แพ้ยุง อาการ วิธีบรรเทา และวิธีป้องกัน

ฝนตกเมื่อไรน้ำขังก็มา น้ำที่ขังตามภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่ดีมาก ทำให้เราพบว่าปริมาณยุงมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่นๆ ของปียุงที่พบส่วนมาเป็นยุงรำคาญ (Culex quinquefasciatus) ที่กัดคนแล้วนำเลือดไปสร้างไข่ เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ เมื่อยุงกัดจะทำให้ปล่อยน้ำลายออกมาบนผิวหนัง ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอาการคันและตุ่มนูนแดง ในคนที่ แพ้ยุง แพ้น้ำลายยุง อาจมีอาการอื่นๆ เช่น ผื่นแดง บวม เจ็บ มีตุ่มน้ำใส รอยดำและอาจมีไข้ได้ซึ่งเรียกอาการเหล่านี้ว่า Skeeter Syndrome

การปฏิบัติตัวเมื่อถูกยุงกัด เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ แพ้ยุง ที่เกิดขึ้น

  1. หลังจากถูกยุงกัด ควรล้างทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัด ด้วยน้ำและสบู่ เพื่อกำจัดน้ำลายยุง

  2. ประคบบริเวณที่ถูกกัด ด้วยผ้าเย็นหรือน้ำแข็ง เพื่อลดอาการคันและบวม

  3. ทายาที่มีส่วนผสมของ menthol ที่ให้ความเย็น สามารถบรรเทาอาการคันได้ แต่ควรระวังการใช้ menthol ความเข้มข้นที่สูง กับผิวหนังที่บอบบาง เช่น ผิวเด็ก ผิวหน้า เพื่อป้องกันอาการระคายเคืองผิวหนัง หรือเลือกทา calamine lotion เพื่อบรรเทาอาการคัน

  4. หากเป็นผื่นบริเวณกว้าง คันมาก หรือมีอาการอักเสบของผิวหนัง แนะนำปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อให้แนะนำยาที่เหมาะสมในการรักษา เช่น ยากินแก้แพ้ ยาทาเพื่อลดอาการอักเสบของผิวหนัง

  5. หากมีไข้ สามารถรับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล (ในคนที่ไม่แพ้ยานี้) และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการใช้ยาลดไข้ตัวอื่น


แพ้ยุง

การป้องกันยุงกัด  

นอกจากอาการผื่น คัน แพ้ยุง ตุ่มนูนแดงแล้ว ยุงยังเป็นพาหะนำโรค ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายอีกมากมาย เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา โรคซิก้าหรือโรคเท้าช้าง เป็นต้น ซึ่งการป้องกันไม่ให้ยุงกัดเป็นเรื่องที่สำคัญมากและควรทำอย่างแพร่หลาย โดยมีแนวทางดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงบริเวณที่มียุงชุม และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ภาชนะที่มีน้ำขัง

  2. ใส่เสื้อแขนยาว ขายาวปกปิดผิวหนัง ไม่ให้ยุงกัด

  3. ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันยุง เช่น มุ้งลวด มุ้ง เป็นต้น

  4. ใช้ยากันยุง (insect repellants) ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ทั้งชนิดที่ใช้ทาผิวหนังโดยตรงและชนิดที่วางไว้ในบริเวณใกล้ๆ เพื่อไล่ยุง เช่น ยาจุดกันยุง

โดยสารประกอบในยากันยุงที่นิยมใช้มีดังนี้

  1. DEET (N,N-diethyl-3-methylbenzamide) ความเข้มข้นที่แนะนำคือ 6-25% DEET ที่สามารถปกป้องได้ยาวนาน 2-6 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการทาผิวหนังบริเวณใกล้ดวงตา แผลเปิดเพื่อลดการระคายเคือง

  2. ตะไคร้หอม (Citronella oil) สารสกัดจากธรรมชาติ ใช้ทาผิวหนัง หรือวางไว้ใกล้ๆ เพื่อไล่ยุงได้ แต่มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ค่อนข้างสั้น ประมาณ 20-30 นาที จึงต้องทาซ้ำบ่อยๆ

  3. น้ำมันยูคาลิปตัส (Eucalyptus oil) สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ไล่ยุงได้ประมาณ 2-5 ชั่วโมง

  4. Permethrin ความเข้มข้น 5% ใช้พ่นเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ เพื่อไล่ยุง

  5. Picaridin ทาผิวหนังเพื่อไล่ยุง มีฤทธิ์ระคายเคืองผิวหนังน้อย เหมาะสำหรับผิวที่แพ้ง่าย


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. Mosquito Bite Symptoms and Treatment. CDC. Retrieved from https://www.cdc.gov/mosquitoes/mosquito-bites/symptoms.html accessed on May 10, 2022
  2. ผศ.พญ. นฤมล ศิลปอาชา. ผื่นแพ้ยุง: รักษา ป้องกันอย่างไร?. Siriraj E-Public Library, Faculty of Medicine Siriraj Hospital. 2560. August 21. Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=944 accessed on May 10, 2022
  3. Take a bite out of mosquito stings. American Academy of Allergy Asthma & Immunology. 2020. September 28. Retrieved from https://www.aaaai.org/Tools-for-the-Public/Conditions-Library/Allergies/taking-a-bite-out-of-mosquitoes accessed on May 10, 2022
  4. Mosquito and Diseases. CDC. Retrieved from https://www.cdc.gov/mosquitoes/about/diseases.html accessed on May 10, 2022
  5. Karen Gill, Jon Johnson. What to know about skeeter syndrome. Medical News Today. 2019. June 6. Retrieved from https://www.medicalnewstoday.com/articles/325405 accessed on May 10, 2022

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก