ผื่นแพ้อากาศ อาการ และวิธีป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ให้เป็นหนัก

ผื่นแพ้อากาศ ป้องกันอย่างไร

ผื่นแพ้อากาศ ด้วยมลพิษฝุ่นควัน หรือ PM2.5 อาจเป็นปัญหาใหญ่ต่อระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย และผิวหนังโดยตรง จากสารก่อภูมิแพ้ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำให้เกิดผื่นแดงคัน บริเวณส่วนต่าง เช่น ใบหน้า, ลำตัว, แขน, ขา และตามข้อพั เป็นต้น โดยหากไม่ทำการรักษา หรือมีพฤติกรรมการเกาผื่นคันที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดแผลติดเชื้อแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังได้ในที่สุด

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดีเกี่ยวกับ ผื่นแพ้อากาศ อาการ และวิธีป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ให้เป็นหนัก มาฝากกัน

 

ผื่นแพ้อากาศ คืออะไร 

 

ผื่นแพ้อากาศ คืออะไร

 
ผื่นแพ้อากาศ ัดเป็นอาการแพ้ส่วนหนึ่ง ของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ที่เกิดจากสภาพอากาศเป็นพิษ จากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ในบรรยากาศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลัน เช่น ความร้อน, ความเย็น และความชื้น เป็นต้น ส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านี้มากเกินไป จนนำไปสู่การเกิดผื่นอักเสบบริเวณใบหน้า, ลำตัว, แขน, ขา หรือข้อพับ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบได้มากสุดในวัยเด็ก 

 

ลักษณะอาการของ ผื่นแพ้อากาศ  

โดยทั่วไปผื่นแพ้อากาศ มักจะเกิดอาการภูมิแพ้ มาก่อน ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีลักษณะคัดจมูก ไอ จามตาแดง น้ำมูกไหล หรือเริ่มมีอาการคันตามส่วนต่างของร่างกาย คล้ายกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ จากนั้นเมื่อผิวหนัง มีการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในบรรยากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยไม่ทำการรักษา ลักษณะของผื่น ก็จะเริ่มมีอาการ ดังนี้ 

  1. ผิวหนังแห้ง 
  2. เริ่มมีตุ่มนูนขึ้นมาบริเวณผิวหนัง  
  3. เกิดผื่นแดงเป็นปื้น ๆ 
  4. รู้สึกคัน หรือ แสบ 
  5. แผลจากผื่นเริ่มขยายเป็นวงกว้าง 
  6. อักเสบ และบวมขึ้น 

 

สาเหตุที่ก่อให้เกิด ผื่นแพ้อากาศ มีอะไรบ้าง

 

สาเหตุที่ก่อให้เกิด ผื่นแพ้อากาศ มีอะไรบ้าง

 

 

ผื่นแพ้อากาศ หรือผื่นคันแพ้อากาศ มักจะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แต่สามารถจำแนกแบ่งออกมาเป็น 2 ปัจจัยหลัก ด้แก่ 

1. สภาพอากาศ 

ไม่ว่าจะเป็น ในช่วงฤดูร้อน ที่ต้องพบเจอกับอากาศอบอ้าว, ฤดูหนาว ทำให้อากาศมีความเย็นจัด หรือ ฤดูฝน ต้นเหตุของความอับชื้น และทำให้ผิวหนังเกิดการระายเคือง จนนำไปสู่ผื่นแพ้อากาศ  

2. สารก่อภูมิแพ้ 

  • เกสรดอกไม้ หญ้า วัชพืช 
  • ไรฝุ่น 
  • ควันบุหรี่ 
  • ละอองเชื้อรา 
  • ขนสัตว์ 
  • สารก่อภูมิแพ้จากแมลงในอากาศ 
  • รังแคสัตว์เลี้ยง 
  • เชื้อโรคต่าง ๆ 

 

อาการ ผื่นแพ้อากาศ ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการใช้ชีวิต

สำหรับผู้ที่มีอาการผื่นแพ้อากาศ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้หลายรูปแบบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอากา โดยสามารถยกตัวอย่างปัจจัยการใช้ชีวิตในด้านต่างเช่น

1. ด้านการทำงาน

ผู้ที่มีอาการแพ้ อาจสูญเสียสมาธิในการทำงาน จนไม่สามารถเรียนรู้ตามปกติได้

2. ด้านการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยที่มี ผื่นแพ้อากาศ จะไม่สามารถออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้อย่างเต็มที่เนื่องจากความอับชื้น สาเหตุของการเกิดผื่นอักเสบ 

3. ด้านการพักผ่อน

อาการแพ้อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถพักผ่อนได้ตามปกติ เนื่องจากอาการคันของผื่นในช่วงกลางคืน อาจสร้างความกวนใจในการนอนหลับ

 

การวินิจฉัย ผื่นแพ้อากาศ เป็นอย่างไร

 

การวินิจฉัย ผื่นแพ้อากาศ เป็นอย่างไร

 

 

โดยปกติ ผู้ป่วยที่เป็นผื่นแพ้อากาศ หรือผื่นอื่นที่เกิดจากปัจจัยทางสภาพอากาศ, สารก่อภูมิแพ้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาจเริ่มตรวจสอบโดยการซักถามประวัติเบื้องต้น และทำการวินิจฉัยดังนี้

1. การผ่าตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนัง (Skin Biopsy)

เป็นการผ่าตัดเนื้อเยื่อออกจากผิวขนาดเล็ก สำหรับการวินิจฉัยโรค เพื่อตรวจสอบเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ที่อยู่ตามบริเวณผิวหนัง ซึ่งวิธีนี้ยังสามารถบ่งบอกถึงระยะความรุนแรงของผื่น ว่าอยู่ในระยะใด เพื่อเตรียมการสำหรับการรักษาที่เหมาะสม

2. การทดสอบผื่นทางผิวหนัง (Allergy Skin Test)

คือ การนำน้ำยาที่สกัดจากสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างเช่น ฝุ่น ตัวไรฝุ่น เชื้อรา รังแคของสัตว์ ฯลฯ มาทดลองหยดลงบนผิวหนังของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่ดูว่าผู้ป่วยเกิดผื่นแพ้จากสาเหตุของอะไร ซึ่งบริเวณนั้นก็จะเกิดตุ่มนูน แดง คันขึ้น และสามารถยุบหายได้เอง

3. การตรวจเลือด (ฺBlood Test)

โดยสำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการของผื่นแพ้ทางผิวหนัง และทำการทดสอบ 2 วิธีข้างต้นแล้ว แต่ยังสาเหตุไม่ได้ การเจาะเลือดเพื่อตรวจผลหาปริมาณสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด จะช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจทราบผลได้รวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ วิธีดังกล่าวอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง ขึ้นอยู่กับสถานที่ให้บริการ

 

วิธีป้องกันผื่นภูมิแพ้อากาศ 

การป้องกันผื่นแพ้อากาศ อาจจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ ดังนี้ 

  • ไม่เกาบริเวณที่เกิดผื่นคัน
    เพราะอาจทำให้ผื่นอักเสบมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อ 
  • ซักเสื้อผ้าบ่อย
    เนื่องจากฝุ่น และสิ่งสกปรกจากเสื้อผ้า อาจทําให้เกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดอย่างเป็นประจํา ไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมม 
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
    เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดโอกาสที่จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดผื่นแพ้อากาศ   
  • สวมใส่หน้ากากอนามัย
    เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสารก่อภูมิแพ้ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ 
  • ทำความสะอาดที่พัก
    อาจจะเป็นการทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ  หรือดูดฝุ่นตรงซอกประตู หน้าต่าง และปิดให้สนิท เพื่อลดโอกาสของการเกิดฝุ่นละออง และสารก่อภูมิแพ้ 
  • นำสัตว์เลี้ยงไว้บริเวณนอกบ้าน
    สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ขน หรือรังแคของสัตว์เลี้ยง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลี้ยงไว้ข้างนอกจะดีที่สุด เพื่อป้องกันอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงหากจำเป็นต้องดูแลทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง 
  • ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    หากมีอาการผื่นแพ้อากาศเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการป้องกัน   

 

การดูแลรักษา “ผื่นแพ้อากาศ” เบื้องต้น

 

การดูแลรักษา “ผื่นแพ้อากาศ” เบื้องต้น

 

  • ไม่อาบน้ำเป็นเวลานาน
    ระยะเวลาในการอาบน้ำที่เหมาะสมควรไม่เกิน 5-10 นาที เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง และเกิดผื่นคันได้ 
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสูตรอ่อนโยน และให้ความชุ่มชื้น
    เพื่อฟื้นฟูสุขภาพผิว ลดอาการระคายเคือง 
  • บำรุงผิวด้วยครีมกันแดด
    แนะนำว่าควรเลือกใช้เนื้อครีม ที่มีส่วนผสมของสารป้องกันผิวจากฝุ่น และมลภาวะต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดผื่นแพ้อากาศได้ง่าย  
  • ทาครีมที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) 
    ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนัง และลดอาการบวมให้ดีขึ้น ทั้งนี้การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 
  • หยอดตา หรือพ่นยาแก้แพ้
    สำหรับผู้ป่วยที่เป็นผื่นแพ้อากาศ ที่เกิดจากภูมิแพ้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจเลือกจ่ายยาให้ในรูปแบบของยาพ่นจมูก หรือยาหยอดตา เพื่อยับยั้งอาการคัน 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารที่มีประโยชน์
    จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และมีสุขภาพดี 

 

ที่มา: 

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จาก สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย
Airborne Allergies จาก Pregnancybirthbaby
How Can I Control Indoor Allergens and Improve Indoor Air Quality จาก Aafa
An Overview of Airborne Allergies จาก Verywellhealth
Airborne Contact Dermatitis จาก DermNet
Skin Rash จาก Cleveland Clinic
4 Skin Allergies Caused by the Weather จาก Makati Medical Center

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก