ฮอร์โมนขาดความสมดุล คืออะไร? อย่างแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ฮอร์โมน (Hormones) คือ สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ฮอร์โมนมีทั้งในเพศหญิงและชาย แต่จะมีฮอร์โมนที่ต่างกันและทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ปริมาณและการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุก็ยังแตกต่างกันไป ฮอร์โมนเพศหญิง ที่สำคัญได้แก่ “ฮอร์โมนเอสโตรเจน” และ “ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน”
แต่ ฮอร์โมนขาดความสมดุล จะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอะไรนั้น วันนี้มาหาคำตอบกับเอ็กซ์ต้ากันค่ะ
ชนิดของฮอร์โมน
-
ฮอร์โมนเอสโตรเจน - ฮอร์โมนเพศหญิง ผลิตจากรังไข่ และทำให้ลักษณะร่างกายของผู้หญิงมีการเติบโต มีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น เช่น มีเต้านม สะโพกผาย มีผิวดีขึ้น เกี่ยวเนื่องกับการมีประจำเดือน การผลิตไข่ การตกไข่ และช่วยในเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก
-
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน – เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตก และการมีประจำเดือน ฮอร์โมนนี้มีความสำคัญอย่างมากกับการตั้งครรภ์ในระยะแรก
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ ฮอร์โมนขาดความสมดุล
-
อายุ ช่วงอายุที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอายุ
-
ความเครียด ความเครียดสะสม ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติได้
-
การรับประทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น ติดทานหวาน ทานชา กาแฟ ดื่มแอลกอฮอล์
-
เคมีปนเปื้อนเข้าร่างกาย มักพบได้ในอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ เป็นต้น
-
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โดยปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ทำให้คุณมีพลังงานเพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
-
ยาที่ใช้ ยาบางชนิดส่งผลต่อความผิดปกติของฮอร์โมน
อาการที่เกิดขึ้นเมื่อมี ภาวะฮอร์โมนขาดความสมดุล
-
ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนไม่มา ขาดหายไป 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน
-
ช่องคลอดแห้ง
-
นอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท
-
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
-
เหนื่อยและอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
-
เป็นสิวเยอะ
-
ภาวะความเสื่อมของผิว ผมและเล็บ
ในทางการแพทย์แผนไทยมีพืชและสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องการดูแลสุขภาพผู้หญิง เพื่อช่วยลดปัญหาเรื่องการขาดฮอร์โมน ได้แก่
-
เต้าหู้เหลือง กวาวเครือขาว เนื่องจากพืชที่มีไฟโตรเอสโตรเจน ซึ่งคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และสารไอโซฟลาโวน (isoflavone) จะช่วยทำให้อาการร้อนวูบวาบลดลง
-
ตังกุย หรือโสมตังกุย เป็นสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณบำรุงเลือดมีสารคูมารินที่เป็นไฟโตเอสโตรเจนที่ช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดง ทำให้มดลูกบีบตัวตามปกติและป้องกันประจำเดือนมาไม่ปกติ กระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกให้แข็งแรง
-
ยอดใบขี้เหล็ก ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว ตำลึง เป็นสมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องกระดูกบาง
-
ฝาง มีสรรพคุณ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือดให้สะอาด ขับเลือดเสียที่ตกค้างในร่างกาย กระตุ้นการหมุนเวียนของเลือดช่วยให้ความดันเลือดเป็นปกติ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
-
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฮอร์โมนความเครียดถูกหลั่งออกมามากเกินไปและไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ เช่น วิ่งเหยาะ ๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก๊ก เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 30 นาที
-
ควบคุมน้ำหนักให้พอดีเกณฑ์ ในผู้ที่มีน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ทำให้รังไข่ทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
-
ปรับโภชนาการอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์ ควรเลี่ยงอาหารรสหวานและไขมันสูง
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องใยอาหาร หรือสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- โรงพยาบาลสมิติเวช (no date) Samitivej Hospital in Bangkok, Thailand. Available at: https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/female-sex-hormones (Accessed: December 9, 2022). (Accessed: January 20, 2023).
- Hormone imbalance and hormone level testing (2022) Testing.com. Available at: https://www.healthtestingcenters.com/hormone-imbalance-and-hormone-level-testing/ (Accessed: January 20, 2023).