ออฟฟิศซินโดรม วิธีแก้อาการ ปวด คอ บ่า ไหล่ เป็นแล้วรักษาได้

ออฟฟิศซินโดรม วิธีแก้

ออฟิศซินโดรม อาการยอดฮิตในวัยทำงานที่จำเป็นต้องนั่งทำงานิดต่อกันเป็นระยะเวลานาน บางครั้งการที่ต้องอยู่ในท่านั่งที่ไม่ถูกต้องหรือท่าเดิมนาน อาจเกิดการสะสมของอาการที่ผิดปกตินำไปสู่การเจ็บปวดตามร่างกาย ทำให้รู้สึกไม่สะดวกสบายและเกิดการติดขัดในการทำงาน

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม วิธีแก้อาการ ปวด คอ บ่า ไหล่ เป็นแล้วรักษาได้ มาแบ่งปันกัน  

 

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม วิธีแก้อาการ ปวด คอ บ่า ไหล่ เป็นแล้วรักษาได้

 

ออฟฟิศซินโดรม(Office Syndrome) คือ อาการการปวดมัดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด มักพบในผู้ที่ต้องนั่งทำงานท่าเดิมด้วยการใช้มัดกล้ามเนื้อเดิม ๆ ในระยะเวลานานเป็นประจำหลายชั่วโมงติดต่อกัน ส่งผลให้มัดกล้ามเนื้อส่วนนั้นอักเสบและเกิดอาการปวดตามมา

 

ออฟฟิศซินโดรม อาการเป็นอย่างไร

อาการของออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 

1. การปวดมัดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน

มักเริ่มต้นที่ ไหล่ และลามไปทั่วทั้งร่างกายเป็นวงกว้าง เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก ข้อมือ หลัง จนเกิดอาการ ปวดหลังส่วนล่าง มีลักษณะการปวด 
แบบปวดร้าวตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง 

2. อาการที่ส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ  

เช่น เหน็บชา ซ่า รู้สึกวูบไหว เหงื่อออกในบริเวณที่ปวดร้าว หามีอาการปวดเฉพาะส่วนบริเวณคอ  
สามารถส่งผลให้เกิดอาการมึนงง ตาพร่า หูอื้อ ปวดศีรษะ เป็นต้ 

3. อาการระบบประสาทถูกกดทับ 

สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบประสาทบริเวณนั้นถูกกดทับเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เช่น อาการชา อ่อนแรง ตามข้อมือหรือแขน

 

อาการป่วย ที่เกิดจากการนั่งท่าเดิมนาน ๆ

การนั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน นอกจากจะเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วนั้น ยังก่อให้เกิดโรคหรือผลอื่นตามมาดังนี้  

  • ปัญหาทางด้านกล้ามเนื้อ
    คอและไหล่แข็ง จากการใช้มัดกล้ามเนื้อส่วนนี้ ในการใช้งานคีย์บอร์ดและเมาส์
    สูญเสียกล้ามเนื้อบริเวณขาและบั้นท้าย ซึ่งมัดกล้ามเนื้อส่วนนี้มีความสำคัญต่อการเดินและการทรงตัว หากกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแอ อาจเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ง่าย
    กล้ามเนื้อส่วนหลังและสะโพกสั้นลง ส่งผลให้ข้อต่อสะโพกมีปัญหาได้ อีกทั้งการนั่งผิดท่าเป็นประจำต่อเนื่อง อาจส่งผลไปสู่กระดูกสันหลังได้ เช่น เกิดการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลัง 
  • เส้นเลือดขอด เส้นเลือดตีบ เนื่องจากการนั่งนาน ๆ นั้นทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้เป็นปกติส่งผลให้เกิดการคั่งข้างที่ขา  
  • เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งลำไส้, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคอ้วน เนื่องจากการที่ร่างกายไม่ได้ขยับตัว หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ทำให้ระบบเผาผลาญนั้นทำงานได้ไม่ดีส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น หากระบบเผาผลาญไม่ดี จะทำให้เกิดการสะสมของไขมัน ส่งผลให้เกิดโรคอ้วน หรือโรคอื่น ๆ ตามมาเป็นต้น 
  • เกิดการอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า  เนื่องจากอาการเหล่านี้มักพบในผู้ที่อยู่กับที่เป็นเวลา
    นาน ๆ ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ

ดังนั้นหากท่านใดที่มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือหาวิธีป้องกันและแก้ไข ดังที่เรากำลังจะกล่าวในหัวข้อถัดไป เพื่อลดโอกาสเสี่ยงโรคต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้ 

 

วิธีการแก้อาการ ออฟฟิศซินโดรม ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

1. การจัดท่านั่งทำงานที่เหมาะสม  

 

การจัดท่านั่งทำงานที่เหมาะสม เพื่อป้องกันออฟฟิศซินโดรม

 

  • ปรับระดับความสูงของโต๊ะทำงานให้มีความเหมาะสม โดยหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นต้องอยู่ในระดับสายตา 
  • ปรับระดับเก้าอี้ให้เหมาะสม มีที่วางแขนและข้อมือขนานไปกับโต๊ะทำงาน หลังตรงพิงพนักเก้าอี้
    มีเบาะนั่ง รองรับการวางต้นขาให้ขนานไปกับพื้น และเข่าต้องงอไม่เกิน 90 – 110 องศา 
  • วางเมาส์ และคีย์บอร์ดให้ไม่ไกลเกินไป สามารถสังเกตได้ด้วยการที่ต้องไม่เอื้อมแขน หรือก้มหลังข้อศอกควรงอประมาณ 90 องศา  

 

2. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ  

 

ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อแก้อาการออฟฟิศซินโดรม

 

ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานอยู่เสมอ ไม่ควรอยู่ในอิริยาบถ เดิม ๆ เป็นระยะเวลานาน อาจปรับเปลี่ยนท่านั่งอย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมง ลุกขึ้นมายืดเหยียด พักสายตามองวิวออกไปข้างนอกหน้าต่าง เพื่อช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น 

 

3. การประคบร้อนบริเวณที่ปวด  

 

การประคบร้อนบริเวณที่ปวดจากอาการออฟฟิศซินโดรม

 

นำถุงร้อนมาวางประคบบริเวณที่มีอาการทิ้งไว้ ประมาณ 10 – 15 นาที แล้วจึงนำออก จะได้ผลดีหากทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้การประคบไม่สามารถทำได้ในผู้ที่มีผิวหนังเป็นผื่น มีแผล คลำแล้วพบก้อน หรือผิวหนังชาและไม่รู้สึกในบริเวณนั้น  

 

4. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ  

 

ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม

 

การออกกำลังกาย เป็นการขยับร่างกายให้กล้ามเนื้อได้ยืดหยุ่นผ่อนคลาย เตรียมความพร้อมร่างกาย ป้องกันอาการบาดเจ็บจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ  

 

5. สังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ ออฟฟิศซินโดรม 

 

สังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม

 

คอยสังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการซ้ำ ๆ เช่น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการปวดออฟฟิศซินโดรมได้ 

 

แนวทางการรักษาอาการ ออฟฟิศซินโดรม จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  

 

แนวทางการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

หากทำการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเองเบื้องต้นแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจเช็กอย่างละเอียดและหาแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับอาการ โดยมีแนวทางการรักษา ดังนี้  

1. การทำกายภาพบำบัดจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ 

ในขั้นนี้จะทำงานร่วมกันกับนักกายภาพบำบัด ที่จะเข้ามาช่วยปรับแต่งโปรแกรมให้เข้ากับอาการออฟฟิศซินโดรมที่กำลังเผชิญอยู่ ด้วยการใช้อุปกรณ์เฉพาะทางหรือโปรแกรมออกกำลังกายเฉพาะบุคคล  

2. การฝังเข็ม บรรเทาอาการ ออฟฟิศซินโดรม  

สามารถทำได้ด้วยแพทย์แผนจีน (Acupuncture) หรือ แพทย์ตะวันตก (Dry Needling) ขึ้นอยู่กับแนวทางรักษาของแพทย์เจ้าของไข้  

3. การรับประทานยา 

เพื่อบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมหรือรักษาร่วมกับวิธีอื่น ๆ การรับประทานยาทุกครั้งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น  

 

ที่มา 

The Efficacy of Healthy Stand on Back Pain in Office Syndrome จาก วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

Work From Home อย่างไรให้ห่างไกลOffice syndrome  จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  

The dangers of sitting: why sitting is the new smoking จาก Better Health Channel 

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก