สมุนไพรแก้ไอ มักนิยมนำมาใช้บรรเทาอาการไอ และขับเสมหะ โดยการรับประทานเพื่อช่วยรักษาอาการเบื้องต้นที่เกิดจากการไอด้วยตัวเอง เพราะ สมุนไพรแก้ไอ มีฤทธิ์ในการช่วยบรรเทาอาการไอ ได้ดี และยังมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง พร้อมการทานอย่างถูกวิธี มาแบ่งปันกัน
กลไกที่ทำให้เกิดการเกิดอาการไอ
อาการไอ เป็นการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไกป้องกันสำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือ สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และอาการไอยังเป็นช่องทางในการแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายอีกด้วย
การรักษาอาการไอ
เริ่มจากการหาสาเหตุและทำการรักษาให้ตรงกับอาการ โดยในปัจจุบัน ยาบรรเทาอาการไอ หรือ ยาแก้ไอที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมักเป็นยาแผนปัจจุบันที่ผลิตจากตัวยาสังเคราะห์ ยกตัวอย่าง เช่น
- กลุ่มยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ
- กลุ่มยาแก้ไอสำหรับอาการไอแห้ง
- ยาที่ผลิตจากสมุนไพร ที่เป็นยาบรรเทาอาการไอขนานดั้งเดิมโบราณ
สมุนไพรแก้ไอ คืออะไร ?
เป็นยาที่ผลิตจากสมุนไพรหลากหลายชนิด โดยนำมาใช้เป็นยาบรรเทาอาการไอขนานดั้งเดิม มาตั้งแต่โบราณ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญ คือ ทิงเจอร์ฝิ่นการบูร ที่ออกฤทธิ์ระงับอาการไอ มีสารสำคัญคือสารอัลคาลอยด์ (Codeine) และสารสกัดชะเอม ทำหน้าที่เคลือบ และป้องกันเยื่อบุทางเดินหายใจจากเสมหะและสิ่งระคายเคือง ใช้บรรเทาอาการไอแห้ง หรือ การไอแบบมีเสมหะใสในผู้ใหญ่ที่มีการไอบ่อยครั้ง ซึ่งสมุนไพร ที่ใช้สำหรับอาการไอนั้น สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. สมุนไพรบรรเทาอาการไอ
สมุนไพรเคลือบเยื่อบุทางเดินหายใจ ที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการระคายเคือง เช่น น้ำผึ้ง มะนาว มะขามป้อม และสมุนไพรที่มีฤทธิ์กดศูนย์ไอในสมอง เช่น ฝิ่น ซึ่งจัดเป็นตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 โดยในร้านยาที่มีการจำหน่ายจะต้องมีเภสัชกร (แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง) เป็นผู้ควบคุมปฏิบัติการอยู่
2. สมุนไพรขับเสมหะ
โดยการนำสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เหง้าขิง ผลดีปลี ดอกกานพลู ผลพริกไทย ต้นกะเพรา หรือ สมุนไพรที่มีกรดอินทรีย์ซึ่งมีรสเปรี้ยว เช่น เนื้อฝักมะขามแก่ น้ำมะนาว ผลมะขามป้อม ผลบ๊วย ผลมะนาวดอง ที่แสดงฤทธิ์ในการบรรเทาอาการไอได้ดี และมีกลไกการออกฤทธิ์อื่น ๆ ได้แก่ ผลมะแว้งเครือ ผลมะแว้งต้น ใบเสนียด เมล็ดเพกา ที่ช่วยทำหน้าที่เคลือบ และป้องกันเยื่อบุทางเดินหายใจจากเสมหะ และสิ่งระคายเคือง ใช้บรรเทาอาการไอแห้ง หรือ การไอแบบมีเสมหะใสในผู้ใหญ่ที่มีการไอบ่อยครั้ง
สมุนไพรแก้ไอ มีอะไรบ้าง
จากข้อมูลที่สาธารณสุขมูลฐานได้กำหนดรายการ สมุนไพรแก้ไอขับเสมหะ ตามบัญชียาจากสมุนไพรในปี พ.ศ. 2555 ไว้ดังนี้
1. มะแว้งต้น (Solanum Indicum) หรือ มะแว้งเครือ (Solanum Trilobatum) มีสารสำคัญได้แก่อัลคาลอยด์ solasodine ใช้ผลแก่ที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงของมะแว้งต้นหรือมะแว้งเครือ จำนวน 10-20 ผล กินแก้ไอ ขับเสมหะ เด็กใช้ 2-3 ผล ตำกวาดคอ
2. มะนาว (Citrus Aurantifolia) มีสารสำคัญคือ Citric Acid ใช้น้ำคั้นผลที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับเกลือเล็กน้อยจิบบ่อย ๆ
3. มะขาม (Tamarindus Indica) มีสารสำคัญในเนื้อฝักมะขามแก่ คือ Tartaric Acid ที่ช่วยบรรเทาอาการไอโดยใช้เนื้อฝักแก่จิ้มเกลือรับประทาน หรือ คั้นน้ำผสมเกลือจิบ
4. มะขามป้อม (Phyllanthus Emblica) ใช้เนื้อผลแก่ 2-3 ผล โขลกพอแหลก จิ้มเกลือเล็กน้อย อมหรือเคี้ยว วันละ 3-4 ครั้ง โดยสารสำคัญในมะขามป้อมได้แก่ วิตามินซี
5. เพกา (Oroxylum Indicum) นำเมล็ดเพกา 1/2-1 กำมือ (1.5-3 กรัม) ต้มน้ำเดือด 2 แก้ว (300 มล.) นาน 1 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง
6. ขิง (Zingiber Officinale) โดยนำเหง้าขิงแก่มาฝนกับน้ำมะนาว หรือขิงสดตำผสมน้ำ และเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือ จิบบ่อยๆ สารสำคัญในเหง้าขิงได้แก่ น้ำมันหอมระเหย เช่น Gingerol และ Zingerone ซึ่งควรระวังการใช้เหง้าขิงในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือ ยากลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากเหง้าขิงอาจมีผลลดน้ำตาลในเลือด
7. ดีปลี (Piper Longum) เป็นพืชสมุนไพรที่มีรสชาติเผ็ดร้อน โดยใช้ผลดีปลีแห้ง 1 ผล ฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอ หรือ จิบบ่อย ๆ บรรเทาอาการไอได้ สารสำคัญในดีปลีได้แก่ Beta-Caryophyllene
สมุนไพรแก้ไอ มีสรรพคุณอย่างไรบ้าง
1. ช่วยบรรเทาอาการไอ พืชสมุนไพรที่มีกรดผลไม้ที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มการหลั่งน้ำลาย จะช่วยบรรเทาอาการไอ ดังนั้น การรับประทานสมุนไพรแก้ไอจะช่วยให้อาการไอดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้ไม่เสี่ยงต่อการอักเสบของลำคอได้อีกด้วย
2. ช่วยละลายเสมหะ เสมหะ หรือ ที่เรียกว่า “เสลด” เกิดจากหลอดลมมีเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมเข้าไป ทำให้ร่างกายเกิดกลไกการป้องกันโดยการหลั่งเสมหะมาเคลือบที่ลำคอ หากรับประทานสมุนไพรแก้ไอแล้วจะช่วยให้ขับเสลดออกมาได้ เพราะสมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์ช่วยละลายเสมหะในลำคอให้ดีขึ้น
3. ลดการอักเสบ ระคายเคืองในช่องคอ การรับประทานสมุนไพรแก้ไอที่ช่วยลดการอักเสบ ระคายเคืองในช่องคอ จะช่วยให้ตัวสมุนไพรเข้าไปทำหน้าที่ในการลดอาการบวม และการอักเสบในลำคอได้
4. ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอ เมื่อมีอาการไอ มีความรู้สึกฝืดคอ คอแห้ง หรือ รู้สึกไม่สบายในลำคอ สมุนไพรแก้ไอสามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในลำคอได้ เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจาก จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับลำคอ มีน้ำหล่อเลี้ยงลำคอได้ดีขึ้น และยังช่วยให้เสียงที่แหบกลับมาเป็นปกติได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพรแก้ไอ รูปแบบต่าง ๆ
ปัจจุบันนิยม สมุนไพรไทย เข้ามาเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรแก้ไอ และยาสมุนไพรละลายเสมหะในรูปแบบต่าง ๆ มากมายซึ่งได้แก่
1. ยาน้ำ สมุนไพรแก้ไอ
ในยาน้ำสมุนไพรแก้ไอส่วนใหญ่แล้วจะมีเมนทอล และสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก โดยที่สมุนไพรจะเข้าไปช่วยเปิดทางเดินหายใจ ทำให้อาการไอลดลง สมุนไพรส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาทำเป็นยาน้ำสมุนไพรละลายเสมหะ แก้ไอซึ่ง ได้แก่ มะขาม ขิง มะนาว ฟ้าทะลายโจร และมะแว้ง เป็นต้น
2. ยาอม สมุนไพรแก้ไอ
ยาอมสมุนไพรแก้ไอเป็นยาที่มาในลักษณะที่มีเหมือนกับลูกอม โดยส่วนใหญ่แล้วยาอมแก้ไอ มักจะมีรสหวานเพื่อช่วยให้สามารถอมได้เรื่อย ๆ แต่ไม่สามารถใช้เพื่อรักษาอาการอักเสบภายในช่องปาก และลำคอได้ เพราะยาอมสมุนไพรส่วนใหญ่จะช่วยลดอาการเจ็บคอ ช่วยให้ชุ่มคอ ซึ่งส่งผลทำให้อาการไอลดลง
3.ยาอัดเม็ด สมุนไพรแก้ไอ
ยาสมุนไพรที่ถูกตอกให้มีรูปร่างแบนกลม วงรี เหลี่ยม หรือ ลักษณะสวยงาม มีลักษณะแข็ง สำหรับรับประทาน สารช่วยต่าง ๆ ในตำรับยาเม็ดสมุนไพร โดยยาเม็ดสมุนไพรถือได้ว่า เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีความคงตัวดีทั้งทางกายภาพ และเคมีรวมไปถึงยังมีความสะดวกในการรับประทาน
ข้อควรระวังการใช้ยาตำรับบรรเทาอาการไอที่มีอยู่ในบัญชียาจาก สมุนไพร พ.ศ. 2555
ตำรับสมุนไพรแก้ไอ | ข้อควรระวัง |
ตำรับที่มีมะขามป้อม | ระวังอาการท้องเสีย |
ตำรับที่มีรากชะเอมเทศ | ระวังการใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง |
ตำรับยาแก้ไอพื้นบ้านอีสาน | ระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือ ผู้ป่วยที่ควบคุมน้ำหนัก |
ตำรับที่มีประสะมะแว้ง | หลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัด ปริมาณเกลือในร่างกาย |
ตำรับยาอำมฤควาที ที่มีส่วนผสมของเกลือแกง | หลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องจำกัด
ปริมาณเกลือในร่างกาย |
ตำรับที่มีส่วนผสมของชะเอม | หากมีการใช้อย่างต่อเนื่อง อาจกดภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย และเกิดแผลในกระเพาะอาหาร |
ตำรับที่มีส่วนผสมของมะขามแขก | อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อล้า ปวดกล้ามเนื้อ |
ตำรับที่มีส่วนผสมของสะระแหน่ | ควรระวังในการใช้กับผู้ป่วย ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง |
ทาน สมุนไพรแก้ไอ อย่างไรให้ถูกวิธี
1. ควรรับประมาณ สมุนไพรแก้ไอ ในปริมาณที่พอเหมาะ
ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป เพราะอาจจะได้รับสารที่มากเกินความจำเป็น และส่งผลเสียต่อร่างกาย รวมไปถึงควรรับประทานตามระยะเวลาที่แพทย์ หรือ เภสัชกรแนะนำ
2. การเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และสารให้ความหวาน ควรเติมในปริมาณที่พอเหมาะ
ควรศึกษาสมุนไพรแต่ละชนิดให้ละเอียด เพราะสมุนไพรบางชนิดอาจจะไม่เหมาะกับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิต
3. สำหรับสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร และสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
สตรีมีครรภ์ และเด็กหากจะรับประทาน สมุนไพรแก้ไอ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพื่อประเมินความเสี่ยงและรับคำแนะนำ ก่อนรับประทานยา
4. ควรเลือกซื้อ สมุนไพรแก้ไอ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และได้มาตรฐานรับรอง
เพราะใน สมุนไพรมักมีสารปนเปื้อน และยาฆ่าแมลง การเลือกซื้อจากแหล่งการซื้อขายที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัยจะทำให้ร่างกายรับประทานเข้าไปโดยไม่เกิดสารตกค้างในร่างกาย
สมุนไพร และตำรับยาสมุนไพร นั้นสามารถออกฤทธิ์ช่วยในการบรรเทาอาการไอ ซึ่งไม่ได้มีผลในการรักษาต้นเหตุของการไอ ดังนั้น การหาวิธีการรักษาที่ต้นเหตุ โดยการพบแพทย์เพื่อรักษาโรค หรือ หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่เป็นสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดการไอ จึงเป็นแนวทางในการรักษาอาการไอที่มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ อาการไอ ถือเป็นหนึ่งใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่สามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่มี สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 400 สาขา ทั่วประเทศ
ที่มา:
สมุนไพรแก้ไอ จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ช่วยบรรเทาการไอ ละลายและขับเสมหะ จาก หมอชาวบ้าน
อาการไอ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การผลิตยาสมุนไพร จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ