ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pills, Morning-After Pills) คือ ยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันหรือในสถานการณ์ที่เกิดข้อผิดพลาดจากการคุมกำเนิดประเภทอื่น ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ จึงถูกมักถูกใช้ในกรณีดังกล่าว เช่น ถุงยางอนามัยรั่ว ห่วงอนามัยหลุด หรือลืมรับประทานยาคุมกำเนิดเกิน 3 วัน เป็นต้น
ส่วนประกอบสำคัญของยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pills, Morning-After Pills) คือ ยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันหรือในสถานการณ์ที่เกิดข้อผิดพลาดจากการคุมกำเนิดประเภทอื่น ทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ จึงถูกมักถูกใช้ในกรณีดังกล่าว เช่น ถุงยางอนามัยรั่ว ห่วงอนามัยหลุด หรือลืมรับประทานยาคุมกำเนิดเกิน 3 วัน เป็นต้น
ส่วนประกอบสำคัญของยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนประกอบสำคัญ คือ ฮอร์โมน levonorgestrel ในขนาดสูง ที่ช่วยยับยั้งหรือชะลอการตกไข่ในเพศหญิง จึงลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ โดยยาคุมฉุกเฉินในท้องตลาดมีจำหน่ายอยู่หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งมีปริมาณของฮอร์โมนต่อเม็ดแตกต่างกัน จึงทำให้มีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ยาคุมฉุกเฉินชนิด 1 เม็ดต่อกล่อง มียา levonorgestrel 1.5 มิลลิกรัมต่อเม็ด รับประทาน 1 เม็ดครั้งเดียวหลังจากมีเพศสัมพันธ์ทันที หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- ยาคุมฉุกเฉินชนิด 2 เม็ดต่อกล่อง มียา levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัมต่อเม็ด รับประทาน 1 เม็ดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ทันที หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง และเม็ดที่สองรับประทานหลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง
ประสิทธิภาพของ ยาคุมฉุกเฉิน จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการรับประทานยาเม็ดแรก โดยถ้ารับประทานยาหลังมีเพศสัมพันธ์ทันที จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 90% และประสิทธิภาพในการป้องกันจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถป้องกันได้ หรือหากทานยาเม็ดแรกช้าเกิน 72 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ความอ้วนยังส่งผลลดประสิทธิภาพของยา โดยผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 30 มักจะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่า
กลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉิน
สำหรับกลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉิน พบว่ายาคุมฉุกเฉินสามารถช่วยยับยั้งและทำให้การตกไข่เลื่อนออกไปได้ ซึ่งยาคุมฉุกเฉินยังช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว และอาจมีผลต่อการเดินทางของไข่ที่ถูกผสมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การกินยาคุมฉุกเฉินหลังการตั้งครรภ์จะไม่มีผลทำให้ทำให้เกิดการแท้งได้ เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินเป็นการใช้ยาในระยะสั้นและไม่ได้มีผลต่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือ การสวมถุงยางอนามัย
วิธีกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง
การกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง ควรกินเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้มีการป้องกัน หรือควรกินภายใน 72 ชั่วโมง และกินเม็ดที่ 2 หลังจากเม็ดที่ 1 ภายใน 12 ชั่วโมง รวมทั้งยังสามารถกินยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ดพร้อมกันในครั้งเดียวได้ ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันที่ไม่ได้แตกต่างไปจากการแบ่งกิน 2 ครั้ง แต่อาจจะมีผลข้างเคียงจากยาสูงกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้ง่ายขึ้น
สำคัญ ไม่แนะนำให้กินยาคุมฉุกเฉินเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน
อาการข้างเคียงจากการใช้ยาคุมฉุกเฉิน
อาการไม่พึงประสงค์ที่สามารถพบได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งจะพบมากขึ้นเมื่อใช้ ยาคุมฉุกเฉิน ชนิดรับประทานเม็ดเดียว เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนมากกว่ารูปแบบ 2 เม็ด และมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่พบบ่อย ได้แก่ ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนมามากกว่าปกติ ประจำเดือนเลื่อน ปวดท้องน้อย ปวดเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว ตึงเต้านม
นอกจากนี้การรับประทาน ยาคุมฉุกเฉิน ที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่รังไข่ เยื่อบุมดลูก และเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
คำแนะนำในการใช้ ยาคุมฉุกเฉิน และการคุมกำเนิด
ควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นประจำหรือใช้ทดแทนยาเม็ดคุมกำเนิดแบบปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ต่ำกว่า และเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงได้มาก โดยรับประทานได้ไม่เกิน 1 ครั้ง (1 กล่อง) ต่อสัปดาห์ และไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน และใช้สำหรับผู้หญิงเท่านั้น รวมถึงหากมีเพศสัมพันธ์ซ้ำ หลังจากใช้ยาเกิน 24 ชั่วโมง ก็มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
อีกทั้ง หากทานยาคุมฉุกเฉินซ้ำก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง และลดประสิทธิภาพของยาได้ รวมถึงยังไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ จึงควรใช้ถุงยางอนามัยแทนเท่านั้น
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาคุมฉุกเฉิน
- ยาคุมฉุกเฉินไม่ใช่ยาระงับการตั้งครรภ์ เพราะยาคุมฉุกเฉินเป็นเพียงแค่การป้องกันการตั้งครรภ์ โดยจะต้องได้รับตัวยาเข้าไปในร่างกายก่อนการฝังตัวของไข่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก แต่ถ้าหากไข่ที่ผสมกับอสุจิได้ฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้ว ยาจะไม่มีผลกับการตั้งครรภ์
- ยาคุมฉุกเฉินป้องกันโรคติดต่อไม่ได้ การใช้ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การสวมถุงยางอนามัย
- ยาคุมฉุกเฉินมีผลข้างเคียงสูง เพราะยาคุมฉุกเฉินออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกที่มีผลต่อฮอร์โมนและความผิดปกติต่อผู้ใช้ เช่น ประจำเดือนผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
- ยาคุมฉุกเฉินไม่เป็นอันตรายสำหรับการตั้งครรภ์ใหม่ และนอกจากนี้ยังไม่มีผลทำให้การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปช้าลง
- รับประทานยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรกให้เร็วที่สุด หากรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 24 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากถึง 85% แต่ถ้ารับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์จะให้ประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75%
- ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถคุมกำเนิดระยะยาวได้ หากผู้ใดที่ยังไม่พร้อมมีบุตรแต่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติวันละ 1 เม็ด เป็นวิธีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อการคุมกำเนิดระยะยาวได้ดีที่สุด
ผู้ที่ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉิน
- ผู้ที่เป็นไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือน
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลมชัก
- ผู้ที่เป็นโรคลิ่มเลือดอุดตัน
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะไตทำงานผิดปกติ หรือภาวะหลอดเลือกผิดปกติ
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
- ผู้ที่เคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ผู้ที่เป็นโรคตับเฉียบพลันหรือตับแข็ง
- ผู้ที่เป็นมะเร็งอวัยวะภายในของผู้หญิง และมะเร็งเต้านม
สรุปบทความยาคุมฉุกเฉิน
สุดท้ายนี้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ายาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีการคุมกำเนิดแบบปกติทั่วไป แต่จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เป็นอย่างมากเมื่อทานเม็ดแรกทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ และไม่แนะนำให้ทานยาคุมฉุกเฉินแทนการคุมกำเนิดปกติ ควรเลือกใช้ยาคุมฉุกเฉินในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง ยาและการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ดีต่อสุขภาพ ดีต่อรูปร่าง ดีต่อผิวพรรณ สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ ผ่านแอป ALL PharmaSee ปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ