คุมกำเนิดอย่างไรให้สวย สุขภาพดี อย่างแรกคือการเลือกวิธีการคุมกำเนิดให้เหมาะสม ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดอาการหรือผลกระทบข้างเคียงจากการคุมกำเนิด แต่หลักเกณฑ์ใดบ้าง ที่ใช้ตัดสินว่าการคุมกำเนิดแบบใดจึงจะเหมาะสม วันนี้พี่เภสัชกรจะมาไขข้อข้องใจให้สาว ๆ กันค่ะ
การ คุมกำเนิด โดยทั่วไปแล้วเภสัชกรจะใช้เกณฑ์พิจารณาเบื้องต้น 5 อย่าง เพื่อให้ได้สูตรยาคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย ราคาคุ้มค่า ตรงกับใจและร่างกายคุณมากที่สุดค่ะ
เกณฑ์ที่ 1 และ 2 ได้แก่ น้ำหนักและส่วนสูง
เนื่องจากข้อมูลนี้ จะใช้เพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) เพราะรูปร่างของผู้หญิงแต่ละคน จะเหมาะกับฮฮร์โมนที่มีชนิดและปริมาณต่างกัน
วิธีคำณวณคือ ใช้น้ำหนักหน่วยกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูง หน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง [BMI = น้ำหนัก (กก) / ส่วนสูง (ม)2] เช่น น้ำหนัก 55 กิโลกรัม ส่วนสูง 1.65 เมตร ก็จะคำนวณ BMI ได้ = 55/(1.65×1.65) = 20.2
เกณฑ์ที่ 3 อายุ
โดยแบ่งเป็นสาววัยรุ่น (ต่ำกว่า19ปี) สาววัยทำงาน (19-40ปี) สาววัยผู้ใหญ่ (40ปีขึ้นไป) ที่ต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย เพราะอายุที่ต่างกันจะส่งผลให้ร่างกายต้องการฮอร์โมนเปลี่ยนไปด้วย
เกณฑ์ที่ 4 โรคประจำตัว
เนื่องจากผู้ป่วยบางคนอาจไม่เหมาะกับยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ปวดหัวไมเกรน ตับอักเสบ โรคหลอดเลือด สมอง หัวใจ เป็นต้น ซึ่งเภสัชกรจะคัดกรองให้คนไข้อย่างเหมาะสมได้ค่ะ
เกณฑ์ที่ 5 ไลฟ์สไตล์ หรือความต้องการอื่น ๆ
ผู้หญิงแต่ละคนก็มีความต้องการแตกต่างกันออกไป เช่น บางคนสูบบุหรี่เป็นประจำ, บางคนกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร , บ้างก็ไม่ต้องการให้น้ำหนักตัวเพิ่ม หรือ กังวลผลข้างเคียงเรื่องสิวผิวมัน เป็นต้น ดังนั้นยาคุมกำเนิดจึงพัฒนามาหลายสูตร เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของผู้หญิงแต่ละคนนั่นเอง
ใครที่กำลังมีปัญหา หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิด สามารถปรึกษาเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขา หรือปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ที่แอป ALL PharmaSee ปรึกษาฟรี 24 ชม.
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา หรืออาการภูมิแพ้ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
-
Vincenzo D.L. et al. “Hormonal contraceptives: pharmacology tailored to women’s health”. Human Reproduction Update, Vol.22, No.5 pp. 634–646, 2016.
-
World Health Organization, “Medical Eligible Criteria for Contraceptive Use”. 5th edition. 2015.
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง