ตาพร่ามัว: สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ตาพร่ามัว สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

ตาพร่ามัว หรือ อาการตามัว ทำให้สายตาโฟกัสได้แย่ลง รวมถึงสภาวะบางอย่างทำให้เกิดความพร่ามัวขึ้นมาอย่างกะทันหัน ซึ่งการพร่ามัวเป็นอาการทั่วไปที่มีสาเหตุหลายปัจจัย รวมถึงโรคบางชนิดที่ส่งผลต่อการมองเห็นด้วยเช่นกัน

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีข้อมูลเกี่ยวกับ ตาพร่ามัว สาเหตุ อาการ วิธีรักษา มาแชร์กัน

 

อาการตาพร่ามัว มีลักษณะอย่างไร

อาการตาพร่ามัว (Blurred Vision) คือ การที่มองเห็นไม่คมชัด อาจมีอาการตามัวในตาทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียว ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งบางครั้งทุกสิ่งที่มอง หรือ ขอบเขตการมองเห็นจะพร่ามัว นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับการมองเห็นไม่ชัด เช่น ปวดศีรษะ ไวต่อแสง หรือตาแดงระคายเคือง เป็นต้น

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ตาพร่ามัว

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ตาพร่ามัว

 

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ดังนี้

1. สาเหตุอาการ ตาพร่ามัว จากสภาวะทางตา

  • สายตาสั้นหรือสายตายาว เนื่องจากต้องใช้การเพ่งสายตาเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
  • สายตาเอียง เนื่องจากพื้นผิวของดวงตามีความโค้งงอไม่เหมาะสม
  • สายตายาวตามอายุ มักจะเริ่มในช่วงอายุ 40 ปี จะพบว่าสายตาโฟกัสได้ยากขึ้น และการมองเห็นระยะใกล้พร่ามัว
  • อาการตาแห้ง ส่งผลให้เกิดตาพร่ามัว มีน้ำตาไหล ระคายเคืองตา
  • ต้อกระจก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตา ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอายุที่มากขึ้นและการสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต (UV) เมื่อโปรตีนในเลนส์ดวงตาเสียหายและจับตัวเป็นก้อน ทำให้เกิดลักษณะขุ่นมัว
  • ต้อหิน ทำให้มองเห็นเลือนราง ไม่ชัดเจน
  • การติดเชื้อที่ตา ส่งผลให้น้ำตาไหล ตาแดง ตาพร่ามัว ปวดตา รู้สึกไวต่อแสง
  • การบาดเจ็บที่ดวงตา เกิดความเสียหายต่อกระจกตา ทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน
  • ความเสื่อมของจอประสาทตาที่เกี่ยวข้องกับอายุ ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลาง โดยมักเกิดในผู้ที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป
  • ปัญหาเกี่ยวกับจอประสาทตา เช่น เบาหวานขึ้นตา ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน อาจทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านหลังดวงตาบวมและมีเลือดออก ซึ่งจะค่อย ๆ สร้างความเสียหายและทำให้ตาพร่ามัวได้

2. สาเหตุอาการ ตาพร่ามัว จากโรคและภาวะต่าง ๆ

  • โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนของโรคส่งผลให้เกิดปัญหาการมองเห็น เช่น มองเห็นภาพซ้อน การตาบอด เป็นต้น
  • ไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะรุนแรง ปวดตุบ ๆ ผู้ที่เป็นไมเกรนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสงหรือเสียง มีปัญหาในการมองเห็น
  • บาดเจ็บที่ศีรษะ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypo) ในกรณีที่เป็นโรคเบาหวานและมีกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือดน้อยเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการตามัว
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ (ความดันโลหิตสูง) โดยจะมีปัญหาการมองเห็น รู้สึกว่ามีไฟกะพริบ หรือ จุดในดวงตา หากกำลังตั้งครรภ์
  • โรคสะเก็ดเงิน ผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพผิว หรือ ผื่น ที่บางครั้งอาจส่งผลต่อดวงตาได้
  • เนื้องอกในสมองในเด็ก อาจมีอาการตามัว ตาเบลอ หรือเห็นภาพซ้อน

 

วิธีการรักษาอาการตาพร่ามัว

การรักษาตามัวขึ้นอยู่กับสาเหตุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. การใช้แว่นตาและคอนแทคเลนส์เพื่อรักษาอาการตาพร่ามัว

อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยรักษาความพร่ามัวที่เกิดจากความผิดปกติของการหักเหของแสงและสาเหตุอื่น ๆ รวมถึงต้อกระจก

2. ยารักษาอาการตาพร่ามัว

แพทย์อาจสั่งยาเพื่อรักษาสภาพที่ทำให้มองเห็นไม่ชัด ยาจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของแต่ละบุคคล

3. การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการตาพร่ามัว

ในบางกรณีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำการรักษาด้วยขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อปรับปรุงสายตา เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การทำเลสิกเพื่อรักษาภาวะสายตาผิดปกติ เป็นต้น

ทั้งนี้สำหรับผู้ที่มีอาการตาพร่ามัวที่สัมพันธ์กับโรคและภาวะต่าง ๆ ควรปรับพฤติกรรมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อรักษาอาการตาพร่ามัวให้ดีขึ้น

 

การดูแลป้องกันอาการ ตาพร่ามัว ในชีวิตประจำวัน

 

การดูแลป้องกันอาการ ตาพร่ามัว ในชีวิตประจำวัน

 

การดูแลดวงตาเป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถทำสิ่งต่อไปนี้เพื่อช่วยให้อาการตาพร่ามัวดีขึ้น

  • พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับที่เป็นสถิติทั่วไปคือ 8 ชั่วโมง ทั้งนี้การนอน 5 – 6 ชั่วโมง โดยร่างกายผ่อนคลายและตื่นมารู้สึกสดชื่น ถือว่าเป็นการนอนอย่างเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น ควันและฝุ่น
  • สวมแว่นกันแดดเสมอเมื่อออกแดด เพื่อปกป้องดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา เมื่อทำงาน หรือ ทำงานอดิเรกที่อาจทำลายดวงตา เช่น งานที่ใช้สารเคมี, ทำงาน DIY, การเล่นกีฬาบางชนิดที่เสี่ยงต่อดวงตา ฯลฯ
  • ทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่บำรุงสายตา
    • ลูทีนและซีแซนทีน เช่น บรอกโคลี ผักโขม คะน้า ฯลฯ ช่วยลดความเสี่ยงของจอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจกที่เกี่ยวข้องกับอายุ รวมถึงโรคตาเรื้อรังอื่น ๆ
    • วิตามินซี หรือ กรดแอสคอร์บิก มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของจอประสาทตาตามวัยลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจก เช่น มะนาว ส้ม ฯลฯ
    • วิตามินอี ช่วยปกป้องดวงตาจากอนุมูลอิสระ เช่น ถั่ว ธัญพืช ฯลฯ
    • สังกะสี แร่ธาตุที่มีความเข้มข้นสูง ช่วยในการนำวิตามินเอ จากตับไปยังจอประสาทตา ซึ่งจะช่วยผลิตเมลานินซึ่งเป็นเม็ดสีที่จำเป็นในการปกป้องดวงตา เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมูสันนอก โยเกิร์ต ฯลฯ
    • กรดไขมันโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อการพัฒนาการมองเห็นและรักษาการทำงานของดวงตาและจอประสาทตาให้เหมาะสม เช่น ปลา พืชตระกูลถั่ว วอลนัต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ฯลฯ
  • ใช้ยาหยอดตา เพื่อหล่อลื่นดวงตาหากดวงตาแห้ง หรือระคายเคือง

 

สัญญาณของอาการ ตาพร่ามัว ที่ควรพบแพทย์

 

สัญญาณของอาการ ตาพร่ามัว ที่ควรพบแพทย์

 

ควรเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน หากมีตาพร่ามัวพร้อมกับอาการต่อไปนี้

  • อาการเวียนหัว อาจรู้สึกเหมือนกำลังจะเป็นลม
  • อ่อนแรง หรือ ชาที่แขนข้างเดียว
  • เสียสมดุล สูญเสียการทรงตัวขณะเดิน
  • พูดอ้อแอ้

 

สรุป

อาการตาพร่ามัว ทำให้เกิดการมองเห็นไม่ชัดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งเรื่องสภาวะเกี่ยวกับดวงตา รวมถึงโรคต่าง ๆ บางกรณีสามารถดูแลป้องกันด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำที่น่าเชื่อถือ อีกทั้งยังมีวิธีการป้องกันเพื่อถนอมดวงตาโดยการเลือกทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การพักผ่อน ออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ และควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันทีหากสังเกตเห็นปัญหาการมองเห็น เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง

อาการตาพร่ามัว ถือเป็นหนึ่งในกลุ่ม 16 อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถเข้ารับยาได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ตามร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยสำหรับผู้ที่มี สิทธิบัตรทอง หรือ หลักประกันสุขภาพ 30 บาท ก็สามารถขอเข้ารับสิทธิ์ได้แล้วที่ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส กว่า 400 สาขา ทั่วประเทศ

 

 

 

ที่มา:

Blurred vision จาก Healthdirect Australia

What are the most common causes of blurred vision that gets worse over time?, Blurred Vision จาก Cleveland Clinic

Presbyopia จาก Cleveland Clinic

จ้องหน้าจอทั้งวัน เสี่ยง…ภาวะตาแห้ง จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

What Are Symptoms for Common Eye Infections? จาก Lifetime Vision and Eye Care

Macular degeneration – age-related จาก Mount Sinai

Brain Tumours จาก Healthdirect Australia

How Does Your Diet Impact Eye Health & Vision? จาก NVISION Eye Centers

นอนอย่างไรให้สุขภาพดี จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก