ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย มักเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบเป็นส่วนมาก และเป็นไวรัสชนิดที่ติดต่อกันเป็นส่วนใหญ่ คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ B แต่หลายคนอาจสงสัยว่าไข้หวัดใหญ่ทั้งสองสายพันธุ์นี้แตกต่างกันอย่างไร ? สายพันธุ์ไหนรุนแรงกว่า ?
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A กับ สายพันธุ์ B ต่างกันอย่างไร ? มาฝากกัน
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้ค่อนข้างบ่อย ส่งผลให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้เรื่อย ๆ โดยมีสายพันธุ์หลัก คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ B ซึ่งเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ที่ทำลายเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ไข้สูงเฉียบพลัน ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มีลักษณะอย่างไร?
1. การกลายพันธุ์ และการแพร่กระจาย ของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A
- การกลายพันธุ์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A มีความสามารถในการกลายพันธุ์สูง โดยเฉพาะในส่วนของโปรตีน Hemagglutinin (HA) และโปรตีน Neuraminidase (NA) ซึ่งทำให้ไวรัสสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และการติดเชื้อก่อนหน้าได้ ซึ่งการกลายพันธุ์นี้อาจนำไปสู่การระบาดใหญ่ (Pandemic) ได้
- การแพร่กระจาย สายพันธุ์ A สามารถแพร่กระจายได้ทั้งใน คน และสัตว์ เช่น นก หมู ผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ด้วยการ ไอ หรือจาม ในระยะใกล้ชิด รวมไปถึงติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้ทางจมูก และตา เป็นต้น
2. ความรุนแรงของการระบาด
เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A มีความสามารถในการกลายพันธุ์ และแพร่กระจายเชื้อได้ค่อนข้างสูง จึงนำไปสู่การระบาดใหญ่ได้ ตัวอย่างเช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 (ไข้หวัดหมู) ในปี 2009
3. กลุ่มเป้าหมายของการติดเชื้อ
ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A สามารถติดเชื้อได้ทั้งใน คน และสัตว์ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ อีกทั้งยังมีโอกาสในการข้ามสายพันธุ์ และเกิดการระบาดใหม่ได้สูง
4. การป้องกัน และการรักษา
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะต้องปรับเปลี่ยนตามปีเพื่อให้ตรงกับสายพันธุ์ที่คาดว่าจะระบาด ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์ A ด้วย
- ยาต้านไวรัส เช่น Amantadine Hydrochloride หรือยา Rimantidine Hydrochloride ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อจากสายพันธุ์ A โดยจำเป็นต้องให้ยาภายใน 48 ชั่วโมง ในระยะเวลา 3-5 วัน
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีลักษณะอย่างไร?
-
การกลายพันธุ์ และการแพร่กระจาย
- การกลายพันธุ์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีอัตราการกลายพันธุ์ที่ต่ำกว่า ทำให้มีความคงที่มากกว่าในแง่ของสายพันธุ์ และประสิทธิภาพของวัคซีน
- การแพร่กระจาย ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีการแพร่กระจายจาก คนสู่คน เท่านั้น และมักจะเกิดการระบาดในระดับท้องถิ่น
-
ความรุนแรงของการระบาด
สามารถพบเชื้อได้ตลอดทั้งปี โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นมากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งการระบาดของสายพันธุ์ B มักจะเป็นพื้นที่ระดับภูมิภาค ที่ไม่ได้จำกัดในครัวเรือน หรือชุมชน แต่ขยายออกไปครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขึ้น เช่น จังหวัด ภาค เป็นต้น และมีความรุนแรงน้อยกว่า โดยทั่วไปมีความรุนแรงต่ำกว่า มีโอกาสเกิดการระบาดใหญ่น้อยกว่า
-
กลุ่มเป้าหมายของการติดเชื้อ
ไวรัสสายพันธุ์ B ติดเชื้อเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น ไม่สามารถข้ามสายพันธุ์ไปยังสัตว์ได้
-
การป้องกัน และการรักษา
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปีจะครอบคลุมทั้งสายพันธุ์ A และ B เพื่อให้มีการป้องกันที่ครอบคลุม
- ยาต้านไวรัสมีประสิทธิภาพในการรักษาทั้งสายพันธุ์ A และ B แต่การรักษามักจะเป็นไปตามอาการและความรุนแรงของการติดเชื้อ
สรุป ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A และ B ต่างอย่างไร ?
ลักษณะ |
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A | ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B |
ความหลากหลายทางพันธุกรรม |
สูง |
ต่ำ |
ความรุนแรง |
สูง |
ต่ำ |
การแพร่ระบาด | วงกว้าง |
วงแคบ |
อาการของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A และ B มีอาการที่คล้ายคลึงกันมาก ทำให้การวินิจฉัยแยกแยะด้วยตัวเองนั้นค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม ยังมีบางลักษณะที่อาจช่วยให้สังเกตได้ว่าเป็นสายพันธุ์ใด ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A มักจะมีอาการรุนแรงกว่า และสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า
ลักษณะอาการโดยทั่วไปของไข้หวัดใหญ่ทั้งสองสายพันธุ์
- ไข้สูง เป็นอาการเด่นชัดของไข้หวัดใหญ่ ทั้งสองสายพันธุ์จะทำให้มีไข้สูงขึ้นมาทันทีทันใด
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อใหญ่ เช่น ต้นขา แขน
- ปวดหัว ปวดศีรษะรุนแรง
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อ่อนล้า
- เจ็บคอ คอแห้ง เจ็บเวลากลืน
- ไอ อาจมีน้ำมูกข้นเหนียว หรือไอแห้ง
- คัดจมูก มีน้ำมูกไหล
ลักษณะอาการที่แตกต่างกันเล็กน้อย
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A
อาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์ B เช่น ไข้สูงกว่า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากกว่า มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยในผู้ป่วยบางราย
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B
อาการรุนแรงน้อยกว่า โดยทั่วไปแล้วอาการจะไม่รุนแรงเท่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A อาจมีอาการน้ำตาไหล หรือตาแดงร่วมด้วย
หมายเหตุ อาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการทั่วไป อาการที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สุขภาพโดยรวม อายุ และสายพันธุ์ของไวรัส
เมื่อใดควรพบแพทย์ ?
หากมีอาการไข้หวัดใหญ่ และมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก มีเลือดออกผิดปกติ หรือมีอาการอื่น ๆ ที่น่าเป็นห่วง ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
การป้องกันที่ดีที่สุด คือการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่น ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย
สรุป
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A และ B มีความแตกต่างกันทั้งด้านความรุนแรง การแพร่ระบาด และการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม การป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
ที่มา
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu) จาก กรมควบคุมโรค
รู้จัก “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A H1N1” จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ชนิด A (Influenza) จาก กรมควบคุมโรค
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง