กลาก เกลื้อน โรคทางผิวหนังที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากวัยดังกล่าวจะมีการทำงานของต่อมไขมันที่มากขึ้น รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพผิวหนังโดยตรง อีกทั้งในกลุ่มของนักกีฬา หรือผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ร้อนและชื้น ที่มีเหงื่อออกมาก เช่น นักกีฬา มักมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ง่ายอีกด้วย
แต่รู้หรือไม่ว่า ? โรคกลาก เกลื้อนไม่ใช่โรคเดียวกัน แท้จริงแล้วทั้งสองโรคนี้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งในด้านของสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ไขข้อเข้าใจผิด! กลาก เกลื้อนไม่ใช่โรคเดียวกัน ต่างกันอย่างไร มาฝากกัน
ทำความรู้จักกับโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ให้มากขึ้น
โรคกลาก หรือ Ringworm คือ อาการคันผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มของ Dermatophytes ซึ่งสามารถติดเชื้อได้ง่ายจากการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่มีเชื้อ โดยมักแสดงอาการเป็นผื่นวงกลมสีแดงหรือวงแหวนที่มีขอบชัดเจน พร้อมอาการคัน ซึ่งสามารถเกิดได้ทั่วร่างกายทั้งหนังศีรษะใบหน้า ลำตัว และบริเวณเท้า
ในขณะที่โรคเกลื้อน หรือ Tinea Versicolor จะเป็นโรคทางผิวหนัง ที่เกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่บนผิวหนังคนปกติอยู่แล้ว แต่ถูกกระตุ้นด้วยความร้อน เหงื่อ หรือภูมิคุ้มกันที่ตกลง ผู้ที่เป็นจะมีผื่นสีขาว น้ำตาล หรือแดง เกิดขึ้นบริเวณผิวที่มีความชื้นสูง โดยจะมีอาการคันเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลยขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย
ความแตกต่างสำคัญระหว่าง กลาก เกลื้อน เป็นอย่างไร ?
ชื่อโรค |
กลาก | เกลื้อน |
สาเหตุ |
เชื้อรา Dermatophyte |
เชื้อรา Malassezia furfur |
ลักษณะผื่น |
วงกลม มีขอบชัดเจน |
เป็นปื้นสีไม่สม่ำเสมอ |
อาการคัน |
มักมีอาการคันมาก |
อาจมีอาการคันเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลยขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย |
ตำแหน่งที่พบ |
ทุกส่วนของร่างกาย |
บริเวณที่มีเหงื่อออกมาก |
ตารางเปรียบเทียบลักษณะอาการของโรคกลาก เกลื้อน
วิธีการรักษากลาก เกลื้อน สามารถทำอย่างไรได้บ้าง ?
ปัจจุบัน การรักษากลากและเกลื้อนให้หายเร็วที่สุด ผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์เมื่อพบว่ามีอาการทางผิวหนังที่ผิดปกติ อีกทั้งไม่แนะนำให้ซื้อยามาใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นในรูปของยาทา หรือยารักษาชนิดรับประทานกลาก เกลื้อน เนื่องจากตัวยาบางชนิดที่ใช้มักจะมีสารฆ่าเชื้อรา หรือสเตียรอยด์ ที่อาจส่งผลกระทบในระยะยาวหรือทำให้เกิดอาการรุนแรง หากใช้อย่างผิดวิธี
ดังนั้น แนะนำให้แพทย์ทำการวินิจฉัย รวมถึงพิจารณาในการเลือกใช้ตัวยาที่เหมาะสมกับโรค และบริเวณที่เกิดผื่น หรือเป็นปื้นจะดีที่สุด เพื่อให้แผนในการรักษามีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีความกังวลใจ หรือไม่มั่นใจในเรื่องของอาการที่เป็นอยู่ สามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรที่น่าเชื่อถือใกล้บ้าน หรือแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee ตัวช่วยที่พร้อมให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพกับคุณตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีค่าใช้จ่าย
ดูแลตนเองอย่างไร เมื่อรู้ตัวว่าเป็น กลาก เกลื้อน ?
1. รักษาความสะอาดร่างกายให้ดี
การรักษาความสะอาดเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการป้องกันและรักษาโรคกลาก เกลื้อน โดยควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้สบู่ที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อรา เพื่อกำจัดเชื้อราที่อาจสะสมอยู่บนผิวหนัง เพราะการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดการเจริญเติบโตของเชื้อรา รวมทั้งช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค
2. เช็ดร่างกายให้แห้งหลังอาบน้ำเสร็จ
โดยเฉพาะในบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ซอกข้อพับ ร่องระหว่างนิ้วมือและเท้า เป็นต้น เพราะการเช็ดให้แห้งจะช่วยลดโอกาสที่เชื้อราจะเติบโตในพื้นที่ชื้นได้
3. หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่อับชื้นเพื่อป้องกันกลาก เกลื้อน
โดยแนะนำให้ใส่ผ้าฝ้าย หรือผ้าคอตตอนแทน เนื่องจากสามารถระบายอากาศถ่ายเทได้ดีกว่าผ้าแบบรัดรูป ที่ทำให้เกิดเหงื่อ และความอับชื้นได้
4. งดการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่เป็นโรคกลาก เกลื้อน
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีอาการกลาก เกลื้อน รวมถึงไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน หรือเสื้อผ้า เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
5. ใช้สบู่หรือแชมพูที่มีส่วนผสมของสารต้านเชื้อรา
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารต้านเชื้อรา เช่น สบู่หรือแชมพูที่มีส่วนผสมของ Ketoconazole หรือ Clotrimazole จะช่วยในการกำจัดเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ควรใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตามคำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเภสัชกรชั้นนำเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการรักษา
ทั้งนี้ การเข้าใจความแตกต่างระหว่างกลากและเกลื้อนจะช่วยให้เราสามารถรักษาและรู้วิธีป้องกันโรคเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
การใช้สิทธิบัตรทองในการรักษากลาก เกลื้อน ที่ร้านยา
สำหรับผู้ที่พบว่ามีปัญหาผิวหนังและมีกลากเกลื้อนบริเวณตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย สามารถใช้สิทธิบัตรทอง เพื่อรับบริการที่ร้านยาที่เข้าร่วม “โครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ได้ ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา และจ่ายยาที่จำเป็น เช่น ยาทาแบบน้ำ, ยาฆ่าเชื้อชนิดครีม รวมไปถึงชนิดแบบรับประทาน ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับรักษาโรคดังกล่าวที่ร้านยา สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [ เช็กรายชื่อร้านยาได้ที่นี่ ] โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส เรามีบริการ Delivery จัดส่งยาและสินค้าสุขภาพถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee
ใช้บริการ Delivery คลิกเลย!
ทั้งนี้ การใช้สิทธิบัตรทองในการรักษาโรคกลากเกลื้อนที่ร้านยา เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้มีอาการที่ไม่รุนแรง และต้องการการดูแลเบื้องต้นโดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเท่านั้น หากมีอาการของโรคที่รุนแรงควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกลาก และเกลื้อน
-
เกลื้อนสามารถหายเองได้หรือไม่ ?
ไม่สามารถหายเองได้ แต่มีวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ โดยควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเกี่ยวกับเชื้อบนผิวเนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ ดังนั้นหากพบเจอโรคดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา และจ่ายยาอย่างถูกต้อง
-
โรค กลาก เกลื้อน สามารถติดต่อกันได้ไหม ?
สำหรับโรคกลากสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน หรือคนสู่คนได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือใช้ของร่วมกันกับผู้ที่มีเชื้อ ส่วนในกรณีของเกลื้อน จะไม่ใช่โรคติดต่อ และแพร่ต่อกันไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที
-
ปัจจุบันการรักษาโรค กลาก เกลื้อน มีวิธีใดบ้าง ?
การรักษาโรคกลากเกลื้อนในปัจจุบันมีหลายวิธี โดยส่วนใหญ่จะใช้ยาภายนอก และยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็น ยาทาแบบน้ำ, ยาฆ่าเชื้อชนิดครีม รวมไปถึงชนิดแบบรับประทาน โดยอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
-
โรค กลาก เกลื้อน สามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม ?
ทั้งสองโรคสามารถให้ขาดได้ ขึ้นอยู่กับการรักษาที่ถูกต้อง และการดูแลรักษาความสะอาดอย่างเหมาะสม
สรุป
แม้ว่าโรคกลาก เกลื้อนจะเป็นโรคทางผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราคนละชนิด แต่ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวมักเกิดจากการสะสมของสิ่งสกปรก ความอับชื้น รวมถึงการดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่เพียงพอ ทั้งนี้สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา พร้อมกับดูแลสุขอนามัยที่เหมาะสม
ที่มา
เกลื้อน จาก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
กลากและเกลื้อน เชื้อราบนผิวหนังป้องกันได้ จาก กรมประชาสัมพันธ์
โรคผิวหนังจากเชื้อรา ที่มากับหน้าร้อน จาก ศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย
Ringworm จาก Cleveland Clinic
Tinea versicolor – Symptoms & causes จาก Mayo Clinic
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง