รวมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ยาฆ่าเชื้อ

ยาฆ่าเชื้อ

จริงหรือไม่ ยาฆ่าเชื้อ คือ ยาแก้อักเสบ 

ไม่จริง ยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะ (antibiotics) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง ปอดติดเชื้อ แผลติดเชื้อ มีความแตกต่างจากยาแก้อักเสบ (anti-inflammatory agents) ที่ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวด บวม แดง ร้อน

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ ได้ที่นี่


จริงหรือไม่ ยาฆ่าเชื้อ ทานได้บ่อยๆ ไม่อันตราย

ไม่จริง การใช้ยาฆ่าเชื้อ ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ใช้ กับโรคที่เป็น และต้องใช้ให้ถูกต้อง การใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างพร่ำเพื่ออาจทำให้เกิดอันตรายได้ จากสาเหตุดังนี้

  • อันตรายจากการแพ้ยา ในคนที่แพ้ยาฆ่าเชื้อประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีอาการผื่นคัน ตาบวม ปากบวม หรือถ้ารุนแรงอาจทำให้อาการหายใจแน่นติดขัดทำให้เสียชีวิตได้
  • อันตรายจากอาการข้างเคียงของยา โดยยาฆ่าเชื้อแต่ละประเภท มีอาการข้างเคียงที่แตกต่าง เริ่มจากทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง ที่รุนแรงอื่นๆตามมา
  • อันตรายจากการเกิดโรคแทรกซ้อน ยาฆ่าเชื้อบางชนิดออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างมาก ทั้งแบคทีเรียก่อโรค และแบคทีเรียชนิดดีในร่างกาย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อฉวยโอกาสตัวอื่นๆ ได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบรุนแรง หรือโรคผิวหนังจากการติดเชื้อรา
  • อันตรายจากการเกิดเชื้อดื้อยา การใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียพร่ำเพรื่อ อาจกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อ ทำให้ยาฆ่าเชื้อเดิม ไม่สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ จึงต้องใช้ยาฆ่าเชื้อตัวใหม่ที่มีราคาแพงขึ้น และยังทำให้เหลือยาฆ่าเชื้อที่ใช้ได้น้อยลง ซึ่งอาจทำให้ในอนาคตเชื้อโรคดื้อต่อยาฆ่าเชื้อที่มีจนหมด จนไม่เหลือใช้ในการรักษา

จริงหรือไม่ ยาฆ่าเชื้อ ต้องทานติดต่อให้หมดจนจบการรักษา

จริง เมื่อเริ่มรับประทานยาฆ่าเชื้อ ต้องทานติดต่อกันจนหมดเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา


จริงหรือไม่ เจ็บคอทุกครั้งต้องทาน ยาฆ่าเชื้อ 

ไม่จริง การเจ็บคอเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการอักเสบของเยื่อบุผนังคอ แผล และการติดเชื้อที่มีทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งพบว่า 80-90% ของการติดเชื้อเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในการรักษา


จริงหรือไม่ ท้องเสียเมื่อไร ต้องใช้ ยาฆ่าเชื้อ 

ไม่จริง ท้องเสียเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น อาหารเป็นพิษ จากการได้รับสารพิษจากเชื้อโรค อาหารหรือยาบางชนิด ที่กระตุ้นการขับถ่าย ภาวะการทำงานของลำไส้ที่แปรปรวน โรคบางชนิดที่ทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ และการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งผู้ป่วยท้องเสียมากกว่า 90% จะหายได้เองใน 3-4 วันโดยไม่จำเป็นต้องใช้ ยาฆ่าเชื้อ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ ไม่จำเป็นต้องใช้ ยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากไม่ได้ลดจำนวนสารพิษ แต่ใช้การรักษาตามอาการแทน


จริงหรือไม่ เป็นแผลแล้วต้องรีบทาน ยาฆ่าเชื้อ

ไม่จริง เมื่อมีแผลที่ขนาดเล็กและไม่ลึกมาก ขอบเรียบ ไม่มีเนื้อตายและไม่ปนเปื้อนสิ่งที่อาจสัมผัสเชื้อแบคทีเรีย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เศษอาหาร ให้ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ และดูแลรักษาความสะอาด ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ทั้งชนิดรับประทาน และชนิดทา แต่ถ้าแผลมีขนาดใหญ่และลึก หลังจากล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือแล้ว จำเป็นต้องให้ ยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อรุนแรง


ยาฆ่าเชื้อ

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. โครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยา ปี พ.ศ. 2555
  2. คณะทำงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุสมผลในร้านยา. การใช้ยาสมเหตุสมผลในร้านยา Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy. 2560
  3. ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาแก้อักเสบ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). 2014

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ด้านสุขภาพ ยาและอาหารเสริม

เรียกให้ถูกยาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบ

ยาปฏิชีวนะ หรือ

ยาและอาหารเสริม

เจ็บคอ บรรเทาได้ไม่ง้อยาแก้อักเสบ

อาการ เจ็บคอ เก

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

สุขภาพแต่ละช่วงวัย

 สร้างภูมิคุ้มกัน ให้ ลูกน้อย ห่างไกลโรคโควิด-19 

สถานการณ์การแพร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก