วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ซึ่งเป็นหนึ่งในวันดี สำหรับใครที่ต้องการ เลิกบุหรี่ จะนับวันนี้เป็นวันที่ 1 ในการ เลิกบุหรี่ ซึ่งมีข้อมูลในปี 2564 พบว่า มีการสูบบุหรี่ลดลงในผู้ใช้แรงงาน ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
เพื่อเป็นการสนับสนุนการ เลิกบุหรี่ บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ แนวทางในการ เลิกบุหรี่ ง่ายๆ ด้วยตัวเองกันค่ะ
มีเหตุผลมากมายที่คนจะสูบบุหรี่ แต่ก็มีเหตุผลอีกมายมายเช่นกัน ที่จะทำให้คน เลิกบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นความกังวลใจในสุขภาพของผู้สูบบุหรี่และสุขภาพของคนรอบข้าง รวมถึงภาวะด้านเศรษฐกิจ
ซึ่งเราสามารถแบ่งกลุ่มคนที่ได้ผลกระทบจากบุหรี่ ดังนี้
-
ผู้สูบบุหรี่มือหนึ่ง (First Hand Smoke) คือ ผู้สูบบุหรี่ที่ดูดควันเข้าสู่ร่างกายของตัวเอง
-
ผู้สูบบุหรี่มือสอง (Second Hand Smoke) คือ ผู้ที่สูดควันจากคนที่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสสารตกค้างจากบุหรี่ตามเฟอร์นิเจอร์ และพื้นผิวต่างๆ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้สูบบุหรี่มือสองที่พบบ่อย คือ สมาชิกเด็กในบ้าน ซึ่งมีการศึกษาที่พบว่าเด็กที่มีสมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ จะมีโคตินินซึ่งเป็นสารตกค้างจากการได้รับนิโคตินจากบุหรี่มากกว่าเด็กทั่วไป
นอกจากคนสูบบุหรี่จะมีอายุเฉลี่ยที่สั้นกว่าคนทั่วไปแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้แก่
-
โรคมะเร็ง โดยมะเร็งที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งปอด เนื่องจากควันบุหรี่ทำให้ปอดกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้น้อยลง รวมถึงสารก่อมะเร็งจากบุหรี่ นอกจากนี้ยังพบรายงานการเป็นมะเร็งช่องปาก มะเร็งที่ไตและกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งหน้าอกและมะเร็งที่ปากช่องคลอด รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากผู้ที่สูบบุหรี่
-
ถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบและปอดอุดกั้นเรื้อรัง
-
โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
-
โรคแผลในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังทำให้มีบุตรได้ยากขึ้นและทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของทารกแรกเกิด แถมยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และความสวยงาม ทำให้มีกลิ่นปาก กลิ่นตัว เหงือกดำ ฟันมีคราบหินปูน และยังมีริ้วรอยก่อนวัยอีกด้วย
ในส่วนของ โรคโควิด 19 ถึงแม้ว่าการสูบบุหรี่จะไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะรุนแรง แต่ในผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะที่รุนแรงได้ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ร่วมกับผู้อื่นยังมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ของการ เลิกบุหรี่
เริ่มตั้งแต่ 20 นาทีแรกที่ทำให้การไหลเวียนเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ หลังจากนั้นร่างกายจะมีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนและลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในกระแสเลือด และภายใน 72 ชั่วโมง จะสังเกตได้ว่าหายใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการหดเกร็งของหลอดลมที่เกิดขณะสูบบุหรี่ได้หายไป หลังจากหยุดบุหรี่ได้ 3-9 เดือน อาการไอจะหายไป การทำงานของปอดดีขึ้นถึง 90% และเมื่อหยุดบุหรี่ได้ 1 ปีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงจนเท่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่
แนวทางในการ เลิกบุหรี่
-
หาเหตุผลและแรงจูงใจในการ เลิกบุหรี่ เช่น เพื่อให้ดูดีขึ้น เพื่อลูก
-
กำหนดวันที่ต้องการ เลิกบุหรี่ ให้ชัดเจน เช่น วันเกิด
-
บอกคนรอบข้างว่าตัดสินใจ เลิกบุหรี่ เพื่อให้มีคนคอยกระตุ้นและให้กำลังใจจนประสบผลสำเร็จ
-
ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสูบบุหรี่
-
หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ การอยู่ในสถานที่รวมถึงพฤติกรมที่กระตุ้นให้สูบบุหรี่ หากิจกรรมที่ทดแทนการสูบบุหรี่ เช่น ดำน้ำ ปีนเขา เล่นกีฬา เป็นต้น
-
ไม่ยอมแพ้ มีคนที่ต้องการ เลิกบุหรี่ เป็นจำนวนมาก กลับมาสูบซ้ำ ถ้าหากกลับมาสูบบุหรี่ให้หาสาเหตุและพยายาม เลิกบุหรี่ใหม่
-
ใช้ตัวช่วยในการ เลิกบุหรี่ เช่นหมากฝรั่งหรือแผ่นแปะทดแทนนิโคติน โดยทดแทนเมื่อต้องการสูบบุหรี่
-
ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อมีคำถามหรือต้องการการช่วยเหลือในการ เลิกบุหรี่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- หนุนผู้ใช้แรงงาน “เลิกสูบ เลิกจน” ดูแลสุขภาพ ป้องกันโควิด 19. Press Release. ศูน์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.). 14 พฤษภาคม 2564
- Quit Smoking. NHS.UK. Retrieved from https://www.nhs.uk/better-health/quit-smoking/
- WHO report on the global tobacco epidemic 2021: addressing new and emerging products. World Health Organization. 27 July 2021
- 13 Best Quit-Smoking Tips Ever. WebMD. 13 November 2021. Retrieved from https://www.webmd.com/smoking-cessation/ss/slideshow-13-best-quit-smoking-tips-ever