โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 50 ปี ซึ่งสามารถพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุ 60-90 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 60%

โดยกระดูกส่วนที่หัก หรือส่วนที่เป็น โรคกระดูกพรุน มากที่สุด ได้แก่

  1. กระดูปลายแขน 80%

  2. กระดูกต้นแขน 75%

  3. กระดูกสะโพก 70%

  4. กระดูกสันหลัง 58%


จากสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย จึงทำให้เกิดโรคนี้ในผู้สูงวัยเป็นจำนวนมาก

โดยผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปจะพบโรคกระดูกพรุน มากถึง 50% นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าคนไทยยังมีภาวะขาดแคลเซียม และวิตามินดีอีกด้วย อีกทั้ง โรคกระดูกพรุน ยังสามารถพบได้ในผู้ชายแต่น้อยกว่าผู้หญิง โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มาจากโรคพิษสุราเรื้อรัง และการขาดฮอร์โมนเพศชาย


สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงวัยเป็น โรคกระดูกพรุน

อาจมีด้วยกันจากหลายสาเหตุอย่าง การขาดแคลเซียมในช่วงที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ควรสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูก นอกจากนั้นโรคนี้ยังสามารถเกิดได้จากกรรมพันธุ์อีกด้วย อย่างเช่น ถ้าหากปู่ ย่า ตา ยายเป็น โรคกระดูกพรุน ก็อาจจะทำให้ลูกหลานเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ถึง 80% เลยทีเดียว 


แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้นั่นก็คือการขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้


หากไม่ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอก็อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ นอกจากนั้นยังมีอีกหลายสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคได้ เช่น การใช้ยาบางชนิด การดื่มสุรา เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน, สูบบุหรี่, การไม่ออกกำลังกาย, การทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ และการสูญเสียแคลเซียมผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะ และอุจจาระ เหล่านี้จึงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

วิธีรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้ป่วย 

  1. การทานยาตามที่แพทย์แนะนำ

  2. การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้หกล้ม หรือการเกิดอุบัติเหตุ

  3. หมั่นออกกำลังกาย ในกรณีที่มีการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ควรแจ้งให้นักกายภาพบำบัดทราบถึงความรุนแรงของ โรคกระดูกพรุน เพื่อการจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงอย่างหักโหม และควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

  4. รับประทานยาเม็ดเพื่อเสริมแคลเซียม และรับวิตามินดี เพื่อช่วยในการเสริมสร้างการดูดซึมของแคลเซียม และรักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือด โดยสามารถรับวิตามินดีได้ทางผิวหนัง ด้วยการรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า


วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนในบุคคลทั่วไป

  1. เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ควรทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นแคลเซียม

  2. ออกกำลังกาย เช่น กระโดดเชือก วิ่ง หรือเดิน 

  3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 

  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อเป็นเวลานาน 

  5. เพิ่มวิตามินดีในเลือดด้วยการรับแสงแดดอ่อนยามเช้า


โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มักพบได้ในผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชาย แต่ก็ยังสามารถพบโรคนี้ได้ในเพศชายด้วยเช่นกัน โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้สำหรับเพศชายคือโรคพิษสุราเรื้อรัง และการขาดฮอร์โมนเพศชาย สำหรับเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนจะพบโรคนี้ได้ถึง 60%


โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคก็มีด้วยกันหลายปัจจัยทั้งทางด้านกรรมพันธุ์ การทานอาหาร การได้รับแคลเซียม และวิตามินดีไม่เพียงพอ และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเราสามารถป้องกันตัวเองจากโรคกระดูกพรุนด้วยวิธีการง่าย ๆ อย่างการออกกำลังกาย การทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเน้นแคลเซียม

หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และยังสามารถเพิ่มวิตามินดีให้กับตัวเองได้ด้วยการออกไปรับแสงแดดอ่อนยามเช้า


นอกจากนั้นจากการวิจัยพบว่าคนไทยมีภาวะขาดแคลเซียม และวิตามินดี โดยคนไทยได้รับแคลเซียมเฉลี่ยเพียง 300-400 มล./วัน ซึ่งควรจะได้รับมากกว่านั้น

โดยผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800-1,000 มล. เพราะฉะนั้นการเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกายก็คือการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เนยแข็ง เต้าหู้แข็ง กุ้งแห้ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก ถั่วแดง งาดำคั่ว และผักสีเขียวเข้ม

นอกจากนั้นยังสามารถมองหาอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องของการเสริมสร้างแคลเซียมได้ง่าย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพผู้สูงอายุ และการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

Open this in UX Builder to add and edit content

  • Medthai. 2022. กระดูกพรุน อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคกระดูกพรุน 11 วิธี !!. [online] Available at: <https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99/> [Accessed 30 September 2022].
  • Bumrungrad.com. 2022. สาเหตุและการป้องกันโรคกระดูกพรุน | บำรุงราษฎร์ กรุงเทพ. [online] Available at: <https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2016/osteoporosis-risk-cause-prevention-treatment> [Accessed 30 September 2022].
  • 2022. [online] Available at: <http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/pdf_cpg/2548/15.pdf> [Accessed 30 September 2022].
  • Pobpad. 2022. โรคกระดูกพรุน. [online] Available at: <https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99> [Accessed 30 September 2022].
  • รามา แชนแนล. 2022. โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงอายุ. [online] Available at: <https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%82/> [Accessed 30 September 2022].

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง หลายคนเมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางไปเที่ยว มักจะลืมของสำคัญ หรือ ไอเทมจำเป็น ที่ต้องใช้ในการเดินทางซึ่งอาจทำให้การไปทริปในแต่ละครั้งรู้สึกติดขัด หรือ ไม่สนุกสนานเท่าที่ควรหยุดยาวนี้ให้คุณได้ท่องเที่ยวอย่างอุ่นใจ บทความนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส ได้รวบรวมสิ่งของที่จำเป็นเมื่อต้องเดินทางไปเที่ยว ว่าในแต่ละภาคต้อง เตรียมอะไรไปบ้างมาฝากทุกคนกันค่ะ

วิธีการดูแล สุขภาพผู้สูงอายุ ในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง อากาศเริ่มเย็นลง ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม ส่งผลโดยตรงกับ สุขภาพผู้สูงอายุ ที่การทําหน้าที่ของร่างกายในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ๆ ด้านเริ่มเสื่อมถอยลง โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid ลองโควิด (Long Covid) คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 –

อาหารเสริมสร้างความจำ ในผู้สูงวัย

อาหารเสริมสร้างความจำ สิ่งจำเป็นสำหรับผู้สูงวัย เพราะยิ่งอายุเพิ่มขึ้นความจำเรื่องต่าง ๆ ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพลดน้อยลง โดยเฉพาะอาการหลง ๆ ลืม ๆ ที่จะนำไปสู่โรคสมองเสื่อมได้

โรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่มักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 50 ปี ซึ่งสามารถพบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุ 60-90 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงถึง 60% โดยกระดูกส่วนที่หัก หรือส่วนที่เป็น โรคกระดูกพรุน มากที่สุด ได้แก่

ผู้สูงอายุดูแลตัวเอง ยังไงในช่วงหน้าหนาว

ช่วงนี้อากาศกำลังหนาว และเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อนบ้าง หนาวบ้าง อาจจะทำให้ร่างกายของวัยเก๋าอย่างพวกเราปรับตัวกันไม่ทัน วันนี้เอ็กซ์ต้า จึงมีความรู้ดี ๆ เรื่อง ผู้สูงอายุดูแลตัวเอง ยังไงในช่วงหน้าหนาว มาฝากทุกคนกันค่ะ

Checklist อาการวัยทองมีอะไรบ้าง?

เช็กลิสต์ อาการวัยทอง ในผู้หญิง หรือภาวะวัยทองในผู้หญิง เมื่อผู้หญิงหมดประจำเดือน นั่นก็คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะวัยทองแล้ว

ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างไร ให้เหมาะกับสุขภาพ

จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558 พบว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยจะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป วันนี้เอ็กซ์ต้า จึงมีข้อมูลดี ๆ สำหรับวิธีที่ ผู้สูงอายุออกกำลังกาย อย่างไรให้เหมาะกับสุขภาพ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

บันทึก