พูดถึงการดื่มนม บางคนคิดว่าเป็นเรื่องของเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว ความจริงแล้ว การดื่มนม สำคัญกับวัยเก๋ามากๆ เลยค่ะ
เมื่อเราก้าวเข้าสู่วัย 60 ปี เราเริ่มมีผมหงอก ผมบาง กล้ามเนื้อลดลง ผิวเหี่ยว หูตึง ฟันผุ ฟันหลุด ดูเหมือนจะเป็นความหดหู่ แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่เลย เราสามารถชะลอความชรา และเป็นผู้สูงวัยที่สดชื่น สดใสได้หลายวิธีมากๆ บางครั้งมีผู้แนะนำเรื่องการออกกำลังกาย แต่เดี๋ยวก่อน การออกกำลังกายต้องทำควบคู่ไปกับการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนด้วย เพื่อไม่ให้ได้รับการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายอันเนื่องจากร่างกายไม่พร้อม วิธีที่ง่ายๆวิธีหนึ่งที่จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน เพื่อความพร้อมในการออกกำลังกาย นั่นคือ การดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว
แล้วเราจะเลือกดื่มนมอย่างไรให้เหมาะสม ถ้าไม่เคยดื่มมาก่อนควรทำอย่างไร การดื่มนมในผู้สูงวัยมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึง เป็นสิ่งที่เราควรรู้ เพื่อเลือกนมที่เหมาะสมสำหรับเรา
ในปัจจุบันมีนมให้เลือกดื่มมากมาย ทั้งนมจากสัตว์ เช่น นมวัว นมแพะ และนมจากพืช ที่นิยมกันก็เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์
การดื่มนมของผู้สูงวัยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้
-
หากเราไม่เคยดื่มนมวัวมาก่อน หรือนานๆดื่มที เราอาจไม่มีน้ำย่อยเพื่อย่อยนมวัว แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถดื่มนมได้ เรายังสามารถดื่มนมวัวได้ แต่ควรเริ่มดื่มครั้งละน้อยๆ เช่นเริ่มจากดื่มครั้งละ 1-2 อึก หรือเลือกผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากน้ำตาลแลกโตส และอาจเริ่มด้วยการรับประทานโยเกิร์ตปริมาณน้อยๆก่อน ทำเช่นนี้จนไม่มีอาการปวดท้อง ไม่ท้องเสีย แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณนมที่ดื่มจนดื่มได้ครบแก้ว
-
นมที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย ควรเป็นนมที่มีพลังงานและไขมันน้อย ผ่านกระบวนการที่ทำให้ปริมาณไขมันลดลง เนื่องจากผู้สูงวัยไม่ต้องการใช้พลังงานมากเท่าวัยเด็ก และระบบการเผาผลาญก็มีประสิทธิภาพน้อยลง ดังนั้น ปริมาณไขมันจึงเป็นข้อสำคัญที่ควรจะพิจารณาในการเลือกดื่มนม ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย ในน้ำนม 1 แก้ว ปริมาตรประมาณ 200 มิลลิลิตร นมพร่องมันเนยจะมีปริมาณไขมันประมาณ 6 กรัม ขณะที่นมขาดมันเนยจะมีไขมันเหลือเพียง 0.2 กรัมเท่านั้น แต่ถ้าหากเราดื่มนมธรรมดา จะได้รับไขมันถึง 6.5 กรัม ซึ่งมากเกินความต้องการ ส่วนใหญ่แล้ว นมจากพืชจะมีไขมันต่ำกว่านมจากสัตว์
-
เลือกนมที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ซึ่งนมวัว มักมีปริมาณแคลเซียมสูงกว่านมจากพืช ผู้สูงอายุต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ผู้สูงวัยแต่ละคนมีการรับประทานอาหารไม่เหมือนกัน บางคนทานได้มาก บางคนทานได้น้อย และชนิดของอาหารที่รับประทานได้ก็แตกต่างกัน หากผู้สูงวัยได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยลงอย่างมาก วิธีที่จะทำให้เรามั่นใจได้ว่า ผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมเพียงพอ คือการดูจากปริมาณแคลเซียม ที่ระบุที่ฉลากอาหาร
-
นมยังเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญในการรักษามวลกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อของเรามีการสลายประมาณ 2% ในทุกวัน และเมื่อได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ก็จะซ่อมแซมเสริมสร้างกล้ามเนื้อกลับมาใหม่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับโปรตีนในแต่ละวันอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปสำหรับผู้สูงวัยที่สุขภาพปกติ จะต้องการโปรตีน 1-1.2 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
หากผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ไม่สามารถทานอาหารได้ ผู้มีปัญหาในการย่อยอาหาร ผู้มีปัญหาในการดูดซึมอาหาร หรือมีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ยังมีนมที่มีส่วนผสมของเวย์โปรตีน นมแคลเซียมสูง นมที่จำกัดปริมาณน้ำตาล ให้เลือกดื่มได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลอีกด้วย
และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL PharmaSee ดาวน์โหลดฟรีที่
Open this in UX Builder to add and edit content
- ถามตอบ แพทย์ศิริราช https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1265
- สื่อ online กรมอนามัย https://multimedia.anamai.moph.go.th/
- มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ http://www.thaiheartfound.org/category/details/food/358