เริ่มเดือนพฤศจิกายน อีกหนึ่งเทศกาลที่หลาย ๆ คนตั้งตารอ คือ เทศกาลลอยกระทง ซึ่งมาพร้อมกับข้อมูลที่น่าสนใจจากกรมอนามัยว่า วันลอยกระทง ถือเป็นอีกหนึ่งวันที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน เสี่ยงต่อการติดโรคในระบบสืบพันธุ์และการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม การใช้ถุงยางอนามัยและการ คุมกำเนิด ที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้
บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับ 5 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการ คุมกำเนิด และการใช้ยาคุมกำเนิด ค่ะ
Question 1: ใช้วิธีการหลั่งนอกแทนการ คุมกำเนิด ได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ เนื่องจากการหลั่งนอกไม่ถือว่าเป็นการคุมกำเนิด เนื่องจากยังคงมีการสัมผัสสารคัดหลั่งระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงทั้งการตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่พร้อมและการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรเลือกใช้การ คุมกำเนิด ที่เหมาะสม เช่น การใช้ถุงยางอนามัยที่สามารถป้องกันทั้งการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ ได้ หรือการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่เหมาะสม
Question 2: การนับระยะปลอดภัย จัดว่าเป็นการคุมกำเนิด ที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ ?
ไม่ใช่ เนื่องจากการนับระยะปลอดภัย หรือที่รู้จักกันว่า หน้า 7 หลัง 7 คือการคาดการณ์วันไข่ตก เป็นการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงวันไข่ตก ที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูง โดย 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือนถือว่าเป็นวันที่ปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ แต่วิธีการนี้จะใช้ได้ผลเฉพาะกับผู้ที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอเท่านั้น ทั้งนี้ มีปัจจัยหลากหลายที่ส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมน ทั้งความเครียด ยา โรคต่าง ๆ ที่จะส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ดังนั้น การนับระยะปลอดภัยจึงไม่ใช่วิธีการ คุมกำเนิด ที่แนะนำ และควรใช้การคุมกำเนิดโดยวิธีอื่นที่เหมาะสมแทน
Question 3: สามารถใช้ยาคุมกำเนิด ฉุกเฉินเป็นประจำ แทนยาคุมกำเนิด ที่ต้องทานอย่างสม่ำเสมอ ได้หรือไม่ ?
ไม่ได้ เนื่องจากยา คุมกำเนิด ฉุกเฉิน มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำกว่ายาคุมกำเนิดชนิดรับประทานอย่างสม่ำเสมอ โดยประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับความเร็วในการรับประทานยาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยหากรับประทานยา คุมกำเนิด ฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 85% แต่หากรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลงเหลือเพียงแค่ 75% นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินยังมีผลข้างเคียงสูง เมื่อเทียบกับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งผลข้างเคียงที่เจอ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ เลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนผิดปกติ และถ้าหากรับประทานเป็นประจำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกได้
ดังนั้น ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จะแนะนำให้ใช้เฉพาะเมื่อเกิดความล้มเหลวจากการ คุมกำเนิด ปกติ เช่น ถุงยางอนามัยแตก ห่วงคุมกำเนิดหรือยาฝังคุมกำเนิดหลุด หรือกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น
Question 4: สามารถเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดในช่วงไหนของเดือนก็ได้ ใช่หรือไม่ ?
ไม่ใช่ เนื่องจากเพื่อให้การใช้ยา คุมกำเนิด มีประสิทธิภาพมากที่สุด การเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดที่ถูกต้องควรเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือไม่เกินวันที่ 5 หลังจากมีประจำเดือน นอกจากนี้ ควรรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อรักษาระดับของยาคุมกำเนิดในร่างกายให้สม่ำเสมอ เพื่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงสุด
Question 5: ยาคุมกำเนิด ชนิด 21 หรือ 28 เม็ดแบบไหนคุมกำเนิดได้ดีกว่ากัน ?
ประสิทธิภาพของยา คุมกำเนิด ชนิด 21 และ 28 เม็ดมีเท่ากัน โดยชนิด 21 เม็ด จะประกอบด้วยเม็ดฮอร์โมนทั้ง 21 เม็ด ให้รับประทานทุกวันติดต่อกัน 21 วัน และเว้น 7 วัน ไม่ต้องรับประทานยา แล้วจึงเริ่มแผงใหม่โดยระหว่างที่เว้น 7 วัน จะมีประจำเดือนมา ในขณะที่ชนิด 28 เม็ด จะมีฮอร์โมน 21 เม็ด และเม็ดแป้งหรือวิตามิน 7 เม็ด โดยรับประทานทุกวัน ในช่วงที่ทานเม็ดแป้งหรือวิตามินจะมีประจำเดือนมา
ดังนั้น การเลือกชนิด 21 หรือ 28 เม็ดแล้วแต่ความสะดวกของผู้รับประทาน ถ้าหากกลัวจะลืมทานยาแผงใหม่หลังจากเว้น 7 วันแนะนำให้เลือกชนิด 28 เม็ดเพื่อป้องกันการลืม
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง การคุมกำเนิด ที่มีประสิทธิภาพ ดีต่อสุขภาพ ดีต่อรูปร่าง ดีต่อผิวพรรณ ไม่ให้ พลาดตั้งครรภ์ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/419
- https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=4462