อาการโรคไตเริ่มแรก หากพูดถึงสัญญาณเตือนในช่วงเริ่มต้นของผู้ป่วย มักจะไม่พบร่องรอยของโรคดังกล่าวอย่างชัดเจน โดยจะปรากฏในช่วงระยะท้ายที่ไตเกิดความเสียหาย หรือ เสื่อมสภาพไปแล้ว ซึ่งหากไม่ทันสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หรือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ทานอาหารรสจัด บริโภคอาหารแปรรูปเป็นประจำ ฯลฯ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต หรือเกิดภาวะไตวายได้
บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับอาการแบบนี้ คุณกำลังเสี่ยงโรคไตเริ่มแรกอยู่หรือเปล่า ? มาฝากกัน
ทำความรู้จักกับ อาการโรคไตเริ่มแรก และสัญญาณเตือนต่าง ๆ ให้มากขึ้น
โรคไต คือ ภาวะที่ไตถูกทำลายจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารรสจัด ของหมักดอง ดื่มน้ำน้อย หรือบริโภคอาหารแปรรูปเป็นประจำ เป็นต้น ทำให้ “ไต” ซึ่งทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จนส่งผลกระทบต่อการรักษาสมดุลของเหลวต่าง ๆ การควบคุมน้ำหรือแร่ธาตุ รวมถึงการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย เป็นต้น
โดย “อาการของโรคไต” มักจะมีหลายชื่อให้เรียกตามอาการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาวะไตวาย ไตเสื่อม หรือไตทำงานลดลง ซึ่งปัจจุบันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- โรคไตเฉียบพลัน มักเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ หากปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม และสามารถแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว
- โรคไตเรื้อรัง จะเกิดอาการในระยะเวลาเกิน 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาด หรืออาจเข้าสู่ระยะสุดท้าย ที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต เช่น ฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง หรือรักษาด้วยการปลูกถ่ายไต เป็นต้น
ดังนั้น การหมั่นสังเกตอาการของโรคไตในช่วงเริ่มแรก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิด “โรคไต” และเข้ารับการรักษาอย่างเร็วที่สุด ซึ่งอาการของโรคไต หรือสัญญาณระยะเริ่มแรก มีดังต่อไปนี้
ลักษณะอาการของโรคไต หรือสัญญาณเตือนระยะเริ่มแรก
1. อาการบวม หน้าบวม ขาบวม
โดยเกิดจากไตไม่สามารถขับน้ำ หรือเกลือได้ปกติ จนเกิดการคั่งของน้ำและเกลือ ทำให้มีอาการบวมตามร่างกายเกิดขึ้น เช่น ใบหน้า เท้า และขา เป็นต้น
2. ปัสสาวะเริ่มมีฟอง
เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นอาการเตือนของภาวะโรคไตเรื้อรัง โดยสามารถสังเกตได้เวลามีการถ่ายปัสสาวะแล้วเกิดฟองขึ้น
3. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ
ในช่วงที่เรานอนหลับ ไตจะมีหน้าที่ดูดน้ำกลับ ทำให้มีปริมาณปัสสาวะลดลง หรือถูกเก็บไว้ใน กระเพาะปัสสาวะ โดยปกติจะลุกขึ้นมาปัสสาวะอย่างน้อย 1-2 ครั้ง แต่หากไตมีความผิดปกติ จะทำให้ผู้ป่วยมีการลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืนราวประมาณ 4-5 ครั้งต่อคืนนั่นเอง
4. รู้สึกปวดเอว และหลัง
หากมีอาการปวดบริเวณ เอว หรือหลัง ที่เป็นตำแหน่งของไต อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคไตเริ่มแรกได้ ซึ่งหากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือรู้สึกปวดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ควรรีบเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับการรักษาโดยทันที
5. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และน้ำหนักลง
โดยหากเริ่มมีสัญญาณเตือนเหล่านี้ อาจบ่งบอกได้ว่าร่างกายของเรานั้นเกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานของไตที่ผิดปกติ ดังนั้นควรไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง
ดังนั้น หากเริ่มมีอาการโรคไตเริ่มแรกเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอย่างเร็วที่สุด และสามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบว่าเป็น “โรคไตแบบเฉียบพลัน” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย
ใครบ้างที่เสี่ยงมีอาการโรคไตเริ่มแรก ?
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
- ผู้ที่มีโรคเบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดสูง
- ผู้ที่มีครอบครัวเป็นโรคไต
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
- ผู้สูบบุหรี่
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่ทานยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาแก้ปวด NSAIDs
การวินิจฉัยอาการโรคไต ระยะเริ่มแรก
ปัจจุบันอาการโรคไตเริ่มแรก มักจะยังไม่แสดงอาการผิดปกติแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่รู้ตัว จนกระทั่งมีอาการแย่ลง ซึ่งวิธีป้องกันของอาการโรคระยะเริ่มแรกที่ได้ผลดีที่สุด คือ การตรวจสุขภาพประจำปีกับแพทย์เฉพาะทาง
โดยจะมีการตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองโรค เช่น ตรวจปัสสาวะ, ตรวจเลือดดูการทำงานของไต, ระดับเกลือแร่, ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ, ตรวจอัลตราซาวนด์ดูลักษณะของไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
ดูแลตัวเองอย่างไร ไม่ให้เสี่ยงเกิดโรคไตระยะเริ่มแรก ?
- งดทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ของหมักดอง ขนมขบเคี้ยว อาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูป ฯลฯ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยไม่มากจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไต หรือ อาการโรคไตเริ่มแรก
- ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง โดยตัวยาบางชนิด หากรับประทานอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดโรคไตตามมา เช่น กลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDs), กลุ่มยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อบางชนิด รวมถึงยาสมุนไพรต่าง ๆ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
- งดสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันความดันโลหิตผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของไต
- หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เพื่อให้เราได้ทราบข้อมูลด้านสุขภาพมากขึ้น และป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไต
สรุป
อาการโรคไตเริ่มแรก แม้ช่วงเริ่มต้นจะยังไม่แสดงอาการอย่างแน่ชัด เช่น อาการบวมตามร่างกาย ปัสสาวะเริ่มมีฟอง ปวดเอว เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลีย ฯลฯ หากปล่อยทิ้งไว้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไตแบบเรื้อรังได้ ดังนั้น ควรไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรคไต และวางแผนดูแลรักษาสุขภาพร่างกายอย่างถูกต้อง
ที่มา:
สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง ! จาก โรงพยาบาลรามาธิบดี
ไตวายเฉียบพลันแบบไม่ทันตั้งตัว จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
Chronic Kidney Disease จาก Mayo Clinic
Kidney Health and Kidney Disease Basics จาก Healthline
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง