หากพูดถึง คอนแทคเลนส์ หลาย ๆ คนคงคุ้นเคย เป็นอย่างดี เนื่องจาก ปัจจุบันเรานิยมใส่ คอนแทคเลนส์ แทนแว่นสายตา เนื่องจากความคล่องตัวในการใช้ชีวิต หรือเพราะความสวยงามด้วยเช่นกัน
คอนแทคเลนส์ มีความคมชัดในการมองภาพ สะดวกสบายในการใส่ มากกว่า รวมถึงหาซื้อได้ง่าย และสามารถใส่ เพื่อความสวยงามได้อีกด้วย แต่หากเราไม่ดูแลความสะอาดของ คอนแทคเลนส์ ให้ดี อาจทำให้ดวงตาติดเชื้อ และอาจเป็นอันตราย ถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ค่ะ บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก กับคอนแทคเลนส์และการใช้งาน อย่างถูกต้องให้มากขึ้นค่ะ
คอนแทคเลนส์แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่
-
คอนแทคเลนส์แบบรายวัน คือ ใส่ ถอด และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุกวัน
-
คอนแทคเลนส์แบบรายสัปดาห์ คือ ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์
-
คอนแทคเลนส์แบบรายเดือน คือ ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุก 1 เดือน
-
คอนแทคเลนส์แบบรายปี ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากต้องใช้การดูแลที่เข้มงวด
-
คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ต่อเนื่อง ปกติจะไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากต้องใส่ติดต่อกัน 2-4 สัปดาห์แล้วจึงเปลี่ยน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้มากกว่าแบบที่ใส่แล้วถอดทุกวัน
สิ่งสำคัญ ในการใช้คอนแทคเลนส์ คือ ต้องมีความเข้าใจ ในการใช้ เข้าใจการปฏิบัติตน ในการใส่ ถอด และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ ข้อแนะนำ เกี่ยวกับการใช้คอนแทคเลนส์ มีดังนี้
-
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อน สัมผัสคอนแทคเลนส์และดวงตา
-
ทำความสะอาด คอนแทคเลนส์และ กล่องใส่คอนแทคเลนส์ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องตามขั้นตอน ควรเลือกน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อกระจกตา ขจัดคราบโปรตีนและสิ่งสกปรก ให้ความชุ่มชื้นแก่คอนแทคเลนส์ก่อนการสวมใส่
-
อย่าใส่คอนแทคเลนส์ตอนนอน หรือขณะว่ายน้ำ และไม่ใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น
-
อย่าใช้น้ำประปา น้ำบาดาล หรือน้ำเกลือที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อในการล้างหรือทำความสะอาดคอนแทคเลนส์
-
ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ต่อเนื่องนานเกิน 8–10 ชั่วโมง/วัน ควรเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ตามระยะเวลาทกำหนดสำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดนั้นๆ
-
ขณะใส่คอนแทคเลนส์ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ตาแดง เจ็บตา มีขี้ตา ตาพร่ามัว ควรหยุดใส่คอนแทคเลนส์ และรีบพบจักษุแพทย์ทันที
ภาวะผิดปกติหรือโรคที่อาจเกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์
-
อาการตาแห้ง พบในผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์นาน 2-3 ปี การใส่คอนแทคเลนส์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การไหลเวียนของน้ำตาที่กระจกตาลดลง อาจมีความจำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมเพื่อลดอาการตาแห้ง
-
การอักเสบของกระจกตาและเยื่อบุตา
-
การเกิดตุ่มอักเสบที่เปลือกตาด้านใน เกิดจากการระคายเคือง
-
การอักเสบที่เยื่อบุผิวของกระจกตา จำเป็นต้องหยุดการใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าแผลจะหายเสียก่อน
-
การติดเชื้อที่กระจกตา เป็นโรคอันตรายที่สุด เนื่องจากอาจส่งผลให้ตาบอดถาวรได้ สาเหตุเป็นได้ทั้งจากตัวผู้ใช้ น้ำยาที่ใช้กับเลนส์ หรือภาชนะบรรจุเลนส์
การใช้คอนแทคเลนส์ มีประโยชน์ทั้งเรื่องสายตา และเพื่อความสวยงาม แต่หากใช้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิด การติดเชื้อและก่อให้เกิด โรคร้ายแรงอื่น ๆ จนถึงขั้นสูญเสีย การมองเห็นได้ ดังนั้นการใช้ และดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ อย่างถูกวิธีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ก่อนตัดสินใจใส่คอนแทคเลนส์ อย่าลืมเลือกหาน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ที่ สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อกระจกตา ขจัดคราบโปรตีน และสิ่งสกปรก รวมถึงให้ความชุ่มชื้นแก่ คอนแทคเลนส์ ก่อนการสวมใส่ ไว้ใช้คู่กันด้วยนะคะ
สามารถเลือกซื้อน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ Renu Fresh น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ได้มาตรฐาน มีคุณภาพสามารถซื้อได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขา ค้นหาสาขาที่ได้ที่นี่ exta.co.th/store หรือสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ ALL Online By 7-Eleven และ ShopAt24 มีบริการส่งฟรีที่เซเว่นอีเลฟเว่นสาขาใกล้บ้านด้วยนะคะ
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สายตา หรือ สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
- การใช้งานคอนแทคเลนส์ (no date) การใช้งานคอนแทคเลนส์ | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. Available at: https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/10192020-1103 (Accessed: October 20, 2022).
- “แพทย์แนะวิธีดูแลคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้อง” (2021) รามา แชนแนล. Available at: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%84/ (Accessed: October 20, 2022).