โรคซึมเศร้า ตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder หรือ SAD) คือการมีอารมณ์ ซึมเศร้า สะเทือนใจ มากกว่าปกติในบางฤดูกาลโดยเฉพาะในฤดูที่มีแสงแดดน้อย
เช่น ฤดูฝน และฤดูหนาว ในวันที่ฝนตกหนัก หรือเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว คนทั่วไปอาจมีความรู้สึก ซึมเศร้า ได้เมื่อสภาพอากาศมืดมัว ทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีพลังงานลดลง เหนื่อยหน่ายหดหู่
โรค ซึมเศร้า ตามฤดูกาล ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระดับของแสงอาทิตย์นี้ สัมพันธ์กับ “เมลาโทนิน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนในสมองที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยในช่วงกลางคืนจะมีการผลิตเมลาโทนินในระดับสูง ซึ่งเชื่อว่าอาจเป็นสาเหตุให้มนุษย์เกิดภาวะ ซึมเศร้า
คำแนะนำหากรู้สึกว่ามีภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล
- ช่วงกลางวันที่มีแดด แนะนำให้พยายามออกไปรับแสงแดดให้มาก หากหนาวเกินไปที่จะเดินออกไปนอกอาคารหรือนอกออฟฟิศก็ให้เปิดหน้าต่างให้มากที่สุดหรือนั่งติดหน้าต่าง เพื่อให้สายตาได้รับแสงแดด
- อาหารที่ควรรับประทาน
-
- กล้วยหอมเพราะกล้วยหอมช่วยลดการเกิดอาการ ซึมเศร้า ได้ เนื่องจากมีสารทริปโตแฟน (Tryptophan) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้ผ่อนคลาย มีความสุข นอกจากนี้ยังมีวิตามินบีที่สูง ช่วยในการทำงานของระบบประสาท และสมอง
- ปลาเช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า มีกรดไขมันที่ดีต่อสุขภาพอย่างกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดอาการซึมเศร้า และทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้นด้วย
- การออกกำลังกายช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียด และยังเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ พอเหงื่อออกก็กระตุ้นการทำงานของร่างกายให้กระฉับกระเฉง จึงลดภาวะเฉื่อยชาซึมเศร้า
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เนื่องจากส่งผลต่อการทำงานของสมอง
- หลีกเลี่ยงการรับความรู้สึกเชิงลบไม่ว่าจะเป็นการชมภาพยนต์ที่ โศกเศร้า หรือฟังดนตรีที่ เศร้า ให้เลือกชมภาพยนตร์ที่สนุกสนาน และฟังเพลงที่ทำให้สบายใจ
ยังมีเรื่องราวน่ารู้อีกมากเกี่ยวกับหน้าหนาว สอบถามทุกเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่วงหน้าหนาวเพิ่มเติมได้ที่ ร้านยาเอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาใกล้บ้าน สะดวกยิ่งกว่านั้น ขอแนะนำแอพพลิเคชั่น All Pharma See ปรึกษาเภสัชกรฟรี จะแชท หรือวิดีโอคอลก็ได้ พร้อมดูแลสุขภาพตลอดเวลาทำการเลยนะคะ แถมยังมีฟีเจอร์อื่นๆอีกมากมาย มาสุขภาพดี สะดวกทุกที่ ทุกเวลากันนะคะ
อ้างอิง
- ห้องสมุดโรงพยาบาลศรีธัญญา.//(2547).//โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล.//สืบค้นเมื่อ12 ตุลาคม 2563,/จาก/https://www.dmh.go.th/sty_lib/news/depression/view.asp?id=11
- คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.//โรคซึมเศร้า.//สืบค้นเมื่อ12 ตุลาคม 2563,/จาก/ http://www.student.chula.ac.th/~59370812/