น้ำตาลในเลือดสูง อาการ สาเหตุ และการป้องกันความเสี่ยงโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง อาการ สาเหตุ และการป้องกันความเสี่ยงโรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดสูง อาการ ที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่บ่อย ๆ  รวมถึงกลุ่มบุคคลทั่วไป ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ หรือ ละเลยการตรวจระดับน้ำตาลภายในเลือด อาจส่งเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้ เช่น อาการใจสั่น ปวดหัว อาเจียน น้ำหนักลดลง หรือมีโรคแทรกซ้อนตามมา เป็นต้น บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับน้ำตาลในเลือดสูง อาการ สาเหตุ และการป้องกันความเสี่ยงโรคเบาหวาน มาฝากกัน 

 

ทำความรู้จักกับ น้ำตาลในเลือดสูง อาการ

 

รู้จักกับ น้ำตาลในเลือดสูง อาการ

 

 น้ำตาลในเลือดสูง หรือ Hyperglycemia เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือมีการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน โดยผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการ ใจสั่น ชัก กระหายน้ำ หมดสติ เวียนหัว อาเจียน น้ำหนักลดลง ฯลฯ  ซึ่งมักพบได้มากในกลุ่มของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยชะล่าใจ อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกายโดยตรงได้ เช่น  

  1. โรคหัวใจ และ หลอดเลือด 
  2. เบาหวานขึ้นตา 
  3. เบาหวานลงไต 
  4. ปัญหากระดูกและข้อต่อ 
  5. การติดเชื้อที่ฟัน และ เหงือก 
  6. แผลติดเชื้อ หายช้า ฯลฯ 

 

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากอะไร
 

สาเหตุของ “ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง” เกิดจากอะไร

 

1. สาเหตุ น้ำตาลในเลือดสูง อาการ ที่เกิดจากพฤติกรรม 

  • รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือ แป้งมากเกินไป 
  • การกินยาบางชนิด เช่น สเตอรอยด์ (Steroids) หรือ ยากดภูมิคุ้มกัน ฯลฯ 
  • ขาดการออกกำลังกาย 
  • ไม่ค่อยได้รับประทานยา หรือ ฉีดยาอินซูลินตามแพทย์แนะนำ (สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน) 4

 

2. สาเหตุ น้ำตาลในเลือดสูง อาการ ที่เกิดจากปัญหาสุขภาพ 

  • โรค หรือภาวะความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น โรคตับ ต่อมไทรอยด์มีปัญหา 
  • บาดเจ็บ หรือได้รับการผ่าตัด 
  • ความเครียดสะสม 

 

น้ำตาลในเลือดสูง อาการที่ต้องเฝ้าระวัง 

สำหรับ “ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง” มักจะไม่มีอาการบ่งชี้ในช่วงแรก แต่สามารถเริ่มสังเกตถึงความผิดปกติของร่างกายได้เมื่อระดับน้ำตาลสูง 100  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป โดยจะมีลักษณะอาการ ดังนี้ 

  1. ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน 
  2. ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด 
  3. รู้สึกกระหายน้ำมากผิดปกติ 
  4. น้ำหนักลดลง 
  5. อ่อนเพลียง่าย 
  6. บาดแผลติดเชื้อได้ง่าย และหายช้า 

 

ระดับน้ำตาลในเลือดแบบไหน ถึงจะเรียกว่าร่างกายปกติ 

 

ระดับน้ำตาลในเลือดแบบไหน ถึงจะเรียกว่าร่างกาย “ปกติ”

 

1. 70 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL 

เป็นระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ 

2. 100 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL)  

ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต 

3. 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป  

หากมีการตรวจละเอียดอย่างน้อย 2 ครั้ง และผลลัพธ์เท่าเดิมือว่าเป็นโรคเบาหวาน 

4. 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) 

สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลสูงเกิน 250 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากร่างกายจะเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการสะสมสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นของเสียในเลือด ละปัสสาวะ  

 

ปัจจุบัน ามารถตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรได้บ้าง 

การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด สามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายโดยใช้เครื่องมือ SMBG หรือ Self-Monitoring Of Blood Glucose ที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด จากการเจาะเลือดที่บริเวณปลายนิ้ว เพื่อหยดลงบนผ่นทดสอบ และอ่านค่าด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบชนิดพกพา ทั้งนี้ หากไม่สะดวกสามารถติดต่อขอเข้ารับการบริการได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน  

 

วิธีป้องกันความเสี่ยงจากอาการ “น้ำตาลในเลือดสูง”

 

วิธีป้องกันความเสี่ยงจากอาการ “น้ำตาลในเลือดสูง”

 

  • ดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ จะช่วยในการขับถ่ายของเสีย ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และมีบทบาทในกระบวนการย่อยอาหารในร่างกายได้ดีขึ้น 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงจะช่วยทำให้ร่างกายตื่นมารู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่า 
  • หากิจกรรมยามว่างทำ เพื่อลดความวิตกกังวล และฟื้นฟูสภาพจิตใจให้ดีขึ้น 
  • ควบคุมอาหาร ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพื่อทำให้ระดับน้ำตาล ความดัน ไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม  
  • จำกัดอาหารจำพวก ข้าว แป้ง ผลไม้ เนื่องจากการรับประทานมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง หรือ เกิดไขมันในร่างกาย 
  • ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดได้ 
  • พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำหนักที่เหมาะสมควรมีค่า BMI ระหว่าง 18.5-24 จะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ และห่างไกลจากโรคอ้วน  

ทั้งนี้ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์โดยทันที 

 

สรุป 

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การดูแลตนเองด้วยการงดเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ  และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์คงที่ ทั้งนี้ สำหรับบุคคลทั่วไป, คนที่มีความเสี่ยง หรือเป็นโรคเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงโรคแทรกซ้อนตามมา  

 

ที่มา 

วิธีตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

รู้จัก เข้าใจ และรับมือ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เช็กอาการ ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันเบาหวาน จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

Symptoms Of High Blood Sugar จาก บริการสุขภาพแห่งชาติ

What Levels Of Blood Sugar Are Dangerous? จาก Diabetesstrong

Hyperglycemia In Diabetes จาก Mayo Clinic  

High Blood Sugar จาก Clevelandclinic

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก