‘PM 2.5’ วายร้ายก่อมลพิษทางอากาศ จะดูแลสุขภาพอย่างไร?

‘PM 2.5’ วายร้ายก่อปัญหา มลพิษทางอากาศ จะดูแลสุขภาพอย่างไร?

รู้หรือไม่? หลายคนกำลังเผชิญกับปัญหา มลพิษทางอากาศ ที่มีดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index: AQI) เกินระดับมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ โดยต้นเหตุของปัญหานี้คือ ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมประมาณ 30 เท่า และสามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระยะยาวได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องเตรียมรับมือกับฝุ่นควันอย่างดีที่สุด 

 

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ “PM 2.5 วายร้ายก่อมลพิษทางอากาศ จะดูแลสุขภาพอย่างไร?” มาฝากทุกคนกัน เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันตัวเองไม่ให้ตกอยู่ในความเสี่ยง 

 

PM 2.5 ที่ก่อ มลพิษทางอากาศ คืออะไร? 

PM 2.5 หรือชื่อเต็มว่า Particulate Matter 2.5 with diameter of less than 2.5 micron เป็นฝุ่นละออแขวนลอยในบรรยากาศที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมที่มีขนาด 50-70 ไมครอน และฝุ่นละอองทั่วไปที่มีขนาด 10 ไมครอน อีกทั้งยังประกอบด้วยอนุภาคสารเคมีที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเป็นหลัก เมื่อมีการเผาไหม้ตามพื้นที่ต่างจำนวนมาก จะสามารถก่อมลพิษทางอากาศที่อาจสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว 

 

PM 2.5 ที่ก่อ มลพิษทางอากาศ มาจากไหน? 

 

PM 2.5 ที่ก่อมลพิษทางอากาศมาจากไหน?

 

ฝุ่น PM 2.5 ที่สร้างมลพิษทางอากาศเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงโดยส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมาจากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่
 

  • ไอเสียจากยานพาหนะ โดยเฉพาะช่วงที่การจราจรติดขัด ประกอบกับการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดีเซล 
  • ควันพิษจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือเชื้อเพลิงชนิดอื่น ๆ ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
  • การเผาในที่โล่ง เช่น การเผาขยะ การเผาเศษวัสดุการเกษตร การเผาป่า และการฌาปนกิจศพ 
  • การสูบบุหรี่ เมื่อมีการเผาไหม้ จะก่อให้เกิดสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด และกลายเป็นสารพิษลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ 
  • การจุดธูปเทียน การเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูปก่อให้เกิดควันพิษในลักษณะเดียวกันกับการสูบบุหรี่ และไอเสียจากรถยนต์
     

นอกจากนี้ สภาพภูมิอากาศ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้เช่นกัน โดยในช่วงฤดูหนาวที่มีความกดอากาศสูง อีกทั้งเป็นช่วงที่ลมสงบนิ่ง ทำให้ฝุ่น PM 2.5 รวมถึงสารพิษชนิดอื่น ๆ ลอยขึ้นไปสะสมรวมกันที่ชั้นบรรยากาศ ทำให้หลายคนเห็นท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยหมอกควันพิษหนา ๆ และอาจหายใจรับควันพิษเข้าไปได้ง่าย จนนำไปสู่ผลกระทบด้านสุขภาพในลำดับต่อมา 

 

มลพิษทางอากาศจาก PM 2.5 กับผลกระทบด้านสุขภาพ 

เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมาก ๆ เมื่อหายใจเอาอากาศเข้าไป ฝุ่นพิษชนิดนี้จะผ่านขนจมูกของมนุษย์เข้าไป จากนั้นจะแทรกซึมผ่านปอดและเข้าสู่กระแสเลือด ต่อมากระจายตัวไปติดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ก่อนจะไปทำลายระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งอวัยวะอื่น ๆ ในที่สุด  

 

อาการเจ็บป่วยจะรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับระดับการสัมผัสฝุ่นพิษว่าเป็นช่วงเวลาระยะสั้น (เช่น สัมผัสกับมลพิษทางอากาศ 4-8 ชั่วโมง) หรือระยะยาว (เช่น หายใจรับอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นตลอดทั้งปี) โดยจะขอจำแนกอาการเจ็บป่วยจากมลพิษทางอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน ดังนี้ 

 

อาการเจ็บป่วยจากการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศระยะสั้น 

  1. ระคายเคืองตา จมูก และคอ 
  2. เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง แสบตา น้ำตาไหล 
  3. มีอาการไอ 
  4. หายใจลำบาก หรือหายใจเสียงวีด 
  5. รู้สึกเจ็บหน้าอก 
  6. เกิดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ 
  7. การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างลึกลงไปถึงปอด 

 

อาการป่วยระยะยาวเมื่อสัมผัสกับ มลพิษทางอากาศ นาน ๆ  

  1. โรคหอบหืด 
  2. โรคถุงลมโป่งพอง 
  3. โรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ฯลฯ 
  4. โรคหลอดเลือดสมอง 
  5. โรคหลอดเลือดหัวใจ 
  6. โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง 

 

และโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นอย่างดีที่สุด มีโอกาสที่อาการจะกำเริบหนักขึ้น และจะถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องรู้วิธีดูแลตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นละอองพิษขนาดเล็กเหล่านี้ 

 

ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อเผชิญกับ มลพิษทางอากาศ จาก PM 2.5?

 

ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อเผชิญกับมลพิษทางอากาศจาก PM 2.5?

 

การป้องกันตัวเองจากมลพิษทางอากาศ 

  • สวมหน้ากาก N95 เมื่อออกไปข้างนอก หรือต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง แต่ถ้าไม่สามารถจัดหาได้ อาจใช้หน้ากาก FFP1 หน้ากาก Super 3D หรือใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้นทดแทน 
  • หลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีมลพิษทางอากาศสูง เช่น ถนนที่มีจราจรติดขัด 
  • ติดตั้งอุปกรณ์ลดฝุ่นละอองในบ้าน เช่น เครื่องฟอกอากาศ 
  • ปลูกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติดูดซับลดมลพิษทางอากาศ 
  • งดออกกำลังกายในพื้นที่กลางแจ้ง 
  • ติดตามการเฝ้าระวังดัชนีคุณภาพอากาศทุกวันอย่างสม่ำเสมอ  

 

การรักษาเมื่อมีอาการป่วยจากมลพิษทางอากาศ 

โดยเบื้องต้น เมื่อมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะเป็นการชะล้างสารพิษที่สะสมในร่างกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองให้ดีขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้มีสารอาหารเข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และถ้าหากมีอาการไอ เจ็บคอ ระคายเคืองตาจากการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ แนะนำให้ซื้อยาภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรสำหรับรักษาอาการให้ดีขึ้น โดยสามารถเข้ามาใช้บริการได้ที่ ร้านยา อ็กซ์ต้า ลัส ว่า 500 สาขาทั่วประเทศ ร้อมบริการ Delivery จัดส่งยา ละสินค้าสุขภาพถึงที่บ้านผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee

 

ใช้บริการ Delivery คลิกเลย !

 

ในขณะเดียวกัน หากรักษาอาการเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป พร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PM 2.5 วายร้ายก่อมลพิษทางอากาศ 

นอกจาก PM 2.5 มี มลพิษทางอากาศ อะไรอีกบ้าง? 

มลพิษทางอากาศ เกิดจากสารพิษอื่น ๆ ได้เช่นกัน คือ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) โอโซน (O3) ผงเขม่าดำ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และสารพิษอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดล้วนทำให้ดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินมาตรฐาน นั่นคือ มีระดับค่ามากกว่า 50 

 

ค่ามลพิษทางอากาศ ระดับไหนที่อันตรายต่อสุขภาพ? 

ค่ามลพิษทางอากาศดูได้จากดัชนีคุณภาพอากาศ ซึ่งระดับตั้งแต่ 101 ขึ้นไป จะถือว่าอันตรายต่อสุขภาพ เพราะทำให้คนทั่วไปมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย นั่นคือ ไอ หายใจลำบาก แสบตา แสบคอ ฯลฯ รวมทั้งคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอย่าง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจมีอาการหนักขึ้นได้ 

 

ฝุ่น PM 2.5 ที่ก่อ มลพิษทางอากาศ ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอย่างไร? 

มลพิษทางอากาศ จาก PM 2.5 จะกระตุ้นฮอร์โมนความเครียดให้รู้สึกหงุดหงิด วิตกกังวล ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และนำไปสู่ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง สมองทำงานช้า รวมถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ 

 

สรุป 

PM 2.5 ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กมากที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้ เช่น การจราจร โรงงาน โรงไฟฟ้าที่มีการเผาเชื้อเพลิง และการเผาไหม้ในที่โล่ง รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น อาจทำให้บรรยากาศปกคลุมไปด้วยฝุ่นพิษที่หนาแน่น และยาวนาน เมื่อหายใจเอาอากาศเข้าไป ฝุ่นจะเข้าไปติดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลากหลายด้าน เพราะฉะนั้น จึงต้องดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากมลพิษทางอากาศ เช่น สวมหน้ากาก N95 งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง และติดตามดัชนีคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ 

 

ที่มา:  

เรียนรู้ อยู่กับฝุ่น PM 2.5 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

PM 2.5 เลี่ยงฝุ่นร้ายทำลายปอด จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์  

ระวัง 5 โรคร้ายจากฝุ่น PM 2.5 จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็กตัวร้าย ป้องกันได้และไม่ควรมองข้าม จาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ  

ดัชนีคุณภาพอากาศ จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและความเครียดของเรา จาก  

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

มลพิษทางอากาศคืออะไร? จาก
องค์การอนามัยโลก (ประเทศไทย)  

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก