“แพ้เหงื่อ” อาการนี้มีอยู่จริงค่ะ ..หลายคนคงสงสัยว่าของที่ออกมาจากร่างกายของเราเอง จะทำให้เราแพ้ได้ด้วยหรือเนี่ย
สาเหตุของการแพ้เหงื่อเกิดจาก ปฏิกิริยาระหว่างส่วนประกอบของเหงื่อกับระบบภูมิต้านทานที่ผิวหนัง
เหงื่อมีส่วนประกอบของน้ำ เกลือแร่ และอาจจะมีสารหรือยาบางอย่างที่ขับออกมาจากร่างกายที่ไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง และเกิดความอับชื้นในบริเวณซอกพับของผิวหนัง ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา นอกจากนี้เหงื่อยังเพิ่มการเสียดสีของผิวหนังบริเวณซอกพับ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการคัน ระคายเคืองที่ผิวหนัง ร่วมทั้งผื่นผิวหนังที่เกิดจากเหงื่อ
ลักษณะของผื่น แพ้เหงื่อ
อาการแพ้เหงื่อ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ที่มีประวัติของโรคภูมิแพ้ เป็นภูมิแพ้ผิวหนังหรือภูมิแพ้อื่น ๆ เช่นแพ้อากาศ หอบหืด แพ้อาหาร หรือมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว ก็จะมีปัจจัยทำให้เกิดอาการแพ้เหงื่อได้มากขึ้น อาการแพ้เหงื่อแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีตามลักษณะที่ปรากฏ ได้แก่
- ผื่น ผดร้อน (Rash, Miliaria) – มีอาการคัน ร่วมกับการเกิดผื่น ที่บริเวณข้อพับต่างๆ ซอกคอ ลำตัว โดยผื่นจะค่อย ๆ ยุบจางหายไปเอง แต่ถ้าหากมีเหงื่อก็จะทำให้เกิดผื่นและอาการคันซ้ำได้อีกในบริเวณเดิมที่เคยเป็น
- ผื่นลมพิษที่ (Cholinergic Urticaria) –เป็นจุดนูนแดง และขยายขนาดออกเป็นปื้น ไม่มีขุย เกิดขึ้นเร็วและกระจายตามตัว แขน ขา มีอาการคัน ผื่นแต่ละที่มักอยู่ไม่เกิน 24 ชม. ทั้งนี้มีผู้ป่วยประมาณ 10 – 20% ที่ขึ้นผื่นต่อเนื่องจนกลายเป็นลมพิษเรื้อรัง
การดูแลรักษาอาการ แพ้เหงื่อ
- หมั่นระบายความร้อน และความอับชื้น
- หลีกเลี่ยงการแกะเกาผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นแผล และเกิดการติดเชื้อได้
- ทายาคาลาไมน์บริเวณผื่นลมพิษ เพื่อบรรเทาอาการคัน แต่ยานี้ไม่ได้ทำให้ผื่นหาย
- รับประทานยาแก้แพ้กลุ่ม ยาต้านฮีสตามีนหากมีอาการ
การเลือกใช้ยาต้านฮีสตามีน ควรเลือกใช้ยารุ่นใหม่ที่ง่วงน้อยหรือไม่ง่วง (Non-sedating Antihistamine) เช่น ยาต้านฮิสตามีนรุ่นที่2 หรือ รุ่นที่3 เช่น Rupatadine(รูพาทาดีน) Desloratadine(เดส-ลอราทาดีน) เนื่องจากมีหลักฐานการศึกษายากลุ่มนี้ว่ามีประสิทธิภาพดีกว่ายารุ่นเก่า สามารถปรับระดับยาเพื่อใช้ในการรักษาได้กับผู้ป่วยที่มีอาการมากได้ ไม่ทำให้ง่วงนอน และสามารถใช้ต่อเนื่องในระยะยาว
การเลือกใช้ยาแก้แพ้ที่ควรเลือกใช้สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ที่มีอาการตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการคัดแน่นจมูกหรือลมพิษ ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในคนไทย ควรเลือกยารุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีและมีปลอดภัยในระยะยาว ทั้งยารับประทานและยาพ่นจมูก เช่น Desloratadine (เดส-ลอราทาดีน), Mometasone Furoate (โมเมทาโซน ฟูโรเอต) เป็นต้น
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องโรคภูมิแพ้ รวมถึงการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- “ผื่นแพ้เหงื่อ”ภัยผิวหนังจากความร้อน”. เพ็ญวดี พัฒนปรีชากุล, ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1466 สืบค้นวันที่ 9กพ.
- Kulthanan, et al. Clinical practice guideline for diagnosis and management of urticaria. Asian Pac J Allergy Immunol 2016; 34:190-200.