เคยสงสัยเหมือนกันไหมคะ ว่า เราอ้วนหรือเปล่า หรือจริง ๆ แล้วเราอาจจะแค่สมส่วน แต่จะวัดจากอะไร ว่าแบบไหนคืออ้วนหรือไม่อ้วน วันนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส พาทุกคนมาไขข้อสงสัยเรื่องนี้กันค่ะ
เราอ้วนหรือเปล่า ? ในมาตรฐานทางด้านการแพทย์ จะมีเกณฑ์การพิจารณาที่นิยมทั้งหมด 2 เกณฑ์ ดังนี้
1. ดัชนีมวลกาย (Bofy Mass Index = BMI)
โดยมีสูตรหรือวิธีการคำนวณ คือ น้ำหนัก (กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง (เมตรยกกำลัง2) หรือ BMI = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง (ม)2
หากมีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 23 กก./ม2 จะจัดว่ามีน้ำหนักตัวเกิน (Overweight) และหากมีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 25 กก./ม2 จึงจะจัดว่ามีภาวะอ้วน
โดยค่า BMI นี้ อาจใช้ไม่ได้กับผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าคนทั่วไป เช่น นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังหายเป็นประจำ เป็นต้น
2. เส้นรอบเอว
สำหรับคนไทย เส้นรอบเอวในเพศชาย ไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว) และเพศหญิง ไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว)
แบบนี้ก็รู้แล้วใช่ไหมละคะ ว่า เราอ้วนหรือเปล่า และหากใครที่คิดว่าตัวเองกำลังจะเข้าข่ายข้างต้น อาจลองพิจารณาจาก 4 ข้อนี้ดูค่ะ
1. การควบคุมอาหาร
หากลดแครอลี่จากอาหารที่รับประทานลง วันละประมาณ 500 กิโลแครอลี่ จะสามารถลดน้ำหนักได้เฉลี่ยสัปดาห์ละ ครึ่งกิโลกรัม หรือ 1-2 กิโลกรัมต่อเดือน และกำจัดการกินของเค็มหรืออาหารแปรรูป เพราะเกลือมีโซเดียมสูงที่อาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการควบคุมอาหารที่ผู้คนนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น วิธีการลดแป้งหรือโลว์คาร์บ (Low carbohydrate) วิธีการทานคีโตเจนิค (Ketogenic diet) วิธีการทานอาหารเป็นช่วงเวลาสลับกับการอดอาหาร (Intermittent fasting) อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ควรปรึกษาแพทย์ฟรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการตัดสินใจเลือกวิธีการควบคุมอาหาร เพื่อให้สามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตัวเองได้ และไม่กระทบกับกระบวนการรักษาโรคค่ะ
2. การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น
สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การลุกเดินมากขึ้น โดยอาจเดินในพื้นราบ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อน ปั่นจักรยานในระยะทางสั้น ๆ และควรเวทเทรนนิ่งร่วมด้วย หากเราลดน้ำหนักโดยการควบคุมอาหารอน่างเดียวไปสักระยะหนึ่ง น้ำหนักอาจจะลดช้าลง เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อลดลง การออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหารจะช่วยเพิ่มและรักษามวลกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยไม่ให้เกิดภาวะน้ำหนักเด้งกลับขึ้นมาอีกหรือที่นิยมเรียกกันว่า ‘โยโย่’ นั่นเอง
3. การนอนดึกหรือการอดนอน
เพราะการนอนดึกมาก ๆ หรือการอดนอนนั้น ส่งผลต่อระบบประสาทและฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม ทำให้ร่างกายมีความรู้สึกอยากอาหารมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการมีช่วงเวลาที่ตื่นมากขึ้น ก็ส่งผลให้มีระยะเวลาทานอาหารที่มากขึ้นตามไปด้วย และหากอดนอนหรือนอนไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อการทำกิจกรรมระหว่างวัน ทำให้กิจกรรมภายในแต่ละวันลดลง รวมถึงการออกกำลังกายอีกด้วย
4. ยาบางชนิด
เช่น ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณสูง อาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำหรือฮอร์โมนโปรเจสตินรุ่นเก่า อาจกระตุ้นความอยากอาหารและมีผลเสียกับระบบเมตาโบลิซึม หากพบผลข้างเคียงเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อเลือกยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ให้เหมาะสมกับตัวเองมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมียาเม็ดคุมกำเนิดรายเดือนรุ่นใหม่ที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินที่มีฤทธิ์สมดุล (Neutral progestin) เช่น ดีโซเจสทริล (Desogestrel) ผสมกับฮอร์โมนเอสโตรเจนปริมาณต่ำ ก็จะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงดังกล่าวได้
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา หรืออาการภูมิแพ้ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล “ลดความอ้วนอย่างไรไม่ให้เกิดอันตราย” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=128 สืบค้นวันที่23 พฤศจิกายน 2565.
- โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชย์การุณย์ “ลดน้ำหนักอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/1031 สืบค้นวันที่23 พฤศจิกายน 2565.
- ผศ.นพ.กุลพงษ์ ชัยนาม RAMA CHANNEL “นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนักอย่างไร” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนักอ/ สืบค้นวันที่23 พฤศจิกายน 2565.
- Vincenzo D.L. et al. “Hormonal contraceptives: pharmacology tailored to women’s health”. Human Reproduction Update, Vol.22, No.5 pp. 634–646, 2016.
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง