ตับอักเสบเกิดจากอะไร ระวังยาที่กินประจำอาจทำร้ายตับได้

ตับอักเสบเกิดจากอะไร ระวังยาที่กินประจำอาจทำร้ายตับได้

ตับอักเสบเกิดจากอะไร อีกหนึ่งคำถามสุดน่าสนใจที่เราทุกคนควรรู้เอาไว้ในช่วงหน้าร้อน เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูดังกล่าว หลายคนอาจมองว่าความกังวลใจมีแค่เพียงเรื่องแดดแรงหรือโรคฮีทสโตรกเท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่า “ตับอักเสบ” ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในช่วงนี้ และกำลังกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ทานยาบางชนิดเป็นประจำ หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ รวมถึงคนที่ชอบใชยาสมุนไพรแบบไม่ผ่านการตรวจสอบ 

แม้ว่า “ตับ” จะเป็นอวัยวะที่ไม่มีเส้นประสาทรับความเจ็บปวด ทำให้หลายคนไม่รู้เลยว่าตับกำลังมีปัญหา จนกระทั่งอาการลุกลามมากขึ้นเรื่อย ๆ การรู้เท่าทันตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่า “ตับอักเสบเกิดจากอะไร” และสังเกตความผิดปกติเล็กน้อยในร่างกายได้ตั้งแต่ระยะแรก จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คุณดูแลสุขภาพตับไว้ได้อย่างยั่งยืน 

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจ โรคตับอักเสบให้ลึกขึ้น ทั้งในแง่ของประเภท สาเหตุ อาการ วิธีวินิจฉัย แนวทางรักษา ไปจนถึงการป้องกัน และการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมหากคุณหรือคนใกล้ตัวได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้แล้ว 

 

ทำความรู้จักกับ โรคตับอักเสบ ให้มากขึ้น 

 

ทำความรู้จักกับ โรคตับอักเสบ ให้มากขึ้น

 

โรคตับอักเสบ หรือ Hepatitis คือ ภาวะที่ตับเกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร ท้องร่วง ปวดท้องเฉียบพลัน อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือบางรายอาจมีอการปวดท้องใต้ชายโครงด้านขวาร่วมด้วย ซึ่งโรคตับอักเสบมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้ 

  1. แบบอักเสบเฉียบพลัน อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจดีขึ้นเองในไม่กี่สัปดาห์ 
  2. แบบอักเสบเรื้อรัง อาการค่อย ๆ สะสมและต่อเนื่องเกิน 6 เดือน ซึ่งเสี่ยงลุกลามเป็นตับแข็งหรือโรคมะเร็งตับได้ 

 

ตับอักเสบเกิดจากอะไร บ้าง? 

แม้ว่า “ตับ” จะเป็นอวัยวะที่ไม่ส่งเสียงเตือนในยามเจ็บป่วย แต่หากเกิดอักเสบขึ้นมาเมื่อไร ผลกระทบที่ตามมานั้นอาจลุกลามถึงชีวิตโดยไม่ทันตั้งตัว ซึ่งสาเหตุการเกิด โรคตับอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ปัจจัยหลัก ๆ เช่น 

 

1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 

 

ตับอักเสบเกิดจากอะไรบ้าง?

 

โดยอาการจะขึ้นอยู่กับเชื้อไวรัสที่ผู้ป่วยเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น 

  • ไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A Virus) มักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ (Fecaloral route) อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย ไข้ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลืองแบบเฉียบพลัน ในบางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผื่นผิวหนัง หรือปวดข้อได้ อาการมักจะหายได้เองในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันดี แต่ในบางกรณีอาจเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคตับเรื้อรังอยู่เดิม 
  • ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus) ติดต่อผ่านทางเลือด เพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูก อาการในระยะเฉียบพลัน ได้แก่ อ่อนเพลีย ไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง โดยอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อร่างกายกำจัดเชื้อได้เอง  
  • ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C Virus) ติดต่อทางเลือดเป็นหลัก เช่น การใช้เข็มร่วมกัน อาการในระยะเฉียบพลันมักไม่มี หรือมีเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 25-30% จะมีตัวเหลือง ตาเหลือง) ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ เมื่อกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง (พบได้ถึง 80% ของผู้ติดเชื้อ) จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และเมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้นอาจเกิดภาวะตับแข็ง ม้ามโต ท้องมาน ขาบวม เลือดออกง่าย สมองมึนงง หรือกลายเป็นมะเร็งตับได้ 
  • ไวรัสตับอักเสบดี (Hepatitis D Virus) ไวรัสชนิดนี้จะติดเชื้อได้เฉพาะในผู้ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B อยู่แล้ว อาการจะรุนแรงกว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B เพียงอย่างเดียว โดยอาจเกิดตับอักเสบเฉียบพลันรุนแรงหรือตับวายได้ง่ายขึ้น 
  • ไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E Virus) ติดต่อคล้ายไวรัสตับอักเสบ A คือผ่านทางอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน อาการโดยทั่วไปคล้ายกับไวรัสตับอักเสบ A ได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง แต่ในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะช่วงไตรมาสที่ 3 อาจเกิดภาวะตับวายรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรรับประทานอาหารด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ 

ทั้งนี้ อาการของโรคไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของอาการตับอักเสบเฉียบพลัน เช่น ไข้ อ่อนเพลีย ตัวเหลือง ตาเหลือง แต่ความรุนแรงและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจะแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัสและปัจจัยของผู้ป่วยแต่ละราย 

 

2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต 

 

ตับอักเสบเกิดจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิต

 

นอกจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับและภาวะตับอักเสบ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่รูปแบบการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้หากทำซ้ำเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของตับได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น  

  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน เช่น นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปูไข่ ไข่แดง ซึ่งทำให้เกิดไขมันสะสมในตับและเสี่ยงต่อโรคไขมันพอกตับ 
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งการดื่มในปริมาณมากและต่อเนื่อง จะทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย เกิดการอักเสบเรื้อรัง และนำไปสู่ภาวะตับแข็งได้ 
  • การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น หรือใช้ยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้อักเสบ และยาแก้ปวดบางชนิด เมื่อรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ตับทำงานหนักและเสี่ยงต่อการเกิดตับวาย 
  • ภาวะอ้วนลงพุงและน้ำหนักเกิน โดยไขมันส่วนเกินจะถูกสะสมที่ตับจนเกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจพัฒนาเป็นตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็ง 
  • การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป  ซึ่งเครื่องดื่มรสหวาน นอกจากจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับ เพิ่มความเสี่ยงโรคไขมันพอกตับ แม้ในผู้ที่ไม่อ้วนก็ตาม 
  • การสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ ส่งผลให้ตับต้องทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับ 
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เพิ่มโอกาสรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรืออาหารเสริมโดยไม่จำเป็น จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันโรคตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

เราสามารถตรวจวินิจฉัย โรคตับอักเสบอย่างไรได้บ้าง? 

 

เราสามารถตรวจวินิจฉัย “โรคตับอักเสบ” อย่างไรได้บ้าง?

 

การวินิจฉัยโรคตับอักเสบมีความสำคัญอย่างยิ่งในการระบุชนิดของโรค ประเมินความรุนแรง และวางแผนการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักพบผลโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยแนวทางในการตรวจสุขภาพหลัก ๆ ที่แพทย์ใช้มีดังนี้ 

  1. การซักประวัติและตรวจร่างกาย
    แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมเสี่ยง การใช้ยา การมีเพศสัมพันธ์รวมถึงตรวจร่างกายเพื่อหาสัญญาณของโรค เช่น ภาวะดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง) ตับโต หรืออาการบวม 
  2. การตรวจเลือด
    เพื่อค่าการทำงานของตับที่ผิดปกติ รวมไปถึงการตรวจหาเชื้อไวรัส ที่อาจก่อให้เกิดโรคตับอักเสบ
  3. ตรวจด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan)
    เป็นการตรวจไขมันในตับสูงและการตรวจพังผืด ที่ช่วยประเมินปริมาณไขมันในตับโดยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว และใช้เวลาไม่นาน
  4. การตรวจชิ้นเนื้อตับ (Liver Biopsy)
    ในบางกรณีที่ต้องการประเมินความรุนแรงหรือระยะของโรค แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเก็บตัวอย่างเนื้อตับมาตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยา

 

หากผู้ป่วยพบว่าเป็น “โรคตับอักเสบ” ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? 

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคตับอักเสบ ผู้ป่วยควรดูแลตนเองอย่างเหมาะสมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้ตับฟื้นฟู ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน และป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยแนวทางการดูแลตนเองที่สำคัญ ได้แก่ 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับวันละ 7–8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายและตับฟื้นตัวได้ดี 
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม เลือกอาหารสะอาด ย่อยง่าย ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารมันจัด แปรรูป และใส่สารกันบูด 
  • งดแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ทำร้ายตับโดยตรง ควรงดดื่มทุกชนิด 
  • หลีกเลี่ยงยาหรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาสมุนไพรหรืออาหารเสริมที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ 
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือโยคะ หลีกเลี่ยงการออกแรงหนัก 
  • ควบคุมน้ำหนัก โดยเฉพาะในผู้ที่มีไขมันพอกตับ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมอาหาร 
  • ดูแลสุขอนามัยส่วนตัว ได้แก่ ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรค, หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคม และของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น 
  • เพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัย ลดความเสี่ยงการติดไวรัสตับอักเสบ B, C, D 
  • ตรวจสุขภาพตามนัด เพื่อตรวจเลือดและอัลตราซาวนด์ตามคำแนะนำแพทย์ และติดตามอาการ 
  • ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยา ปรับขนาด หรือเปลี่ยนยาเอง เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ 

 

วิธีดูแลตนเอง และป้องกันไม่ให้เกิด “โรคตับอักเสบ”

 

วิธีดูแลตนเอง และป้องกันไม่ให้เกิด “โรคตับอักเสบ”

 

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ A และ B ให้ครบตามกำหนด 
  2. เลือกรับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด 
  3. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน สักหรือเจาะในร้านที่ไม่สะอาด และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน 
  4. ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี โดยเฉพาะเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพตับในระยะยาว 
  5. งดสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่ทำให้ตับทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับ 
  6. ตรวจสุขภาพตับอย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดและอัลตราซาวนด์ช่องท้องเป็นระยะ 

 

การใช้สิทธิบัตรทองในการขอรับยาสามัญประจำบ้าน 

สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย ฯลฯ สามารถใช้สิทธิบัตรทอง เพื่อรับบริการที่ร้านยาที่เข้าร่วม “โครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ได้ ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา และจ่ายยาที่จำเป็นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับรักษาอาการคันที่ร้านยา สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [เช็กรายชื่อร้านยาได้ที่นี่] โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้เข้าร่วมโครงการสิทธิบัตรทอง พร้อมให้บริการ Delivery จัดส่งยาและสินค้าสุขภาพถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee 

 

ใช้บริการ Delivery คลิกเลย! 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ โรคตับอักเสบ 

Q: เราสามารถรู้ได้อย่างไร ว่ากำลังเสี่ยงเป็น “โรคตับอักเสบ” 

A: โรคตับอักเสบมักไม่มีอาการแสดงในระยะแรก เนื่องจากเป็นโรคร้ายภัยเงียบ ที่ผู้ป่วยควรระมัดระวัง ทั้งนี้ เราสามารถตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเช็กค่าตับ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม 

Q: ค่าตับสูง เสี่ยงโรคตับอักเสบควรงดกินอะไร? 

A: แอลกอฮอล์ทุกชนิด, ของทอด, ขนมหวาน, น้ำอัดลม, อาหารแปรรูป, เครื่องดื่มที่มีปริมาณกาเฟอีนสูง รวมถึงอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค 

Q: ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาอะไร ที่อาจทำให้เกิดโรคตับอักเสบ? 

A: ยาแก้ปวดพาราเซตามอล (ในปริมาณมาก), ยาปฏิชีวนะบางตัว และสมุนไพรบางชนิด โดยแนะนำให้ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือ 

Q: โรคตับอักเสบ มียารักษาไหม?  

A: ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค โดยไวรัสตับอักเสบ B และ C จะใช้ยาต้านไวรัสเพื่อลดอาการ ส่วนกรณีอื่นอาจใช้ยาลดอักเสบ หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย 

 

สรุป ตับอักเสบเกิดจากอะไร ระวังยาที่กินประจำอาจทำร้ายตับได้ 

โรคตับอักเสบ คือภาวะที่ตับเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง สาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ (A, B, C, D, E) และพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ กินอาหารมันหรือดิบ ใช้ยาหรือสมุนไพรเกินความจำเป็น และไม่ได้ถูกรับรองตามมาตรฐาน และคำแนะนำการใช้ยาจากแพทย์ที่น่าเชื่อถือ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น จะช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ที่มา 

ตับอักเสบเกิดจากอะไร (Hepatitis) จาก สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B infection) จาก สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย  

Hepatitis จาก World Health Organization  

What Is Viral Hepatitis? จาก National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases 

Hepatitis: What It Is, Symptoms, Transmission & Treatments จาก Cleveland Clinic 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ แล้วมาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก