โรคมือเท้าปาก หรืออาการผื่นคันตามบริเวณผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคมักพบได้ในเด็กทารก เด็กเล็ก และวัยเรียนในช่วงฤดูฝน โดยจะมีลักษณะอาการไข้ขึ้นสูง และเริ่มมีตุ่มน้ำใสปรากฏตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งนี้ หากปล่อยทิ้งไว้ และไม่มี วิธีรักษา ที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคมือเท้าปาก อันตรายไหม มี วิธีรักษา และป้องกันอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ หรือเกิดผื่นมาฝากกัน
รู้จักโรคมือเท้าปาก พร้อมวิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand Foot and Mouth Disease คือโรคชนิดหนึ่งที่มักระบาดในช่วงหน้าฝน โดยเกิดจากเชื้อ Enterovirus ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ และมีความรุนแรงที่แตกต่างกัน แต่จะมีเชื้อ Enterovirus 71 (EV71) ที่ทุกคนต้องระมัดระวัง เนื่องจากสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ปกครองจึงต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อยที่อาจเสี่ยงเป็นโรคมือเท้าปาก รู้วิธีรักษา และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวในช่วงนี้
โรคมือเท้าปาก สามารถติดต่อได้จากทางไหน?
สำหรับโรคมือเท้าปากนั้น สามารถติดเชื้อ Enterovirus ได้ง่าย ๆ จากการสัมผัสกับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนกับของเล่น ของใช้ น้ำ อาหาร แล้วนำเชื้อเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น เอามือเข้าปาก ดื่มน้ำ ขยี้ตา และแคะจมูก รวมถึงการหายใจเอาละอองเชื้อจากผู้ที่เป็นโรค ทั้งนี้ สามารถพบได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ แต่ความรุนแรงของโรคมือเท้าปากจะน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทาน หรือภูมิคุ้มกันของแต่ละคน และนำไปสู่การใช้วิธีรักษาที่แตกต่างกันไป
โรคมือเท้าปาก สามารถสังเกตอาการ และมี วิธีรักษา อย่างไรบ้าง?
ปัจจุบันโรคมือเท้าปากจะถูกแบ่งอาการออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ อาการมือเท้าปากแบบไม่มีไข้ หรือไม่รุนแรง กับอาการแบบรุนแรง โดยจะมีลักษณะอาการ และวิธีรักษา ได้แก่
1. โรคมือเท้าปาก แบบอาการไม่รุนแรง พร้อม วิธีรักษา
- ผู้ป่วยมักมีอาการไข้ในช่วงแรก ๆ โดยบางรายอาจมีไข้สูง
- จากนั้น จะเริ่มมีผื่น ตุ่มน้ำใส หรือตุ่มสีแดงที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้น และอาจมีผื่นตามลำตัว แขน และขา
- มีแผลบริเวณปาก บางครั้งอาจมีผื่นขึ้นบริเวณอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เด็กรับประทานอาหารได้น้อยลงเนื่องจากแผลในปาก
โดยสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโรคมือเท้าปากไม่รุนแรง วิธีรักษาจะเน้นไปที่บรรเทาอาการ ดังนี้
- ให้ยาลดไข้: เช่น พาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวด เป็นไข้
- ยาชาเฉพาะที่: สำหรับบรรเทาอาการเจ็บปวดบริเวณแผลในปาก
- น้ำเกลือแร่: เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย จากการกินอาหารและน้ำที่น้อยลง
การรักษาด้วยวิธีแบบนี้ จะช่วยให้โรคมือเท้าปากในเด็กอาการดีขึ้น และผื่นจะเริ่มหายได้เองภายใน 5-7 วัน
2. โรคมือเท้าปาก แบบอาการรุนแรง พร้อม วิธีรักษา
- มีไข้สูง อุณหภูมิไม่ลดลงภายใน 48 ชั่วโมง
- มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจไม่อิ่ม หอบ
- รู้สึกซึม อ่อนเพลียมาก หรือบางรายอาจมีอาการชักร่วมด้วย
- เริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณส่วนต่าง ๆ ตามร่างกายลักษณะคล้ายกับอาการแบบทั่วไป
เมื่อได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก พร้อมวิธีรักษากันไปแล้ว หากพบอาการแบบนี้ ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร็วที่สุด เพื่อหาวิธีรับมือโรคมือเท้าปากในเด็กโดยทันที
ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงเป็น “โรคมือเท้าปาก”?
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้พบได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงเพียงพอ
- เด็กที่อยู่ในสถานที่รวมกลุ่ม เช่น โรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการสัมผัสใกล้ชิด และแพร่เชื้อได้ง่าย
- เด็กที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง เช่น เด็กที่มีโรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ และเกิดภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก แม้ว่าโรคนี้จะพบในเด็กมากกว่า แต่ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กมีโอกาสติดเชื้อโรคมือเท้าปากได้ หากไม่มีวิธีรักษาสุขอนามัยที่ดี
โรคมือเท้าปาก มีวิธีรักษาผื่น หรือป้องกันอย่างไรบ้าง?”
โรคมือเท้าปาก หรือ ผื่นในปัจจุบัน จะมีอีกหนึ่ง วิธีรักษา เบื้องต้น คือ วัคซีนป้องกันเชื้อ Enterovirus 71 ที่ผู้ปกครองสามารถพาเด็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ไปฉีดวัคซีนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อลดความรุนแรงของโรคมือเท้าปากที่อาจเกิดขึ้น โดยควรฉีดให้ครบ 2 เข็มเพื่อให้ตัววัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันที่ดี
ทั้งนี้ จะยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกัน โรคมือเท้าปาก จากสายพันธุ์อื่น ๆ โดยจะเป็น วิธีรักษา ตามอาการ เพื่อบรรเทาให้ดีขึ้น ทั้งนี้การป้องกันที่ดีที่สุด คือการรักษาสุขอนามัยที่ดี ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเป็นประจำ ทั้งก่อน – หลังรับประทานอาหาร
- ทำความสะอาดของเล่นด้วยผงซักฟอก หรือสบู่ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
- หลีกเลี่ยงสถานที่ ชุมชน หรือผู้คนชั่วคราวที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค
- กินร้อนช้อนกลางอย่างสม่ำเสมอ
- ดื่มน้ำเยอะ ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ โรคมือเท้าปาก และ วิธีรักษา
-
ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก สามารถไปโรงเรียนได้เมื่อไหร่ ?
เมื่อผู้ปกครองทราบว่าเด็ก ๆ มีอาการของโรคมือเท้าปาก ควรให้หยุดเรียนเป็นเวลา 7-10 วัน จนกว่าวิธีการรักษาต่าง ๆ จะทำให้อาการดีขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสสู่เด็กคนอื่น ๆ และแจ้งไปยังทางโรงเรียนเพื่อหาทางวิธีป้องกัน พร้อมรับมือในเรื่องเชื้อไวรัส
-
โรคมือเท้าปาก สามารถกลับมาเป็นได้อีกครั้งได้ไหม ?
สามารถเป็นซ้ำได้อีก หากได้รับเชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กับที่เคยเป็นมาก่อน เนื่องจากโรคมือเท้าปากจะมี Enterovirus หลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะ Enterovirus 71 (EV71) ที่จะต้องระมัดระวัง และควรหมั่นดูแลความสะอาดเพื่อป้องกันอยู่เสมอ
-
หากเป็นโรคมือเท้าปาก ควรกินอาหารประเภทไหนบ้าง ?
เนื่องจากโรคมือเท้าปากจะอาการเจ็บแผลบริเวณปากมาก ส่งผลให้การรับประทานอาหาร และการดื่มน้ำเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้น วิธีดูแลรักษาเบื้องต้น คือ ควรเลือกอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการ และง่ายต่อการกลืน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม มันบด ไอศกรีม และน้ำ เป็นต้น
สรุป
โรคมือเท้าปาก หรือ Hand Foot and Mouth Disease คือโรคชนิดหนึ่งที่มักระบาดในช่วงหน้าฝน โดยจะพบได้บ่อยในช่วงวัยเด็ก เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำ และเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยมีวิธีรักษาพร้อมกับป้องกันให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ ได้แก่ การให้ลูก ๆ ล้างมือให้สะอาดก่อน – หลังรับประทานอาหารเป็นประจำ หมั่นกินร้อนช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด รวมถึงผู้คนที่อาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ทั้งนี้ กรณีเด็กเริ่มมีอาการไข้ขึ้นสูง มีตุ่มผื่นคันตามตัวบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รอบก้น แขนกับขา ผู้ปกครองควรให้ยาลดไข้ พร้อมเฝ้าดูอาการเด็ก ๆ อย่างน้อย 1-2 วัน แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์โดยทันที
ที่มา
ทำความรู้จัก โรคมือเท้าปาก จาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
โรคมือเท้าปาก จาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
โรคมือ เท้า ปาก โรคระบาดที่มากับฝน จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มือเท้าปากในเด็ก จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
วัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก จาก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง