อาการไข้เลือดออก เป็นอย่างไร เช็กอาการเสี่ยงภัยร้ายจากยุง

อาการไข้เลือดออก เป็นอย่างไร เช็กอาการเสี่ยง ภัยร้ายจากยุง

อาการไข้เลือดออก ในระยะแรกอาจสร้างความสับสนแก่ผู้ป่วยไม่มากก็น้อย เนื่องจากอาการแสดงเบื้องต้น จะมีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดโดยทั่ว ๆ ไป เช่น การมีไข้สูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ทำให้หลายคนที่ไม่ทราบถึง อาการไข้เลือดออก อาจเข้าใจผิด จนนำไปสู่การเข้ารับการรักษาที่ล่าช้า และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยจนอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ อาการไข้เลือดออก เป็นอย่างไร เช็กอาการเสี่ยงภัยร้ายจากยุง มาฝากกันค่ะ

 

ยุงลายพาหะนำโรคที่ก่อให้เกิด อาการไข้เลือดออก

 

ทำความรู้จักกับโรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) มียุงลาย เป็นพาหะนำโรค โดยยุงลายจะหากินในช่วงเวลากลางวัน ด้วยการดูดเลือดคนเป็นอาหาร โรคนี้มักจะพบได้มากในประเทศเขตร้อน โดยจะมีรายงานการระบาดที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงหน้าฝน และสามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดเพียงในเด็กเล็กเท่านั้น รายงานสถานการณ์ไข้เลือดออกจากกรมควบคุมโรค ช่วงวันที่ 1 มกราคม  – 24 สิงหาคม 2565 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกสะสมสูงถึง 19,380 ราย และมีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคนี้รวมทั้งสิ้น 17 ราย ดังนั้นหากคนในครอบครัวมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด อาการไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที

 

โรคไข้เลือดออกติดต่อกันได้อย่างไร ?

  1. ยุงลายจะดูดเลือดผู้ที่มีเชื้อไวรัสเดงกี ทำให้เชื้อเข้าไปฝังตัวที่ผนังกระเพาะอาหารของยุง
  2. ไวรัสที่อยู่ในกระเพาะอาหารของยุงลาย จะใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 7 – 14 วัน เมื่อเชื้อมีจำนวนมากขึ้นจะเดินทางออกจากกระเพาะอาหารไปยังต่อมน้ำลายของยุง
  3. เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสในต่อมน้ำลาย ไปกัดคนก็จะทำให้ผู้ที่โดนยุงกัดติดเชื้อไวรัสเดงกีได้ และส่งผลให้เป็นโรคไข้เลือดออก โดยจะมีอาการหลังโดนกัดประมาณ 3 – 15 วัน
  4. ก่อให้เกิดวงจรการระบาดของโรค หากมียุงลายตัวอื่นเข้ามาดูดเลือดของผู้ป่วยไข้เลือดออก และไปกัดผู้อื่นต่อ จะส่งผลให้เชื้อไวรัสแพร่ระบาดออกไปได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

 

เราจะสังเกต อาการไข้เลือดออก ได้อย่างไร

สามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ ดังนี้

 

เมื่อมี อาการไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์ทันที

 

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ปวดหัวรุนแรง
  • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ
  • ปวดกระบอกตา
  • ตาแดง
  • มีผื่นแดงขึ้นบริเวณผิวหนัง
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาจท้องผูกหรือ ท้องเสีย และอาจถ่ายเป็นสีดำ
  • ปวดท้องบริเวณชายโครงขวา
  • หากมีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการเลือดออกผิดปกติตามร่างกาย เช่น เลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกที่เยื่อบุคอ หรือเลือดกำเดาไหล เป็นต้น

หากพบว่ามีอาการส่วนใหญ่ตรงกับที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโดยทันที

 

อาการไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

ระยะไข้

อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกระยะนี้จะมีไข้สูงตลอดเวลา มักจะไม่ค่อยตอบสนองต่อยาลดไข้ ซึ่งอาจมีอาการเบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามตัว ร่วมด้วย โดยระยะไข้นั้นจะใช้เวลาประมาณ 2 – 7 วัน

ระยะวิกฤติ

ในระยะนี้ไข้จะลดต่ำลง ผู้ที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน อาการไข้เลือดออกที่เป็นอยู่จะค่อย ๆ ดีขึ้น ส่วนกรณีผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อนเลือดออกตามร่างกาย อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนจะยังไม่ดีขึ้น ซึ่งหากอาการรุนแรง อาจส่งผลให้เกิดภาวะช็อก ความดันต่ำ มือเท้าเย็นลง ชีพจรเต้นเบา (Weak Pulse) และเร็ว ปัสสาวะออกน้อย เลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง ดังนั้นหากพบผู้มีอาการไข้เลือดออกเกิน 2 วันควรรีบนำตัวส่งแพทย์ทันที !

ระยะฟื้นตัว

ระยะนี้อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกจะค่อย ๆ ดีขึ้น มีความรู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจะค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้นจนเข้าสู่สภาวะปกติ ชีพจรเต้นแรง (Bounding Pulse) และช้าลง บางรายอาจยังมีผื่นแดง และจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามตัว

 

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง อาการไข้เลือดออก ไข้หวัดทั่วไป และไข้หวัดใหญ่

เนื่องจากอาการแสดงของไข้หวัดทั่วไป ไข้หวัดใหญ่ และไข้เลือดออก บางอาการจะมีความคล้ายคลึงกันทำให้หลายท่านอาจเกิดความสับสน โดยทั้ง 3 อาการจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

อาการแสดง  อาการไข้เลือดออก  อาการไข้หวัดทั่วไป  อาการไข้หวัดใหญ่ 
มีไข้  ไข้สูงกว่า 38° C 2 – 7 วันและลดลงอย่างรวดเร็ว  มีไข้แต่จะทุเลาลงใน 3 – 4 วัน  มีไข้สูงต่อเนื่อง หลายวัน และมีอาการหนาวสั่น 
ปวดเมื่อย 
  • ปวดเมื่อยตามตัว 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และข้อต่อ  
  • ปวดกระบอกตา  
  • กดเจ็บบริเวณชายโครงขวา 
  • ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อย  
  • มีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย  
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  • ปวดศีรษะ  
  • ไม่มีแรง 
เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ  อาจเกิดขึ้นได้ในบางราย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่พบอาการ  มีอาการเล็กน้อย จะดีขึ้นใน 3 – 4 วัน  ไอจากหลอดลมอักเสบ  
หายใจไม่สะดวก    อาจหายใจไม่สะดวกจากน้ำมูกอุดตัน  พบได้ในกลุ่มเสี่ยง 
เบื่ออาหาร       
คลื่นไส้ อาเจียน  อาจพบได้ในบางราย    อาจพบได้ในบางราย 
ท้องเสีย  อาจท้องผูก 

ท้องเสีย หรืออาจถ่ายเป็นสีดำ 

  พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ 
ผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง       
เลือดออกตามผิวหนัง       

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอาการไข้เลือดออก, ไข้หวัดทั่วไป และไข้หวัดใหญ่
ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ข้อควรปฏิบัติหากมี อาการไข้เลือดออก

หากพบว่าตนเอง หรือคนรอบข้างมีอาการไข้เลือดออก ควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เนื่องจากในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังไม่มีวัคซีน หรือยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคนี้ที่มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสได้ดีพอ แพทย์จึงจะทำการรักษาไปตามอาการของผู้ป่วย และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พ้นช่วงวิกฤติ ที่อาจเสี่ยงต่อการมีเลือดออกตามอวัยวะ นอกจากนี้แพทย์จะรักษาผู้ป่วยตามอาการ เมื่ออาการดีขึ้นจึงจะได้รับการอนุญาตให้กลับไปรักษาตัวเองต่อที่บ้านได้จนกว่าจะหายดีนั่นเอง

 

เช็ก อาการไข้เลือดออก

 

แนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มี อาการไข้เลือดออก

ผู้ป่วยไข้เลือดออก ที่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์มารักษาตัวที่บ้าน มีแนวทางการดูแลรักษา ดังนี้

  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ และทานอาหารให้เพียงพอ แนะนำให้ทานอาหารอ่อน ๆ และดื่มน้ำบ่อย ๆ โดยสังเกตจากปัสสาวะของผู้ป่วย หากเป็นสีเหลืองเข้ม หรือสีชา แสดงถึงร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรือจิบน้ำเกลือแร่ระหว่างวัน
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีแดง ดำ หรือน้ำตาล เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างสีของอาหาร หรืออาการเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
  • ลดไข้ด้วยยาพาราเซตามอล เมื่อผู้ป่วยมีไข้สูง ควรให้ผู้ป่วยทานยาตามแพทย์สั่ง หรือให้ทานยาลดไข้ด้วยพาราเซตามอลเท่านั้นโดยต้องระวังไม่ให้ทานมากจนเกินไป เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงจากการทานยาเกินขนาดได้นั่นเอง
  • ห้ามทานยากลุ่ม NSAID เด็ดขาด เช่นยา แอสไพริน ไอบรูโพรเฟน เนื่องจากยากลุ่ม NSAID (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs) อาจทำให้เกล็ดเลือดเสียการทำงาน เป็นสาเหตุให้เลือดออกง่ายมากขึ้นนั่นเอง
  • ในช่วงนี้อาจต้องระวังไม่ให้ผู้ป่วยถูกยุงกัด เนื่องจากยุงจะนำเชื้อไวรัสไปแพร่ต่อผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว
  • หมั่นสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หากเริ่ม มีภาวะเลือดออกที่รุนแรง มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาเร็ว อาเจียนมาก ทานอาหาร และน้ำไม่ได้ ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลียมาก ซึม มึน งง สับสน ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

 

อาการไข้เลือดออก ป้องกันตัวเองอย่างไร

อาการไข้เลือดออก อาจเกิดขึ้นได้จากการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการถูกพาหะนำโรคอย่างยุงลายกัด เพื่อป้องกันตัวเองให้ห่างไกลต่อความเสี่ยงในการได้รับเชื้อไวรัส สามารถป้องกันตนเองได้ ดังนี้

1. ป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด

  • สวมเสื้อผ้าที่ปกคลุมร่างกายมิดชิด อย่างเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว
  • กางมุ้งนอนเพื่อป้องกันยุงกัดขณะหลับ
  • ไม่นั่งอยู่ในมุมมืด เนื่องจากจะเป็นที่ยุงชุม และอาจถูกกัดได้โดยไม่รู้ตัว
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันยุง เช่น ยาที่ใช้สำหรับจุดไล่ยุง ครีมทาผิวเพื่อไล่ยุง หรือสติกเกอร์สมุนไพรไล่ยุง

2. กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย

  • ปิดภาชนะเก็บน้ำ อย่าง อ่างน้ำ ถังรองน้ำ ฯลฯ ด้วยฝา หรือ ผ้าไนลอน ให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงมาวางไข่
  • เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ และเทน้ำขังออกจากถาดรองกระถางต้นไม้เป็นประจำ
  • ปิด คว่ำ หรือทำลายวัสดุรอบ ๆ ตัวบ้าน ที่น้ำอาจเข้าไปขังได้ เช่น ขวด กระป๋องเปล่า ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้งานแล้ว

3. ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจุบันวัคซีนสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ทั้งนี้วัคซีนจะป้องกันได้ดีในผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกีมาแล้วเท่านั้น จึงแนะนำให้ตรวจเลือด และปรึกษาแพทย์ก่อนทำการฉีดวัคซีน

 

ที่มา

ไข้เลือดออกภัยจากยุงลาย จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์
ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค จาก กรมควบคุมโรค
“โรคไข้เลือดออก”อันตรายจากยุงลาย วายร้ายตัวจิ๋ว จาก คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก