เพราะคุณพ่อคือบุคคลสำคัญของครอบครัว ยิ่งใกล้จะถึงวันพ่อแห่งชาติ คือวันที่ 5 ธันวาคมแล้ว ลูกๆ หลายคนคงกำลังมองหาของขวัญดีๆ ให้กับคุณพ่อกันอยู่
เพื่อให้ของขวัญที่เราเลือกถูกใจและดีต่อสุขภาพของคุณพ่อ เรามาทำความเข้าใจสุขภาพที่เปลี่ยนไปของคุณพ่อกันค่ะ
ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
-
กระดูก กระดูกสันหลังของคนเราจะเริ่มทรุดลงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.4 นิ้ว ทุก 10 ปี และในผู้สูงอายุก็อาจมีภาวะกระดูกพรุนเข้ามาแทรกด้วย เราจึงควรดูแลให้คุณพ่อได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน
-
กล้ามเนื้อ จะลีบเล็กลง ไม่มีพละกำลังเหมือนเดิม ทำให้การทรงตัวทำได้ไม่ดีนัก อาจทำให้หกล้มได้ง่าย ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย ดังนั้นการดูแลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมโปรตีน และการออกกำลังกาย
-
ผู้สูงอายุ ตัวจะเล็กลงจากการลีบลงของกล้ามเนื้อ แต่กลับมีพุงโต ซึ่งเกิดจากไขมันในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น และไขมันที่เคยสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง กลับย้ายไปสะสมที่สะโพก ต้นขา และภายในช่องท้องแทน ทำให้ลงพุง ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น
-
ดวงตา ผู้สูงอายุประสาทสัมผัสในการมองเห็นจะเสื่อมลง หรือมีโรคทางตา เช่น สายตายาว ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนเหมือนเดิม
-
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้สูงอายุหลอดเลือดแดงจะแข็งไม่ยืดหยุ่น และยิ่งหากมีไขมันอุดตันร่วมด้วย ก็จะยิ่งทำให้หัวใจทำงานหนัก เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมา
-
ระบบประสาทและสมอง เมื่ออายุมากขึ้น ระบบประสาทและสมองจะทำงานช้าลง เซลล์สมองบางส่วนเสื่อมและตายไป โดยไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทน ทำให้เกิดอาการหลงๆ ลืมๆ เนื่องจากความจำระยะสั้นเสียหายไป
การเลือกของขวัญเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับคุณพ่อ
-
แคลเซียม เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูก ตามคำแนะนำของกรมอนามัย โดยให้ได้แคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี และ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป
-
โปรตีนที่ย่อยง่าย เพื่อป้องกันการลีบของกล้ามเนื้อ
-
วิตามินเอ ช่วยดูแลสายตาของผู้สูงอายุไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว
-
น้ำมันปลา สารอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า-3 มีส่วนช่วยในการทำงานของสมอง เสริมสร้างการรับรู้และความจำ รวมถึงช่วยบำรุงหัวใจและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
-
วิตามีนบี 12 มีความสำคัญต่อระบบประสาทและสมอง ถ้าขาดวิตามินบี 12 เป็นเวลานานอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะความจำเสื่อมได้
เข้าใจสุขภาพคุณพ่อมากขึ้นแล้ว ต่อไปการเลือกของขวัญเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณพ่อก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
Open this in UX Builder to add and edit content
1. นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค. (2558). 7 วิธีดูแล “คุณพ่อสูงวัย” ห่างไกลโรคเรื้อรัง. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/30157-7%20”คุณพ่อสูงวัย”%20ห่างไกลโรคเรื้อรัง.html
2. ปรภัต จูตระกูล. (2561). หลัก 10 อ. การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/40299-หลัก%2010%20อ.%20การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ.html
3. สสส. คู่มือสุขสมวัยสำหรับการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564, จาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/files/7/Manual/คู่มือนิทรรศการ%20สุขสมวัย.pdf