รู้หรือไม่ ? อาหารสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ไม่จำเป็นจะต้องมีรสชาติที่จืดชืดเสมอไป เพียงรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน เเละลดสัดส่วนของน้ำตาล จะช่วยควบคุมปริมาณความหวานได้อย่างคงที่ อีกทั้งยังลดภาวะการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้ บทความนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส ได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ในการเช็กเมนูที่ทาน ว่ามีน้ำตาลอยู่เท่าไหร่ กินอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน มาฝากกันค่ะ
ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวัน นับว่าเป็นสิ่ง สำคัญสำหรับทุกคนในแต่ละช่วงวัย
- สำหรับเด็กและผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 4 ช้อนชา หรือ 16 กรัม ต่อวัน
- สำหรับวัยรุ่น – วัยทำงานไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม ต่อวัน
เคล็ดลับดูแลรักษาสุขภาพให้ห่างไกลเบาหวาน
- หมั่นรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ขนมหวาน และผลไม้ที่มีรสชาติหวานจัด
- ปรุงอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลให้น้อยลง
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ทั้งนี้ : ปริมาณน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานเลือก กินอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน เพื่อเป็นการรักษาเลือกทานได้อย่างเหมาะสม
สามารถเช็กปริมาณน้ำตาล ในเมนูอาหารแต่ละจานในภาพถัดไป
สลัดผักครีมข้น
มีปริมาณน้ำตาล 3 ช้อนชา แม้ว่าสลัดผักจะเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ แต่การรับประทานควบคู่กับน้ำสลัดครีมเข้มข้น ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันพืช มายองเนส มัสตาร์ด และน้ำตาลอาจจะสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
ดังนั้น : สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถรับประทานสลัดผักได้ เพียงแต่ต้องเลือกบริโภคประเภทของน้ำสลัดที่ไม่มีปริมาณน้ำตาลมากเกินไปหรืออาจเลือกเป็นน้ำสลัดใส เช่น น้ำสลัดงาญี่ปุ่น เป็นต้น
ส้มตำไทย
มีปริมาณน้ำตาล 4½ ช้อนชาอาหารรสจัดจ้าน ที่หน้าตาดูน่ารับประทานแต่มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะส้มตำไทยมีการปรุงรสชาติด้วยน้ำตาลปี๊บในปริมาณมาก และยังมีการปรุงรสชาติที่จัดจ้าน
ดังนั้น : ส้มตำไทย จึงเป็นอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยง หรืออาจเลือกรับประทานแบบลดปริมาณการใส่น้ำตาล และลดการปรุงรสเพื่อให้สามารถรับประทานได้ ในปริมาณที่เหมาะสม
ไอศกรีม
1 ถ้วย (55 กรัม) มีปริมาณน้ำตาล 3ช้อนชา แม้ว่าไอศกรีมจะเป็นของหวานที่มีส่วนผสมของนมซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
แต่กระบวนการทำไอศกรีมมีการปรุงแต่งรสชาติต่าง ๆ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำตาลสูงมาก
ดังนั้น : การรับประทานไอศกรีมเป็นการเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถรับประทานได้ เพียงแค่ต้องเลือกรสชาติปริมาณที่ไม่หวานจนเกินไป เช่น ไอศกรีม ที่ไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น
ข้าวหมูแดง
มีปริมาณน้ำตาล 4 ช้อนชาเป็นเมนูอาหารที่ให้พลังงานสูงแก่ร่างกายซึ่งเป็นพลังงานที่สูงเกินไป สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะมีปริมาณน้ำตาล ที่ใช้ในการทำน้ำซอสราดข้าวหมูแดง
ดังนั้น : หากผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องการรับประทานข้าวหมูแดงก็ควรลดปริมาณการใส่น้ำซอสลงให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรรับประทานเป็นประจำ
น้ำหวาน
1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีปริมาณน้ำตาล 6-8 ช้อนชาแม้ว่าน้ำหวานมอบความสดชื่นให้แก่ร่างกายแต่ไม่สามารถสร้างสารอาหารที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ให้แก่ร่างกายได้นอกจากน้ำตาล
ดังนั้น : หากผู้ป่วยเบาหวานบริโภคจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ยกเว้นในกรณีเมื่อผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เวียนหัว
หรือหิวจัด ผู้ป่วยจึงจะสามารถดื่มน้ำหวานในปริมาณไม่เกิน ½ – 1 แก้ว เท่านั้น
หากผู้ป่วยเบาหวานท่านใด กำลังมองตัวช่วยดี ๆ เอ็กซ์ต้า พลัส ขอแนะนำ กลูเซอนา เอสอาร์ อาหารทดแทนหรืออาหารระหว่างมื้อสูตรครบถ้วนผสมใยอาหาร ใช้รับประทานแทนอาหารมื้อหลักหรือระหว่างมื้อเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาล สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดื่มง่าย รสชาติอร่อย
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยาสามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ