ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS ไวรัส RSV อาการต่างกันอย่างไร ?

ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS ไวรัส RSV อาการต่างกันอย่างไร ?

อาการป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายโรค เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งมักมีอาการที่คล้ายกัน แต่ความรุนแรง และการรักษาอาจแตกต่างกันไป

  

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ “ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS ไวรัส RSV อาการต่างกันอย่างไร?” มาฝากกัน เพื่อช่วยให้เข้าใจความแตกต่างของแต่ละโรค และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง  

 

ความแตกต่างระหว่าง ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และไวรัส RSV

 

Alt: ความแตกต่างระหว่างไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และไวรัส RSV

ไข้หวัด 

ไข้หวัด (Common Cold) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Respiratory Tract: URI) ซึ่งเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจที่อยู่เหนือกล่องเสียงขึ้นไป ได้แก่ จมูก คอหอย เป็นต้น โดยไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดมีมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ไวรัสที่พบบ่อยที่สุดคือ ไวรัส Rhinovirus หรือไวรัส Adenovirus อาการของไข้หวัดมักไม่รุนแรง และหายได้เองภายใน 5-7 วัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่
 

  • คัดจมูก หรือน้ำมูกไหล โดยส่วนมากมักเป็นน้ำมูกใส 
  • เจ็บคอ รู้สึกระคายคอเวลากลืน 
  • ไอแบบมีเสมหะ 
  • จาม 
  • ปวดหัวเล็กน้อย 
  • บางครั้งอาจมีไข้ต่ำ

 

การรักษาไข้หวัด 

ควรพักผ่อนให้มาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ และใช้ยารักษาอาการไข้หวัด เช่น ยาแก้ไข้ ยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้ ยาแก้ปวดทั่วไป รวมไปถึงยาละลายเสมหะหรือยาขับเสมหะเพื่อบรรเทาอาการไอ นอกจากนี้ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่มีผลต่อการติดเชื้อไวรัส โรคภูมิแพ้ จึงไม่ช่วยรักษาโรคติดเชื้อไวรัส 

 

ไข้หวัดใหญ่ 

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม Influenza ซึ่งมี 3 ชนิดหลัก คือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A, B และ C แต่ที่พบบ่อยคือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ B ไข้หวัดใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาการที่พบบ่อย ได้แก่ 

  

  • มีไข้สูงกว่า 38.5°C 
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และข้อต่อ 
  • หนาวสั่น 
  • อ่อนเพลีย 
  • ไอแห้ง และเจ็บคอ 
  • น้ำมูกไหลเล็กน้อย

 

การรักษาไข้หวัดใหญ่ 

หากมีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ไม่รุนแรงสามารถรักษาตามอาการได้ เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง และรับประทานยาพาราเซตามอลตามขนาดที่เหมาะสม เมื่อมีน้ำมูก ให้ทานยาลดน้ำมูก พร้อมกับยาละลายเสมหะ หมั่นสังเกตอาการเป็นระยะ หากมีอาการหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก หรืออาการรุนแรงอื่น ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที  

 

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือเด็กเล็ก หากมีไข้สูง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาต้านไวรัสโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 

 

ไวรัส RSV 

ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน และส่วนล่าง มีลักษณะอาการคล้ายไข้หวัด มักเกิดในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ โดยมีอาการที่พบบ่อย ได้แก่ 

 

  • น้ำมูกไหล และคัดจมูก 
  • ไอแบบมีเสมหะ ลักษณะข้นเหนียวออกมาจำนวนมาก 
  • หายใจหอบเหนื่อย 
  • อาจมีไข้ต่ำ 

 

บางกรณี ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นโรคปอด อาจพบอาการรุนแรงร่วมด้วย เช่น ปอดบวม หรือหลอดลมอักเสบ 

 

ในผู้ป่วยเด็กเล็กหรือทารก สามารถสังเกตได้ว่า หากมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งเป็นลักษณะที่บ่งถึงอาการหลอดลมตีบ หลอดลมฝอยอักเสบ และอาจทำให้เกิดอาการปอดอักเสบได้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และรับการรักษาโดยเร็ว

 

การรักษาไวรัส RSV 

ปัจจุบันไวรัส RSV ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโดยตรง จึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้หวัดหรือเช็ดตัวลดไข้ ให้ยาละลายเสมหะลดอาการไอ ยาลดน้ำมูก ยาขยายหลอดลม อาจมีการใช้น้ำเกลือในการล้างจมูก หรือหยอดเข้าจมูกเพื่อให้น้ำมูกลดความเหนียวข้น ในเด็กบางรายที่ไม่สามารถคายเสมหะเองได้ ต้องใช้การเคาะปอด และดูดเสมหะโดยแพทย์  

 

ดังนั้นในภาพรวม ไข้หวัดมักมีอาการที่ไม่รุนแรงและหายได้เอง ในขณะที่ไข้หวัดใหญ่มีอาการที่รุนแรงกว่าและอาจต้องการการรักษาจากแพทย์ ส่วนไวรัส RSV เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า 

 

การป้องกัน ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และไวรัส RSV

 

การป้องกันไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และไวรัส RSV

 

วิธีป้องกัน ไข้หวัด 

ไข้หวัดสามารถป้องกันได้ด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัส ดังนี้ 

  

  1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ และน้ำสะอาดนาน 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60% เพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคบนมือที่อาจติดจากการสัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะ
  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า บริเวณจมูก ปาก หรือดวงตา หลังจากสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อโรคอยู่ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ราวจับรถโดยสาร เป็นต้น เพราะอาจทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
  1. รักษาระยะห่างจากผู้ป่วยไข้หวัดอย่างน้อย 1-2 เมตร เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากการไอหรือจาม
  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผลไม้สด ส้ม ฝรั่ง ผักสีเขียว ผักคะน้า บรอกโคลี เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย และควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น
  1. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับให้ได้ 7-8 ชั่วโมง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น

 

วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ 

ไข้หวัดใหญ่มีวิธีป้องกันที่คล้ายกับไข้หวัด แต่มีความจำเพาะเจาะจงมากกว่าในการป้องกัน เนื่องจากความรุนแรงของโรค 

  1. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดที่มีผู้คนหนาแน่นในช่วงการระบาด เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ชุมนุม เพื่อลดความเสี่ยงการรับเชื้อจากผู้ที่อาจติดเชื้ออยู่
  3. การสวมหน้ากากอนามัยเป็นวิธีที่ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยเฉพาะในที่สาธารณะ หรือเมื่อรู้สึกไม่สบาย

 

ิธีป้องกันไวรัส RSV  

ไวรัส RSV มักระบาดในเด็กเล็ก มีอาการที่รุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่ การป้องกันไวรัส RSV ควรเน้นการดูแลสุขอนามัย และลดการสัมผัสเชื้อ ดังนี้ 

  

  1. ล้างมือเป็นประจำ เช่นเดียวกับไข้หวัด การล้างมือบ่อย ๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไวรัส RSV เนื่องจากเด็กเล็กมักสัมผัสสิ่งของ และนำมือเข้าปาก ทำให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อ
  2. ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสเป็นประจำ ควรทำความสะอาดของเล่น เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของที่เด็ก ๆ มักสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อภายในบ้าน
  3. หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่สาธารณะในช่วงฤดูระบาด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
  4. ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กเล็กได้รับอันตรายจากควันบุหรี่ และเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อไวรัส RSV เนื่องจากระบบหายใจของเด็กจะอ่อนแอลง
  5. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นมแม่ หรืออาหารที่มีวิตามิน จะช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการป้องกันไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และ RSV 

ไข้หวัด กับ ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไรในการป้องกัน ? 

ไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดจากไวรัสไม่รุนแรง ป้องกันได้ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงส่วนไข้หวัดใหญ่ควรป้องกันเพิ่มเติมด้วยการฉีดวัคซีนประจำปี เพราะอาจมีอาการรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้  

 

ป้องกันเด็กเล็กจากไวรัส RSV อย่างไร ? 

ในเด็กเล็กควรป้องกันไวรัส RSV ด้วยการล้างมือเป็นประจำ เช่นเดียวกันกับไข้หวัด นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดของเล่น และพื้นผิวที่เด็กสัมผัสบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และงดการสูบบุหรี่ในบ้าน 

 

ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เมื่อไหร่ ? 

ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะในช่วงก่อนฤดูฝน หรือฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ การฉีดวัคซีนมีส่วนช่วยลดความรุนแรงของอาการ และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ทำไมการล้างมือบ่อย ๆ ถึงช่วยป้องกันการติดเชื้อ ไข้หวัด หรือไวรัสได้ ? 

การล้างมือด้วยสบู่ช่วยทำลายชั้นไขมันที่หุ้มไวรัส เมื่อไขมันแยกตัวออก เกราะป้องกันไวรัสจะแตก และถูกชะล้าง ส่วนเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นเกิน 70% จะช่วยทำลายชั้นไขมันของไวรัส ทำให้ไวรัสไม่สามารถส่งผลต่อร่างกายได้ 

 

สรุป 

ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และไวรัส RSV เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่หลายคนอาจมักเข้าใจอาการสับสนกัน เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล แต่ความรุนแรง และระยะเวลาที่ป่วยจะแตกต่างกัน โดยทั่วไป ไข้หวัด จะมีอาการไม่รุนแรงนัก และสามารถหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการรุนแรงกว่า เช่น ไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ ส่วนไวรัส RSV มักพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อในปอดและภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ 

 

การป้องกันทั้งสามโรคนี้สามารถทำได้โดยเน้นการรักษาความสะอาดส่วนบุคคล การล้างมือบ่อย ๆ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี และหลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปยังสถานที่แออัด 

 

ดังนั้น การเข้าใจความแตกต่างระหว่างไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และไวรัส RSV จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้สามารถดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัวได้อย่างถูกต้อง หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม 

 

ที่มา 

การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับประชาชน จาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย  

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ และการป้องกันเพื่อความปลอดภัย และสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก