ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง vs ยาแก้แพ้ทั่วไป แตกต่างกันตรงไหน?

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง vs ยาแก้แพ้ทั่วไป แตกต่างกันตรงไหน?

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง หนึ่งในตัวยาสำคัญสำหรับคนที่มีอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ อาหาร หรือสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้น ยาแก้แพ้ จึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวยาสำคัญ ที่ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก หรือ ผื่นภูมิแพ้ต่าง ๆ จากสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจเคยพบกับอาการง่วงซึมหลังจากรับประทานยาแก้แพ้ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน  

โดยในปัจจุบันจึงได้มีการผลิตยาแก้แพ้ทั้งแบบชนิดง่วง และชนิดไม่ง่วงออกมา เพื่อให้ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของผู้ป่วยในแต่ละวัน บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง กับ ยาแก้แพ้ทั่วไป พร้อมทั้งข้อดีและข้อควรระวังของแต่ละประเภท มาฝากกัน 

 

ยาแก้แพ้ทั่วไป (Drowsy Antihistamines) คืออะไร

 

ยาแก้แพ้ทั่วไป (Drowsy Antihistamines) คืออะไร

 

ยาแก้แพ้ทั่วไป หรือ ยาแก้แบบง่วง คือ ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 1 (Conventional Antihistamines) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ร่างกายผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ หรือ ภูมิแพ้จากสารก่อภูมิแพ้ เช่น คัน จาม  

โดยตัวยาทำหน้าที่บรรเทาอาการแพ้จากการยับยั้งสารฮิสตามีน (Histamine) เมื่อผู้ป่วยมีการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ  ซึ่งมักจะมีส่วนประกอบของตัวยาสำคัญ ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่  

  • คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine 
  • ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) 
  • ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) 
  • ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) 

คุณสมบัติของตัวยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์กดประสาท ที่ทำให้ผู้ใช้ยาอาจมีอาการง่วงซึมได้ง่าย และบางรายอาจมีผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม ปากแห้ง หรือ ตาพร่ามัว ซึ่งจะแตกต่างจากยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง โดยมักจะพบได้ใน ยาแก้อาการภูมิแพ้, ยาแก้แพ้อากาศและยาแก้แพ้แก้ผื่นคันต่าง ๆ เป็นต้น  

 

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (Non-Drowsy Antihistamines) 

 

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (Non-Drowsy Antihistamines)

 

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง หรือ ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 หรือ 3 (Second and Third generation Antihistamines) เป็นการพัฒนาขึ้นจากยารุ่นแรก เพื่อลดผลข้างเคียงของอาการง่วงซึม ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้คน ซึ่งมักจะมีส่วนประกอบของตัวยาสำคัญ ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 

  • เซทิริซีน (Cetirizine) 
  • เลโวเซทิริซีน (Levocetirizine) 
  • เฟโซเฟนาดีน (Fexofenadine) 
  • ลอราทาดีน (Loratadine)  และอื่น ๆ 

ทั้งนี้ การรับประทานยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน บางรายอาจรู้สึกง่วง หรือไม่ง่วงเลย รวมถึงผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เวียนศีรษะ ดังนั้น หากต้องกินยาแก้แพ้ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักร หรือการขับรถเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ทั้งนี้ ก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง 

 

ปัจจุบันยาแก้แพ้ มีแบบไหนบ้าง ? 

 

ปัจจุบันยาแก้แพ้ มีแบบไหนบ้าง ?

 

ปัจจุบันยาแก้แพ้มีหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 

 

  1. ยาแก้แพ้แบบเม็ด (Antihistamine Tablets)
    ใช้รักษาอาการแพ้และมีน้ำมูก เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด ใช้งานง่าย พกพาสะดวก
  2. ยารูปแบบน้ำ  (Antihistamine Syrup/Liquid Suspension)
    ลักษณะของยาจะเป็นแบบน้ำเชื่อม ใช้กับผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปจนถึงเด็กโต
  3. ยาแก้แพ้ชนิดครีม (Topical Antihistamines)
    ใช้สำหรับทาภายนอก บรรเทาอาการคันจากผื่นผิวหนัง
  4. ยาพ่นจมูก (Nasal Spray)
    เช่น สเปรย์ ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
  5. ยาแก้แพ้แบบฉีด (Injectable Antihistamines)
    โดยใช้เข็มฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดให้แก่ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง เช่น อาการแพ้แบบภาวะภูมิแพ้เฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งอาจมีอาการบวมที่ใบหน้า ปาก ตา หายใจลำบาก หรือติดขัด 

 

เปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย ยาแก้แพ้ทั้ง 2 ประเภท 

คุณสมบัติ ยาแก้แพ้ทั่วไป (รุ่นที่ 1) ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง (รุ่นที่ 2, 3)
การออกฤทธิ์ เร็ว (15-30 นาที) ปานกลาง (30-60 นาที)
ระยะเวลาการออกฤทธิ์ 4-6 ชั่วโมง 12-24 ชั่วโมง
ผลข้างเคียง อาจง่วงซึม ปากแห้ง ตาพร่ามัว อาจมีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการบรรเทาอาการแพ้เร่งด่วน และต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ผู้ที่ต้องทำงาน ขับรถ หรือมีกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว

ดังนั้น การเลือกใช้ยาแก้ภูมิแพ้ทั้ง 2 ประเภท อาจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความต้องการของแต่ละบุคคล หากผู้ป่วยต้องการบรรเทาอาการแพ้แบบเร่งด่วนและต้องการพักผ่อนร่างกายอย่างเต็มที่ ยาแก้แพ้ทั่วไปอาจเป็นตัวเลือกที่ดี แต่หากต้องออกไปทำกิจวัตรประจำวันข้างนอก เช่น ไปทำงาน เรียนหนังสือ หรือใช้ยานพาหนะในการเดินทาง การใช้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย และเหมาะสมกว่า

หมายเหตุ: ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีการตอบสนองต่อยาที่แตกต่างกัน หากต้องใช้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง ก่อนการเดินทาง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

 

การใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องมีผลต่อสุขภาพหรือไม่ ? 

 

การใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องมีผลต่อสุขภาพหรือไม่ ?

 

การใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลต่อสุขภาพในบางกรณี แม้ว่ายาแก้แพ้แบบไม่ง่วงจะมีความปลอดภัยสูงกว่ายารุ่นแรก แต่การใช้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์อาจมีผลกระทบ เช่น

  • อาจส่งผลต่อระบบประสาทในระยะยาว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ใช้ยาต่อเนื่อง 
  • ยารุ่นที่ 1 ที่ทำให้ง่วงซึม อาจมีผลต่อความจำและสมาธิหากใช้ในระยะยาว 
  • อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาในขนาดที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่าเดิม 
  • ผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น ปากแห้ง เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะ อาจเกิดได้บ่อยขึ้น
  • การใช้ยาแก้แพ้ต่อเนื่องโดยไม่แก้ไขต้นเหตุของอาการแพ้อาจทำให้ร่างกายต้องใช้ยามากเกินไป

ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้ยาแก้แพ้เป็นระยะเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อเลือกยาที่เหมาะสมและพิจารณาวิธีการรักษาอื่น ๆ ควบคู่กัน เช่น การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดสารก่อภูมิแพ้ หรือการรักษาภูมิแพ้ด้วยตัวยาจากธรรมชาติ 

 

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้ 

  1. อ่านฉลากยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร 
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้แพ้ทั่วไปหากต้องทำกิจกรรมที่ต้องการสมาธิสูง 
  3. ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดหรือใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่ปรึกษาแพทย์ 
  4. หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ หรือโรคไต ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา 
  5. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

 

การใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาอาการแพและมีผื่นคัน 

สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ยา แพ้อาหาร แพ้อากาศ จนเกิดผื่นผิวหนัง สามารถใช้สิทธิบัตรทองเพื่อรับบริการที่ร้านยาที่เข้าร่วม “โครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ได้ ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา และจ่ายยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้แพ้ทั่วไป หรือ ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง เพื่อบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ ให้หายดีขึ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับรักษาอาการคันที่ร้านยา สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [เช็กรายชื่อร้านยาได้ที่นี่] โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้เข้าร่วมโครงการสิทธิบัตรทอง พร้อมให้บริการ Delivery จัดส่งยาและสินค้าสุขภาพถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee 

 

ใช้บริการ Delivery คลิกเลย! 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง 

Q: ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง มีผลข้างเคียงหรือไม่? 

A: มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแบบดั้งเดิม แต่อาจพบอาการปากแห้งหรือคอแห้งบ้าง ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของแต่ละบุคคล 

 

Q: ควรใช้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงติดต่อกันเป็นเวลานานหรือไม่? 

A: การใช้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วย ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้ได้คำแนะนำที่เหมาะสม 

 

Q: เป็นลมพิษ ทานยาแก้แพ้ได้ไหม? 

A: ถ้ามีอาการลมพิษ ผื่นคัน จากการแพ้ และอาการไม่รุนแรงมาก สามารถหาซื้อยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วงทานได้ เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) เพื่อลดอาการคันจากสารก่อภูมิแพ้ 

 

สรุป 

การรักษาอาการแพ้ด้วย ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง และ ยาแก้แพ้ทั่วไป มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องของการง่วงซึม, การออกฤทธิ์, และผลข้างเคียง การเลือกใช้ยาแก้แพ้ควรพิจารณาจากการใช้งานในชีวิตประจำวันและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น การปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเลือกใช้ยาแก้แพ้ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย   

โดยหากใครยังมีความกังวลใจ หรือไม่มั่นใจเกี่ยวกับการใช้ยาแก้แพ้ สามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรที่น่าเชื่อถือใกล้บ้าน หรือแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee ตัวช่วยที่พร้อมให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพกับคุณตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

 

ที่มา 

ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง กินแล้วไม่ง่วงจริงหรือไม่ จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 

ยาแก้แพ้ รับประทานแล้วเสี่ยงสมองเสื่อม จริงหรือ จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี   

Drowsy and non-drowsy antihistamines จาก Pharmacy Prime

Diphenhydramine Hcl Syringe – Uses, Side Effects, and More จาก WebMD 

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

 

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ แล้วมาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก