เลิกบุหรี่ อาจจะเลิกยาก แต่เลิกได้นะคะ เนื่องใน #วันงดสูบบุหรี่โลก เอ็กซ์ต้า พลัส จะพามาดูแนวทางการ เลิกบุหรี่ ที่ทำได้ด้วยตนเอง และอันตรายของบุหรี่กันค่ะ
การสูบบุหรี่ส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของผู้สูบ และควันบุหรี่จากการสูบยังส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายอย่างมากกับผู้ได้รับควันบุหรี่ ถึงแม้จากการคาดการณ์ ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2568 ประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มของอัตราการสูบบุหรี่ที่ลดลง แต่ถึงอย่างนั้น ตัวเลขของผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยก็ยังถือว่าสูงอยู่มาก คิดเป็นจำนวนมากถึงเกือบ 10 ล้านคน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาควันบุหรี่มือสองและมือสามต่อคนรอบข้างตามมา
โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น #วันงดสูบบุหรี่โลก เพื่อให้ทุก ๆ ประเทศตระหนักถึงอันตรายของการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม
แนวทางการ เลิกบุหรี่ ได้ด้วยตนเอง
จากสถิติพบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ สามารถเลิกได้ด้วยตนเองโดยใช้วิธีไม่สูบเลยหรือการหักดิบ สำหรับผู้ที่เลิกสูบโดยวิธีค่อย ๆ ลดจำนวนการสูบลง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถเลิกสูบได้ ซึ่งการหยุดสูบทันทีจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่จะเกิดอาการเมื่อระดับนิโคตินในเลือดลดลง ซึ่งอาการที่พบได้คือ วิตกกังวล หงุดหงิด โกรธง่าย และกระสับกระส่าย ซึ่งอาการจะมากใน 2 – 3 วัน จากนั้นอาการจะค่อย ๆ บรรเทาลง โดยการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง สามารถทำตามคำแนะนำได้ดังนี้
การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง
- อาจเกิดจากแรงจูงใจในด้านสุขภาพของผู้สูบและคนรอบข้าง บุคคลที่รัก ราคาบุหรี่ กระแสสังคม หรือสภาพแวดล้อมที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
ขอคำปรึกษาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- เพื่อให้ได้แนวทางในการเลิกบุหรี่ที่ถูกต้อง อาจขอคำปรึกษาจากเภสัชกรร้านยาหรือบุคลากรทางการแพทย์ ได้ที่คลินิกเลิกบุหรี่ตามสถานพยาบาลทั่วไป และสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางในการเลิกบุหรี่ผ่านทางสายด่วนศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ Quitline 1600
การตั้งเป้าหมาย
- วางแผนในการเลิกบุหรี่ โดยกำหนดวันที่จะเลิกบุหรี่ให้ชัดเจน
อย่ารอช้า ใก้ลงมือทำทันที
- โดยเตรียมตัวให้พร้อม เริ่มจากการทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ทั้งหมด และหาสิ่งที่สามารถช่วยลดความอยากบุหรี่ไว้ใกล้ตัว เช่น ขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่ง ลูกอม ผลไม้รสเปรี้ยว
ห่างไกลสิ่งกระตุ้น
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่ เพราะอาจทำให้อยากสูบบุหรี่ขึ้นได้
หากิจกรรมทำเพื่อดึงความสนใจ
- เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้ไปสูบบุหรี่ เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม ดูหนังหรือซีรีย์
ไม่หมกมุ่นหรือทำให้ตัวเองเครียด
- ผู้สูบบุหรี่มักเชื่อว่า การสูบบุหรี่ทำให้คลายเครียดได้ ดังนั้นเมื่อรู้สึกเครียด ควรหยุดพักสมอง และคลายความเครียดด้วยวิธีอื่น เช่น การพูดคุยกับคนรอบข้าง การหากิจกรรมที่ตนเองชอบและรู้สึกผ่อนคลายอย่างการอ่านหนังสือ
ทำจิตใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว
- หากรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ให้กลับไปทบทวนแรงจูงใจของการเลิกบุหรี่ ซึ่งจะทำให้มีกำลังใจและเกิดความมุ่งมั่นในการเลิกบุหรี่ต่อไป
หมั่นออกกำลังกาย
- ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง คลายความตึงเครียด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจและปอด
การเลิกบุหรี่ โดยการใช้ยา
โดยปกติแล้วเมื่อผู้สูบต้องการเลิกบุหรี่จะแนะนำให้เลิกบุหรี่ด้วยตนเองก่อน หากไม่สามารถทำได้อาจปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่โดยการใช้ยากับเภสัชกรหรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ ซึ่งปัจจุบันยังมียาที่เป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ ทั้งในรูปแบบของการบำบัดด้วยนิโคตินทดแทน (Nicotine replacement therapy) เช่น หมากฝรั่งนิโคติน แผ่นแปะผิวหนัง และรูปแบบของยารับประทานที่ไม่ใช่นิโคติน (Nonnicotine drug)
ผลดีของการเลิกบุหรี่ที่เกิดขึ้นกับผู้สูบเอง รวมถึงบุคคลรอบข้าง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งในเรื่องของการลดความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์รวมถึงบุคลิกภาพทางด้านอื่น ๆ อีกด้วย
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา หรืออาการภูมิแพ้ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- (No date a) สำนักงานกองทุนสนับสนุน… Available at: https://www.thaihealth.or.th/login/ (Accessed: 18 April 2024).
- (No date a) สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy). Available at: https://thaihealthacademy.com/ (Accessed: 18 April 2024).
- มหาวิทยาลัยมหิดล (2023) ลิงก์ไปเว็บไซต์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. Available at: https://www.rama.mahidol.ac.th/ (Accessed: 18 April 2024).
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง