ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้อย่างไรให้ได้ผล และปลอดภัยต่อสุขภาพ

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้อย่างไรให้ได้ผล และปลอดภัยต่อสุขภาพ

เชื้อแบคทีเรียเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น อาการเจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก รวมทั้งอาการท้องร่วงด้วย จึงมักจะใช้ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในการรักษา แต่สำหรับบางคน เมื่อมีอาการป่วย มักจะรีบซื้อยาชนิดนี้ไปใช้โดยที่ไม่ทราบถึงสาเหตุของอาการที่แท้จริงว่าเกิดจากเชื้อโรคแบบไหนกันแน่ อาจส่งผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของยา และสุขภาพของผู้ใช้ยาตามมาได้ 

 

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้อย่างไรให้ได้ผล และปลอดภัยต่อสุขภาพ มาฝากกัน เพื่อให้ทุกคนได้รู้วิธีใช้ยาที่ถูกต้องมากขึ้น 

 

รู้จักกับ “ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 

 

รู้จักกับ ยาปฎิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

 

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อว่า ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เป็นยาอันตรายชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ หรือยับยั้งการเจริญเติบโตเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายเชื้อต่อในเวลาต่อมา ใช้สำหรับรักษาอาการป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกายเท่านั้น เช่น ภาวะปอดติดเชื้อ าการ้อเดน อาารเจ็บคอ นังคอแดง มีจุดหนอง ไอ มีน้ำมูก รวมทั้งภาวะแผลติดเชื้อ 

 

ในปัจจุบัน ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ใช้จะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ 

  • ยาเม็ด ใช้กินเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) เป็นยาที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อ H. Pylori ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดที่ทำให้เกิดโรคในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น 
  • ยาทาภายนอก ใช้ทาบนผิวหนังเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น มิวพิโรซิน (Mupirocin) รักษาตุ่มหนองพุพอง ฝี แผลปนเปื้อน และแผลติดเชื้อ 
  • ยาฉีด ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เซฟาโซลิน (Cefazolin) มักจะใช้กับรักษาโรคที่ติดเชื้อที่ข้อต่อ กระดูก เลือด ลิ้น และหัวใจ เป็นต้น

 

กลไกการออกฤทธิ์รักษาของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 

ยาฆ่าเชื้อจะออกฤทธิ์รบกวนการทำงานต่าง ๆ และทำลายโครงสร้างของแบคทีเรีย โดยมีกลไกในการออกฤทธิ์หลัก ๆ โดยไม่ทำลายเซลล์ของมนุษย์ ดังนี้ 

  1. ทำลายผนังเซลล์ และเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย 
  2. ยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์ DNA และ RNA ของแบคทีเรีย 
  3. ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์แบคทีเรีย
     

ตัวอย่างยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 

  • อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) 
  • เพนิซิลิน (Penicillin) 
  • เตตราไซคลีน (Tetracycline) 
  • นอร์ฟลอกซาซิน (Norfloxacin) 
  • คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) 
  • ไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) 

 

อย่างไรก็ตาม ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่มีฤทธิ์กำจัดเชื้อไวรัส ลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการภูมิแพ้ ทำให้ยาชนิดนี้แตกต่างจากยาแก้อักเสบ (Anti-inflammatory drug) ที่บางคนมักจะเขใจผิดว่าเป็นยาชนิดเดียวกัน 

 

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย VS ยาแก้อักเสบ

ยาทั้งสองประเภทนี้เป็นยาคนละตัวกัน เนื่องจากมีการออกฤทธิ์รักษาไม่เหมือนกัน โดยยาฆ่าเชื้อมีฤทธิ์กำจัดแบคทีเรียในร่างกาย ในขณะเดียวก ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ บรรเทาปวด ลดอาการบวม รวมทั้งลดไข้ในร่างกาย แต่ยาจะไม่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงเหมาะสำหรับใช้รักษาอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บจากการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการประสบอุบัติเหตุรูปแบบต่างที่ไม่ได้ติดเชื้อ 

 

ตัวอย่างยาแก้อักเสบ เช่น ยาจำพวกสเตียรอยด์ และยาในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs: Non–Steroidal Anti–Inflammatory) 

  • พาราเซตามอล (Paracetamol) 
  • ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) 
  • ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) 
  • นาโพรเซน (Naproxen) 
  • และยาแก้อักเสบอื่น ๆ 

 

สรุป ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่างจากยาแก้อักเสบอย่างไร? 

 

ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  ลดการอักเสบ 

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
(ยาปฏิชีวนะ) 

 

 

ยาแก้อักเสบ   

 

 

สาเหตุที่ทำให้บางคนเข้าใจยา 2 ประเภทนี้ผิด สันนิษฐานว่า มาจากการเรียกยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียว่ายาแก้อักเสบ รวมทั้งผู้ป่วยอาจไม่ทราบถึงสาเหตุของการเกิดอาการป่วยที่แน่ชัดว่า เกิดจากแบคทีเรีย หรือเป็นการอักเสบในร่างกายกันแน่ จึงมีโอกาสที่จะเข้าใจแบบเหมารวมได้ว่า เมื่อมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีอาการบวมแดง รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ อักเสบ ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ (ที่เข้าใจว่าเป็นยาแก้อักเสบ) รักษา 

 

ดังนั้น เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ไม่ควรเรียกยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียว่ายาแก้อักเสบ และไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อพร่ำเพรื่อกับโรคที่ติดเชื้อไวรัส รวมทั้งโรคที่เกิดการอักเสบ เพราะหากทานยาที่ไม่ตรงกับอาการติดต่อกันหลายครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาได้ เช่น มีอาการแพ้ยารุนแรง หรือเชื้อแบคทีเรียดื้อยาจนหายป่วยช้า  

 

ควรใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเมื่อไหร่? 

 

ควรใช้ยากินหรือยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเมื่อไหร่?

 

ผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ ขึ้นอยู่กัการวินิจฉัยโรคของแพทย์ หรือคำแนะนำเภสัชกร โดยจะมีการใช้ยาในกรณีต่างดังนี้ 

  1. รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคปอดอักเสบ โรคไซนัสอักเสบ โรคหูชั้นกลางอักเสบ โรคคออักเสบ โรคทอนซิลอักเสบเป็นหนอง และโรคในกระเพาะอาหาร ฯลฯ
  2. รักษาแผลติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น แผลปนเปื้อนจากเศษดินที่ไม่สามารถล้างออกได้อย่างทั่วถึง หรือแผลที่สัมผัสกับสิ่งสกปรกจำพวกน้ำลาย หนอง มูลสัตว์ และน้ำครำ จนมีแบคทีเรียเกาะแผลจำนวนมาก
  3. ป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด โดยจะให้ยาฆ่าเชื้อกับผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด และให้ยาเพิ่มระหว่างการผ่าตัด

 

วิธีใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ได้ผล

 

วิธีใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ได้ผล  

วิธีที่ดีและปลอดภัยที่สุดในการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรี คือ การปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด เพื่อมุ่งให้สามารถรักษาอาการป่วยให้หายโดยเร็ว ซึ่งจะมีแนวทางในการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ดังนี้ 

 

  1. ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ครบขนาดจนหมด เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียดื้อยา 
  2. ทานยาหลังอาหาร 15 – 30 นาที แต่ถ้าหากเป็นยาที่ต้องทานก่อนอาหาร ให้ทานล่วงหน้า 1 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร เพื่อป้องกันการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร 
  3. ไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์แรงกับอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยเกินความจำเป็น เพราะจะกระตุ้นให้เชื้อดื้อยาตัวนี้ เมื่อเกิดอาการป่วยจากแบคทีเรียอีกครั้ง จะไม่สามารถรักษาด้วยยาตัวเดิมได้อีกต่อไป ทำให้ต้องใช้ยาตัวใหม่ที่มีฤทธิ์แรงกว่า ซึ่งจะมีจำนวนยาน้อยมาก ท้ายที่สุด จะรักษาให้หายได้ยาก และอาจเสียชีวิตได้ 
  4. ไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่หมดอายุ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายตามมา 
  5. ไม่ควรซื้อยาฆ่าเชื้อไปใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อนโดยเด็ดขาด เพราะยาที่ได้มานั้นจะเป็นขนาด และชนิดยาที่ยังไม่ผ่านการวินิจฉัยโรคของแพทย์ อาจเกิดปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนได้ 

 

ข้อควรระวังเมื่อใช้ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

  1. อาจเกิดการแพ้ยา หากแพ้ไม่มากจะมีเพียงผื่นคัน บวม หายใจลำบาก หากแพ้รุนแรงผิวจะเป็นรอยไหม้ หรือหลุดลอกได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ทันที 
  2. เสี่ยงต่อการดื้อยา หากมีการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ยาไม่ครบขนาด ใช้ยาที่ออกฤทธิ์กว้างเกินไป เชื้อจะปรับตัวกับยาที่ใช้จนดื้อยาได้ ทำให้รักษาอาการให้หายยากขึ้น และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด 
  3. มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน เนื่องจากตัวยาจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดดีไปด้วย ส่งผลให้เชื้อโรคอื่น ๆ ฉวยโอกาสเจริญเติบโตจนเกิดโรคใหม่ร่วมด้วย เช่น ลำไส้อักเสบรุนแรง เป็นต้น 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียควรกินกี่วัน? 

ผู้ป่วยควรทานยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะให้ครบขนาดภายใน 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับชนิด และตำแหน่งของเชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ บางกรณีอาจมีผู้ป่วยบางรายที่ต้องทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียติดต่อกันหลายเดือน เช่น ผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชนิดรุนแรง  

 

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียไม่ควรใช้คู่กับยาอะไร? 

ไม่ควรทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียคู่กับนม โยเกิร์ต และยาลดกรด เพราะยาฆ่าเชื้อจะทำปฏิกิริยากับแคลเซียม แมกนีเซียม และอะลูมิเนียม ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมยาได้ลดลง อีกทั้งปริมาณยาในเลือดไม่เพียงพอในการรักษาอีกด้วย 

 

เด็กใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ไหม? 

การใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กสามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ต้องใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากยาชนิดนี้เป็นยาอันตรายที่อาจมีอาการแพ้ยา หรือผลข้างเคียงเกิดขึ้น และที่สำคัญ ไม่ควรซื้อยาฆ่าเชื้อให้เด็กใช้เองโดยเด็ดขาด อาจนำไปสู่การดื้อยาได้ 

 

สรุป 

ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียจัดเป็นยาอันตรายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับรักษาอาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัส ลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้ แต่กลับมีผู้ป่วยบางคนที่มักจะเข้าใจว่ายาฆ่าเชื้อเป็นยาแก้อักเสบ ส่งผลให้ใช้ยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็นโดยที่ไม่เข้าใจถึงสาเหตุของการป่วยที่แท้จริง จึงนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ยา เชื้อแบคทีเรียดื้อยาจนรักษาให้หายได้ยาก และโรคแทรกซ้อนจากการใช้ยาผิดวิธีจนเสียชีวิตได้ 

 

ดังนั้น วิธีใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้ได้ผล และปลอดภัยที่สุด คือ การใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาให้ครบขนาดแม้อาการจะดีขึ้นแล้ว การใช้ยาแต่ละชนิดในช่วงเวลาที่เหมาะสม การไม่ใช้ยาฆ่าเชื้อที่หมดอายุแล้ว รวมทั้งการไม่ซื้อยามาใช้เอง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแนวทางดี ๆ ที่ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้เหมาะสมมากขึ้น ที่สำคัญ ยังเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาฆ่าเชื้อ และยาแก้อักเสบอีกด้วย 

 

ที่มา 

การติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะหลังผ่าตัดโดยเภสัชกรคลินิก จาก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง จาก ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับประชาชน จาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 

การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในร้านยา จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

ยาฆ่าเชื้อ ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ ต่างกันอย่างไร จาก ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย 

ยาปฏิชีวนะในเด็ก ใช้อย่างไรไม่ให้เกิดอันตราย จาก งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (RAMA Channel) 

ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย จาก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 

หยุดเรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

“3ถูก” หลักการใช้ยาปฏิชีวนะให้ปลอดภัย จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก