กัญชา เป็นยาพืช จริงหรือ?

กัญชาเ ป็นยาพืช จริงหรือ?

หลังจากการ ‘ปลดล็อก กัญชา ’ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา หลายคนอาจยังคงตั้งข้อสงสัยถึงคำถามที่ว่า กัญชา เป็นยาพืชจริงหรือ หรือสามารถใช้ในการรักษาทางการแพทย์ได้จริงหรือไม่ วันนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส จะชวนทุกคนมาไขข้อข้องใจ เรื่อง กัญชา กับการรักษาทางการแพทย์กันค่ะ


พืช กัญชา (Cannabis) เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ใบมีลักษณะแฉก ซึ่งในหนึ่งใบมีราว 5-8 แฉก และมีลักษณะเป็นจักๆ ที่ริมใบ ออกดอกตามง่ามกิ่งและก้านของต้น โดยมีสารประกอบ Cannabinoids อยู่จำนวนมาก และมีสาร Tetrahydrocannabinol (THC) ที่เป็นสารสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาท ทั้งนี้ปริมาณของ THC จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น พื้นที่ปลูก สายพันธุ์ วิธีการปลูกและส่วนของต้นที่นำมาใช้ ซึ่งส่วนที่มีปริมาณสาร THC มากที่สุด ได้แก่ ช่อดอก และใบ


พืช กัญชา กับประโยชน์ทางการแพทย์

สารในพืช กัญชา ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ได้แก่ Tetrahydrocannabidiol (THC) และ Cannabidiol (CBD) โดยฤทธิ์ของ THC ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับง่าย ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นความอยากอาหาร และ CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ อาการชักเกร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิด


อาการ/กลุ่มโรคที่สามารถใช้ยา กัญชา ได้

  • อาการคลื่นไส้ อาเจียนของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด

  • โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา

  • ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล

  • ผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่มีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง

  • ผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักน้อย

  • ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองหรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต โดยใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเพียงเท่านั้น


พืช กัญชา กับการรักษาโรคมะเร็ง

จากข้อมูลในระดับหลอดทดลอง พบว่า สารประกอบ Cannabinoids ใน กัญชา หลายชนิด มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ และยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่รวมถึงการกระจายตัว แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าสามารถรักษามะเร็งในมนุษย์ได้ เพียงแต่ยา Dronabinol (Marinol) ที่มีส่วนผสมของ THC สามารถใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด เพื่อป้องกันการอาการคลื่นไส้อาเจียนเท่านั้น


กัญชา เป็นยาพืช จริงหรือ?

#สรุปว่า กัญชา เป็นยาพืชจริงหรือ? คำตอบคือ จริง

แต่ สารสกัด กัญชา ไม่ใช่ทางเลือกแรกสำหรับการรักษา เป็นเพียงขั้นตอนการรักษาเสริมจากการรักษาตามมาตรฐาน ควรเริ่มใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุด แล้วจึงค่อยๆ ปรับเพิ่ม

ทั้งนี้ เอ็กซ์ต้า แนะนำว่า ก่อนการใช้ต้องผ่านการวางแผนการรักษาแพทย์ก่อนเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ยาด้วยตนเอง เช่น วิธีการสูบ หรือนำมาประกอบอาหารนะคะ เนื่องจากความเข้มข้นของปริมาณสารอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ง่วงซึม เฉื่อยชา เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ริมฝีปากแห้ง ความดันโลหิตต่ำ และอาจเกิดความผิดปกติทางจิตอย่างอาการซึมเศร้าได้


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  • go.th. 2022. กัญชาทางการแพทย์. [online] Available at: <https://www.medcannabis.go.th/artical> [Accessed 26 July 2022].

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก