ท้องผูกเรื้อรัง ปล่อยไว้นานไม่ดีแน่ พร้อมวิธีแก้อย่างปลอดภัย

ท้องผูกเรื้อรัง คืออาการท้องผูกที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะทำให้อุจจาระได้ลำบาก หากปล่อยไว้นาน อาจนำพามาซึ่งโรคทางระบบลำไส้ได้ เอ็กซ์ต้า พลัส จึงรวบรวมวิธีป้องกันและวิธีแก้อาการ ท้องผูกเรื้อรัง กันค่ะ


อาการ ท้องผูกเรื้อรัง (Constipation)

หมายถึง อาการที่ผู้ป่วยมีการถ่ายอุจจาระลำบาก อุจจาระมีลักษณะแข็ง หรือเป็นลำเล็กลง จำนวนความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์  พบได้ทุกเพศและทุกวัย พบมากในผู้สูงอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอาการท้องผูก หากแบ่งตามระยะเวลาที่มีอาการ อาจแบ่งเป็นท้องผูกเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการน้อยกว่า 3 เดือน และท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งมีอาการนานกว่า 3 เดือน


สาเหตุของการเกิดอาการ ท้องผูกเรื้อรัง

อาการท้องผูกเรื้อรัง เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่มักพบมากที่สุด คือ เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่ปัจจุบันคนมักจะบริโภคผักผลไม้น้อยลง ซึ่งทำให้ได้รับใยอาหาร หรือไฟเบอร์ไม่เพียงพอที่จะเพิ่มมวลอุจจาระในลำไส้ใหญ่และกระตุ้นให้เกิดการขับถ่าย

 

รวมถึงอีกหนึ่งสาเหตุที่มักพบคู่กันคือ การดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการต่อวัน ทำให้อุจจาระแห้ง แข็ง ไม่อ่อนนุ่ม ยากต่อการขับถ่าย และอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดเวลาขับถ่าย เกิดแผลบริเวณหูรูด อาจก่อให้เกิดริดสีดวงทวารได้ นอกจากนี้สาเหตุอื่น ๆ ที่พบว่าก่อให้เกิดอาการท้องผูก เช่น การไม่ออกกำลังกาย หรือการขยับร่างกายน้อย การกลั้นไม่ยอมขับถ่ายเมื่อรู้สึกอยากถ่าย และการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดกรดที่มีแคลเซียมและอะลูมิเนียม รวมถึงอาการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ เบาหวาน ภาวะซึมเศร้า ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก รวมถึงภาวะตั้งครรภ์ด้วย


ท้องผูกเรื้อรัง

 

การป้องกันท้องผูกและการดูแลตนเองเบื้องต้น

  1. รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์สูง เช่น มะละกอสุก กล้วยสุก สับปะรด เมล็ดธัญพืช รำข้าวสาลี พร้อมทั้งดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อย่างน้อย 5-2 ลิตรต่อวัน

  2. การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอและเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ จะช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการท้องอืดได้อีกด้วย

  3. ไม่กลั้นอุจจาระ หากรู้สึกอยากถ่าย เนื่องจากอาจซ้ำเติมอาการท้องผูกให้เป็นมากขึ้น

  4. ทำจิตใจให้สบาย ลดความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งส่งผลให้ทางเดินอาหารทำงานได้ดีตามปกติ

  5. การใช้ยาระบาย โดยกลุ่มยาระบายที่มีความปลอดภัยสูง หากใช้อย่างถูกวิธี คือ กลุ่มไฟเบอร์ โดยจะช่วยในการเพิ่มปริมาณอุจจาระ ทำให้อุจจาระนุ่ม กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อุจจาระเคลื่อนที่ผ่านลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แต่ต้องใช้เวลาในการออกฤทธิ์ และดื่มน้ำให้เพียงพอ เหมาะกับอาการท้องผูกไม่รุนแรง ซึ่งยาระบายแต่ละชนิดจะมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกัน และบางชนิดไม่แนะนำให้ใช้ต่อเนื่อง แนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรเพื่อให้ได้รับตัวยาระบายที่เหมาะสม


ทั้งนี้หากมีอาการ ท้องผูกเรื้อรัง ร่วมกับมีลักษณะหรืออาการเตือนเหล่านี้ ได้แก่ มีอาการซีดจากขาดธาตุเหล็ก ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ท้องผูกจนมีอาการของลำไส้อุดตัน (ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน) หรือท้องผูกรบกวนมาก รับประทานยาระบายแล้วไม่ได้ผล แนะนำให้ผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไป


หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See
  1. รศ.นพ. สุเทพ กลชาญวิทย์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ท้องผูก (Constipation). Retrieved on October 4, 2022 from chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://thaimotility.or.th/files/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B8%81.pdf
  2. รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ท้องผูกและการใช้ยาระบาย. Retrieved on October 4, 2022 from https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/593/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B8%81/

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อสงสัยโควิด ความรู้ด้านสุขภาพ สินค้าสุขภาพ สูงวัย ยังเก๋า

หยุดยาวนี้อุ่นใจไปกับเอ็กซ์ต้า เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

เที่ยวภาคไหน ต้องเตรียมอะไรไปบ้าง หลายคนเมื่อถึงวันที่ต้องเดินทางไปเที่ยว มักจะลืมของสำคัญ หรือ ไอเทมจำเป็น ที่ต้องใช้ในการเดินทางซึ่งอาจทำให้การไปทริปในแต่ละครั้งรู้สึกติดขัด หรือ ไม่สนุกสนานเท่าที่ควรหยุดยาวนี้ให้คุณได้ท่องเที่ยวอย่างอุ่นใจ บทความนี้ เอ็กซ์ต้า พลัส ได้รวบรวมสิ่งของที่จำเป็นเมื่อต้องเดินทางไปเที่ยว ว่าในแต่ละภาคต้อง เตรียมอะไรไปบ้างมาฝากทุกคนกันค่ะ

ข้อสงสัยโควิด

สิ่งที่ควรทำและควรหลีกเลี่ยง เมื่อเป็น Long COVID

Long COVID อาการที่ยังคงหลงเหลือไว้ แม้จะหายป่วย แต่ไม่หายไป ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิต หรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ จึงควรดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย

ข้อสงสัยโควิด

อาการไอแบบไหน ที่ใช่โควิด

ไอค๊อกไอแค๊ก นี่ฉันติดโควิดหรือยังนะ จริงอยู่ที่ อาการไอ เป็นหนึ่งในอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 หรือโควิด 19 แต่!

ข้อสงสัยโควิด ยาและอาหารเสริม สุขภาพแต่ละช่วงวัย สูงวัย ยังเก๋า โภชนาการ

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid

อาหารทางการแพทย์ กับ ผู้ป่วย Long Covid ลองโควิด (Long Covid) คือ ภาวะของคนที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่ยังต้องเผชิญกับอาการที่หลงเหลืออยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการลองโควิดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30 –

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธีเตรียมพร้อมก่อนวิ่งมาราธอน

สิ่งแรกที่ควรระลึกไว้เสมอ ก่อนจะไปร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอน คือ เราต้องรู้ก่อนว่าร่างกายของเราพร้อมหรือ มีความฟิตพอที่จะวิ่งมาราธอนได้หรือไม่ และคำนึงถึงความปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับมาตรการหลักเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ร่วมกิจกรรมต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ (Covid-19) แบบ ATK พร้อมแสดงผลตรวจไม่เกิน 72 ชั่วโมงนะคะ

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

วิธี เลิกบุหรี่ ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้เห็นผล

วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ซึ่งเป็นหนึ่งในวันดี สำหรับใครที่ต้องการ เลิกบุหรี่ จะนับวันนี้เป็นวันที่ 1 ในการ เลิกบุหรี่ ซึ่งมีข้อมูลในปี 2564 พบว่า

ข้อสงสัยโควิด สุขภาพแต่ละช่วงวัย

โควิด-19 ยังคงระบาด อย่านิ่งนอนใจ สงสัยเมื่อไหร่ ตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจด้วยตนเอง Antigen Test Kit

ถึงแม้เราจะอยู่กับ โควิด-19 มาเกือบสองปีแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเราจะยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของ โรคได้ แถมยังมีสายพันธ์ใหม่ๆ เกิดเพิ่มขึ้นมาอีกตลอดเวลา

ข้อสงสัยโควิด

ปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นี่เราเป็นไข้ หรือ ติดเชื้อ โอไมครอน ?

โอไมครอน เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำเอาใครต่อใครหลายคนกังวลไปตามๆ กัน ว่าอาการปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ที่กำลังเป็นนี้หรือเปล่าที่มาจากการติดเชื้อ โอมิครอน วันนี้เอ็กซ์ต้า พลัส จึงจะพาทุกคนมีไข้ข้อข้องใจของเชื้อไวรัสนี้กันค่ะ ทำความรู้จัก โอไมครอน เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ คืออะไร?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

บันทึก