปการรักษาต่อไป 

 

วิธีรักษาอาการผื่นไข้เลือดออก

 

วิธีรักษาอาการผื่นไข้เลือดออก

 

โดยปกติแล้ว อาการผื่นไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นแต่ละชนิดจะค่อย ๆ หายไปเองตามธรรมชาติ เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรงขึ้น และสามารถกำจัดเชื้อไวรัสเดงกีในร่างกายได้แล้ว แต่ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกบางคนอาจมีอาการคันที่ผื่น หรือตุ่มแดงตามผิวหนัง แนะนำให้รับประทานยาแก้คัน เช่น ยากลุ่มต้านฮิสตามีน เพื่อบรรเทาอาการคันให้ลดน้อยลง และไม่ควรเกาผื่นไข้เลือดออก เพราะผู้ป่วยยังอยู่ในสภาวะร่างกายที่มีเกล็ดเลือดต่ำ อาจทำให้เลือดออกได้ และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย 

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากอาการผื่นไข้เลือดออกแล้ว ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะมีอาการป่วยอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาเจียน อ่อนเพลีย เป็นต้น รวมไปถึงอาการชนิดรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางคน ได้แก่ เลือดออกตามไรฟัน ผิวหนัง และถ่ายเป็นเลือด จนถึงการเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น จะใช้วิธีรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสเดงกีได้โดยตรง พร้อมกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมให้อาการทุเลาลงได้ 

 

การดูแลสุขภาพที่มีส่วนช่วยให้หายจากอาการผื่นคันไข้เลือดออก 

  • ดื่มน้ำ หรือเกลือแร่ให้เพียงพอต่อร่างกาย 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน 
  • ให้ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเท 
  • รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย รสชาติไม่จัด เช่น แกงจืด ข้าวต้ม 
  • เช็ดตัวด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น เพื่อไม่ให้อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 39 องศาเซลเซียส 
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และห้ามทานแอสไพรินและกลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDS) โดยเด็ดขาด 
     

อาการผื่นไข้เลือดออกกี่วันถึงจะหาย?

สำหรับอาการผื่นไข้เลือดออกระยะแรก ซึ่งมีลักษณะเป็นผื่นแดงทั่วผิวหนัง และรู้สึกคันเล็กน้อย จะหายเองภายใน 2-3 วัน ส่วนอาการทางผิวหนังที่มีลักษณะเป็นจุดขาว ๆ บนผื่น หรือตุ่มแดง ๆ ในระยะหลังของการเป็นโรคไข้เลือดออก จะหายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ 

 

ทั้งนี้ หากทำการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง พร้อมกับทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้วพบว่า อาการผื่นไข้เลือดออกยังไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อทำการวินิจฉัยโรค และรักษาอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการผื่นไข้เลือดออก

อาการผื่นไข้เลือดออก มีวิธีดูอย่างไร? 

จะมีการตรวจอาการผื่นไข้เลือดออกโดยการรัดแขนเพื่อดูว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนังหรือไม่ หรือที่เรียกว่า Tourniquet test หากตรวจแล้วพบจุดเลือดออก หมายความว่าการตรวจให้ผลบวก และสันนิษฐานได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว 2 – 3 วัน 

 

อาการผื่นส่าไข้ กับผื่นไข้เลือดออก ต่างกันอย่างไร? 

ผื่นส่าไข้ เป็นผื่นที่เกิดจากไวรัส HHV-6 (Human Herpesvirus 6) มีอาการคล้ายกับโรคหัด จะเป็นผื่นสีชมพู หรือสีแดงอ่อน ๆ ขนาดเล็ก ส่วนผื่นไข้เลือดออกจะเป็นผื่นแดง และผื่นขาวขึ้นแทรกตามบริเวณต่าง ๆ ทั้งนี้ ผื่นทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีไข้เหมือนกัน 

 

อาการผื่นไข้เลือดออก คันไหม? 

ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการคัน และรู้สึกเจ็บ แต่ทั้งนี้ มีเพียง 16 – 27% ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเท่านั้นที่รู้สึกคันตามบริเวณผื่นแดง 

 

สรุป 

อาการผื่นไข้เลือดออก เป็นหนึ่งในอาการเจ็บป่วยของโรคไข้เลือดออก โดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค หลังจากที่ถูกยุงกัดแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการผื่นทั้งหมด 2 ระยะ คือ 

  1. อาการผื่นไข้เลือดออกระยะแรก จะมีลักษณะผิวหนังแดงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  2. อาการผื่นไข้เลือดออกระยะหลัง จะมีผื่นปื้นแดง หรือตุ่มนูนแดง ๆ พร้อมกับมีผื่นวงขาวขึ้นตามผิวหนัง และในผู้ป่วยบางคนที่มีอาการรุนแรง อาจมีผื่นจ้ำเลือดปรากฏขึ้นด้วย 

อย่างไรก็ตาม อาการผื่นไข้เลือดออกแต่ละชนิดจะหายเองตามธรรมชาติภายใน 1 สัปดาห์ และถ้าหากรู้สึกคันตามบริเวณผื่น ควรทานยาแก้คันเพื่อบรรเทาอาการ ประกอบกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเพิ่มโอกาสให้หายจากโรคไข้เลือดออกได้ไวขึ้นนั่นเอง 

 

ที่มา : 

อาการทางผิวหนังในโรคไข้เลือดออก จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น หากรู้อาการ ไข้เลือดออกไม่ถึงตาย จาก ศูนย์บริการสาธารณสุข 6 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกีในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2563 จาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

มารู้จัก “ไข้เลือดออก” ภัยร้ายที่อยู่ใกล้ตัว ตอนที่ 2 จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่าไข้คืออะไร มีวิธีการดูแลอย่างไร จาก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก