ในปัจจุบัน คนที่ต้องการลดน้ำหนักคงจะเคยได้ยินถึงการลดน้ำหนักแบบ IF กับ Keto ซึ่งน่าจะมีความสงสัยถึงความแตกต่างระหว่างการลดน้ำหนักทั้งสองชนิดนี้ บทความนี้จะเล่าถึงการลดน้ำหนักทั้งสองแบบ เพื่อที่จะเป็นข้อมูลให้คนที่ต้องการลดน้ำหนักนำไปใช้กันค่ะ
Intermittent Fasting (IF)
IF หรือ Intermittent Fasting คือ การอดอาหารเป็นช่วงเวลา เป็นรูปแบบการรับประทานอาหารที่จะกำหนดเวลาของมื้ออาหาร โดยไม่มีการลดปริมาณอาหารหรือเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งการทำ IF มีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันที่รูปแบบของเวลาในการรับประทานอาหารและอดอาหาร ได้แก่
– 16/8 คือมีช่วงการอดอาหาร (Fasting) 16 ชั่วโมงและช่วงเวลารับประทานอาหาร (Feeding) 8 ชั่วโมง ซึ่งการทำ IF 16/8 เป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถทำได้ต่อเนื่องและไม่ส่งผลกระทบต่อการลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันมาก
– 19/5 คือมีช่วงเวลาการอดอาหาร 19 ชั่วโมงและรับประทานอาหาร 5 ชั่วโมง
– Eat Stop Eat คือมีช่วงเวลาการอดอาหาร 24 ชั่วโมง โดยทำไม่เกิน 1-2 วันต่อสัปดาห์
– Warrior Diet ที่มีการอดอาหารคล้ายการฉันอาหารของพระสงฆ์หรือการถือศีลอด โดยสามารถเลือกการอดอาหารเวลาไหนก็ได้ นาน 19-20 ชั่วโมงต่อวัน
– 5:2 Diet คือการรับประทานอาหารตามปกติ 5 วันและมี 2 วันที่คุมปริมาณแคลอรีให้ไม่เกิน 500 kcal ต่อวัน
โดยในช่วงเวลารับประทานอาหาร สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่จะเน้นอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการ ส่วนในช่วงอดอาหารสามารถรับประทานได้เฉพาะอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น น้ำเปล่า ชา กาแฟดำ
หลักการทำงานของ IF
การรับประทานรูปแบบ IF คือการทำให้ร่างกายมีช่วงรับประทานอาหารและสภาวะอดอาหารที่แยกออกจากกัน ซึ่งจะสัมพันธ์กับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อเรารับประทานอาหารร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นกลูโคสล่องลอยในกระแสเลือดเพื่อเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย และมีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพื่อกักเก็บน้ำตาลกลูโคสส่วนเกินจากอาหารในกระแสเลือดเข้าสู่ตับและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานภายหลัง ในช่วงการอดอาหาร (Fasting) กลูโคสที่มีในกระแสเลือดได้ถูกใช้ไปหมดแล้ว ร่างกายมีการหลั่งอินซูลินลดลง จึงมีการกระตุ้นให้เกิดการสลายไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมาใช้เป็นพลังงานทดแทน
นอกจากนั้น การกำหนดช่วงเวลาในการรับประทานอาหารที่ชัดเจนยังช่วยลดปริมาณการรับประทานของจุกจิก ต้นเหตุของการได้รับแคลอรีที่มากเกินไปจนเกิดการสะสมของไขมันในชั้นผิวหนัง
Ketogenic Diet (Keto)
การรับประทานแบบคีโต (Ketogenic Diet) คือ รูปแบบการรับประทานที่เน้นอาหารที่มีไขมันสูง และจำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เหลือเพียงวันละไม่เกิน 50 กรัม โดยสัดส่วนพลังงานของอาหารในจะอยู่ที่ 60-75% จากไขมัน 15-30% จากโปรตีนและ 5-10% จากคาร์โบไฮเดรต
การรับประทาน Keto นั้นจะทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะอดอาหาร หรือที่เรียกว่าคีโตสิส (Ketosis) จึงมีการจึงไปสลายไขมันที่สะสมในร่างกายทำให้เกิดสารคีโตน (Ketone) ในตับเพื่อให้พลังงานกับร่างกายแทนที่สารกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายที่ได้จากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
ตัวอย่างอาหารสำหรับการรับประทานแบบคีโต ได้แก่
– อาหารจำพวกไขมันและน้ำมัน โดยเลือกรับรับประทานไขมันจากธรรมชาติต่างชนิดควบคู่กัน ได้แก่ ไขมันจากเนื้อสัตว์ จากพืช ตัวอย่างอาหาร เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ชีส กากหมู แคปหมู เป็นต้น
– อาหารจำพวกโปรตีน เช่น สเต็ก รวมถึงส่วนที่ติดมัน หมูทอด ขาหมู แต่ต้องเลือกอาหารที่ไม่ได้ใส่น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ เพิ่มเข้าไป
– อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล สามารถรับประทานได้ไม่เกิน 50 กรัมต่อวัน (ข้าวสวย 1 ทัพพีมีปริมาณ 60 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนชามีปริมาณ 4 กรัม)
– ผักประเภทผักใบ หลีกเลี่ยงผักหัว เช่น แครอท มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ฟักทอง เนื่องมากมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง
– หลีกเลี่ยงการทานผลไม้เนื่องจากมีน้ำตาลฟรุกโตสที่ให้ความหวาน สามารถทานเบอร์รี่ เนื้อมะพร้าว อะโวคาโดได้แต่ควรทานแบบจำกัด
– ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส วิปครีม เนื่องจากทำมาจากไขมันที่มาจากนม แต่ห้ามดื่มนมเพราะในนมมีน้ำตาลแลคโตส
– น้ำเปล่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถดื่มน้ำมะนาว กาแฟหรือชาดำ หรือใส่ครีม ที่ใช้หญ้าหวานหรือสตีเวีย (Stevia) เป็นสารให้ความหวาน และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
อาการข้างเคียงจากการรับประทานแบบ IF และคีโต
การรับประทานทั้งในรูปแบบ IF และคีโต ต่างมีผลข้างเคียงและเหมาะกับบุคคลบางประเภท ดังนั้น จึงควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด และถ้าผู้ที่สนใจลดน้ำหนักด้วยสองวิธีการดังกล่าวมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและมีความปลอดภัยต่อสุขภาพสูงสุด
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
2. https://www.dietdoctor.com/intermittent-fasting
3. https://www.lovefitt.com/tips-tricks/อดแล้วผอม-intermittent-fasting-if/
4. https://allwellhealthcare.com/intermitent-fasting/
5. https://thestandard.co/ketogenic-diet/
6. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/คีโตเจนิค/
7. https://www.womenshealthmag.com/weight-loss/a19434332/what-is-the-keto-diet/