ภาวะไขมันพอกตับ คือการมีไขมันสะสมที่เซลล์ตับมากกว่า 5% ของเนื้อตับ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ระยะแรกมักไม่มีอาการ หรืออาจเริ่มต้นด้วยอาการอ่อนเพลีย
ไขมันพอกตับแบ่งตามสาเหตุการเกิดโรคได้ 2 ชนิด คือ
ไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease , AFLD) และ ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD)
ผู้ที่เป็นไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นผู้มีประวัติดื่มแอลกอฮอล์จัด ความรุนแรงของภาวะไขมันพอกตับจะขึ้นกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์และระยะเวลาที่ดื่ม
ส่วนผู้ที่เป็นไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบได้ถึง 20-25% ของจำนวนประชากร ซึ่งนับว่ามีสัดส่วนสูงมาก โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวว่ามีภาวะนี้หากไม่ได้ตรวจร่างกายประจำปี ผู้ที่มีไขมันพอกตับแบบนี้ มักจะพบว่ามีโรคเบาหวาน ร่วมกับการดื้ออินซูลินด้วย
เมื่อผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับได้รับเชื้อโควิด พบว่าจะมีอาการรุนแรง ต้องการการรักษาในห้อง ICU มากกว่า และต้องการเครื่องช่วยหายใจมากกว่าคนปกติ ดังนั้นผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนโควิดไม่ว่าจะเป็นไขมันพอกตับแบบใด
ส่วนที่มีความเชื่อหรือแนวคิดว่า การดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกาย จะช่วยฆ่าเชื้อโควิดในร่างกายนั้น พบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วยในการฆ่าเชื้อโควิด การดื่มแอลกอฮอล์ไม่แม้แต่จะฆ่าเชื้อโควิดในช่องปากของเราได้ เพราะความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่เราดื่ม มีความเข้มข้นน้อยเกินกว่าจะสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัสโควิดได้ ไม่เหมือนการใช้แอลกอฮอล์ในการล้างมือ เพราะแอลกอฮอล์ที่ใช้พ่นมือหรือล้างมือมีความเข้มข้นถึง 75% สามารถทำลายเซลล์ของไวรัสได้ แต่หากเราดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นขนาดนั้น เราจะเสียชีวิตแน่นอน
การเตรียมตัวเพื่อรับวัคซีนสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ
1. ผู้ที่รับประทานยาลดไขมัน หรือยาเบาหวาน สามารถรับวัคซีนได้ โดยไม่ต้องหยุดยา เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ การได้รับยาเพื่อควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือด มีความสำคัญอย่างยิ่ง และยังไม่พบว่าวัคซีนโควิดส่งผลข้างเคียงต่อผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ ในทางตรงข้าม หากผู้ป่วยกลุ่มนี้คุมอาการไม่ได้ และเกิดติดเชื้อโควิด จะส่งผลร้ายแรงตามมาได้
2. ผู้ที่ไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ ควรฉีดวัคซีนเช่นกัน ควรงดแอลกอฮอล์อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนรับวัคซีน เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นและสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีขึ้น
ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรขาดยา หากมีความกังวลใจ สามารถปรึกษาปัญหาการใช้ยากับเภสัชกรประจำร้านขายยาได้ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน และเมื่อรับวัคซีนแล้ว ยังคงต้องป้องกันตัวตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
และถ้าหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสทุกสาขาใกล้บ้าน หรือที่ แอปฯ ALL PharmaSee ดาวน์โหลดฟรีที่
- https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/298/
- https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/วัคซีนโควิด-19-สำหรับผู้ป/
- https://thasl.org/thasl-recommendation-covid-vaccine/
- https://thailiverfoundation.org/ไขมันพอกตับกับโควิด%E2%80%8B-19%E2%80%8B/
- https://thailiverfoundation.org/โรคตับจากแอลกอฮอล์และโ/