รู้เท่าทัน ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเกิดได้กับหลายอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งรบกวนการทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดความเสียหายของอวัยวะต่างๆ และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต

ลิ่มเลือดคืออะไรและเกิดได้อย่างไร

ลิ่มเลือดคือกลไกในการป้องกันตัวของร่างกายเมื่อเกิดบาดแผลทำให้เลือดหยุด จึงป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดเลือด แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้ เมื่อลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นไปอุดตันเส้นเลือดขนาดเล็กที่อวัยวะภายในต่างๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด

  1. การฉีกขาดของเนื้อเยื่อ และบาดแผลที่หลอดเลือดจากการผ่าตัด การบาดเจ็บของกระดูก และอวัยวะภายใน การหลุดลอกของไขมันที่เกาะผนังหลอดเลือด ดังนั้นภาวะไขมันในเลือดสูง จึงจัดเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด

  2. การไหลเวียนของเลือดในร่างกายที่น้อยเกินไป เกิดได้จากทั้งภาวะเลือดหนืด หรือการเคลื่อนไหวของร่างกายที่น้อยเกินไป เช่น การนั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน

  3. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด

  4. โรคบางชนิด เช่น โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง (Autoimmune diseases) ทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดที่มากขึ้น

  5. พันธุกรรม

 

อาการแสดงเมื่อเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน จะมีความแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่มีการอุดตันของลิ่มเลือดดังนี้

ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด – มีอาการเหนื่อย โดยจะเหนื่อยมากขึ้นเมื่อมีการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม

ลิ่มเลือดอุดตันที่ขา – มีอาการขาบวม เป็นตะคริว ชา

ลิ่มเลือดอุดตันที่ท้อง – มีอาการปวดท้องรุนแรง

ลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดสมอง – มีอาการปวดศีรษะรุนแรง อ่อนแรง พูดไม่ชัด อาการเหมือนเป็นอัมพาตครึ่งซีก

ลิ่มเลือดอุตตันที่หัวใจ – มีอาการปวดหน้าอกร้าวมาที่แขน และอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด นำไปสู่การเสียชีวิตได้

 

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังการฉีดวัคซีนโควิด 19

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกิดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Vaccine-induced thrombotic thrombocytopenia, VITT) เกิดจากการฉีดวัคซีนชนิด adenovirus vector ที่พบในประเทศไทยคือยี่ห้อ AstraZeneca โดยการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 อยู่ที่ 3.6 คนต่อการฉีด 1 ล้านคน โดยส่วนมากพบในหญิงอายุน้อยกว่า 55 ปี ซึ่งถือว่ามีอุบัติการณ์การเกิดที่น้อย เมื่อเทียบกับสาเหตุอื่นๆ ในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ถ้าผู้ได้รับวัคซีนมีอาการปวดศีรษะรุนแรงต่อเนื่อง ตาพร่ามัว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดท้องรุนแรงต่อเนื่อง ผิวหนังมีรอยช้ำผิดปกติ หรือมีจุดเลือดออกที่ผิวหนังหลังจากการฉีดวัคซีน ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา

Open this in UX Builder to add and edit content

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก