โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 50 ปี ซึ่งสามารถพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุ 60-90 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 60%
โดยกระดูกส่วนที่หัก หรือส่วนที่เป็น โรคกระดูกพรุน มากที่สุด ได้แก่
-
กระดูปลายแขน 80%
-
กระดูกต้นแขน 75%
-
กระดูกสะโพก 70%
-
กระดูกสันหลัง 58%
จากสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย จึงทำให้เกิดโรคนี้ในผู้สูงวัยเป็นจำนวนมาก
โดยผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะพบโรคกระดูกพรุน มากถึง 50% นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าคนไทยยังมีภาวะขาดแคลเซียม และวิตามินดีอีกด้วย อีกทั้ง โรคกระดูกพรุน ยังสามารถพบได้ในผู้ชายแต่น้อยกว่าผู้หญิง โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มาจากโรคพิษสุราเรื้อรัง และการขาดฮอร์โมนเพศชาย
สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงวัยเป็น โรคกระดูกพรุน
อาจมีด้วยกันจากหลายสาเหตุอย่าง การขาดแคลเซียมในช่วงที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ควรสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูก นอกจากนั้นโรคนี้ยังสามารถเกิดได้จากกรรมพันธุ์อีกด้วย อย่างเช่น ถ้าหากปู่ ย่า ตา ยายเป็น โรคกระดูกพรุน ก็อาจจะทำให้ลูกหลานเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ถึง 80% เลยทีเดียว
แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้นั่นก็คือการขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้
หากไม่ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ นอกจากนั้นยังมีอีกหลายสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคได้ เช่น การใช้ยาบางชนิด การดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน, สูบบุหรี่, การไม่ออกกำลังกาย, การทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ และการสูญเสียแคลเซียมผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะ และอุจจาระ เหล่านี้จึงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
วิธีรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้ป่วย
-
การทานยาตามที่แพทย์แนะนำ
-
การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้หกล้ม หรือการเกิดอุบัติเหตุ
-
หมั่นออกกำลังกาย ในกรณีที่มีการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ควรแจ้งให้นักกายภาพบำบัดทราบถึงความรุนแรงของ โรคกระดูกพรุน เพื่อการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงอย่างหักโหม และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
-
รับประทานยาเม็ดเพื่อเสริมแคลเซียม และรับวิตามินดี เพื่อช่วยในการเสริมสร้างการดูดซึมของแคลเซียม และรักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือด โดยสามารถรับวิตามินดีได้ทางผิวหนัง ด้วยการรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า
วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนในบุคคลทั่วไป
-
เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ควรทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นแคลเซียม
-
ออกกำลังกาย เช่น กระโดดเชือก วิ่ง หรือเดิน
-
หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-
หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อเป็นเวลานาน
-
เพิ่มวิตามินดีในเลือดด้วยการรับแสงแดดอ่อนยามเช้า
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มักพบได้ในผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่ก็ยังสามารถพบโรคนี้ได้ในเพศชายด้วยเช่นกัน โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้สำหรับเพศชายคือโรคพิษสุราเรื้อรัง และการขาดฮอร์โมนเพศชาย สำหรับเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนจะพบโรคนี้ได้ถึง 60%
โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคก็มีด้วยกันหลายปัจจัยทั้งทางด้านกรรมพันธุ์ การทานอาหาร การได้รับแคลเซียม และวิตามินดีไม่เพียงพอ และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเราสามารถป้องกันตัวเองจากโรคกระดูกพรุนด้วยวิธีการง่าย ๆ อย่างการออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเน้นแคลเซียม
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และยังสามารถเพิ่มวิตามินดีให้กับตัวเองได้ด้วยการออกไปรับแสงแดดอ่อนยามเช้า
นอกจากนั้นจากการวิจัยพบว่าคนไทยมีภาวะขาดแคลเซียม และวิตามินดี โดยคนไทยได้รับแคลเซียมเฉลี่ยเพียง 300-400 มล./วัน ซึ่งควรจะได้รับมากกว่านั้น
โดยผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800-1,000 มล. เพราะฉะนั้นการเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายก็คือการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เนยแข็ง เต้าหู้แข็ง กุ้งแห้ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก ถั่วแดง งาดำคั่ว และผักสีเขียวเข้ม
นอกจากนั้นยังสามารถมองหาอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างแคลเซียมได้ง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพผู้สูงอายุ และการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
Open this in UX Builder to add and edit content
- Medthai. 2022. กระดูกพรุน อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคกระดูกพรุน 11 วิธี !!. [online] Available at: <https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99/> [Accessed 30 September 2022].
- Bumrungrad.com. 2022. สาเหตุและการป้องกันโรคกระดูกพรุน | บำรุงราษฎร์ กรุงเทพ. [online] Available at: <https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2016/osteoporosis-risk-cause-prevention-treatment> [Accessed 30 September 2022].
- 2022. [online] Available at: <http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2548/15.pdf> [Accessed 30 September 2022].
- Pobpad. 2022. โรคกระดูกพรุน. [online] Available at: <https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99> [Accessed 30 September 2022].
- รามา แชนแนล. 2022. โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงอายุ. [online] Available at: <https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%82/> [Accessed 30 September 2022].