ในปัจจุบัน โรคไซนัสอักเสบ และ ภูมิแพ้อากาศ กลายเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษ และสารก่อภูมิแพ้ ทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับอาการที่รบกวนในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล และปวดศีรษะ และแม้ว่าทั้ง 2 โรคจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีอาการบางอย่างที่แตกต่างกัน
ภูมิแพ้อากาศ และไซนัสอักเสบ เกิดจากอะไร มีอาการแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัสมีข้อมูลเกี่ยวกับ ภูมิแพ้อากาศ กับ ไซนัสอักเสบ เหมือนกันไหม? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? มาฝากกัน
ภูมิแพ้อากาศ คืออะไร มีสาเหตุจากอะไร ?
ภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis) หรือ “โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้” คือ การอักเสบของเยื่อบุจมูก ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป ทำให้เกิดอาการ คัดจมูก คันจมูก จาม น้ำมูกไหล โดยภูมิแพ้อากาศเป็นโรคที่พบได้ทุกเพศ ทุกวัย ส่วนมากมักเกิดอาการเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากอุณหภูมิ และความชื้นที่เปลี่ยนไปจะส่งผลกับการเจริญเติบโตของสารกระตุ้นที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา ดอกหญ้า และเกสรดอกไม้บางชนิด ที่เติบโตในบางช่วงของปี พออุณหภูมิเปลี่ยนอาจจะส่งผลให้เชื้อเจริญเติบโตมากขึ้น หรือฟุ้งกระจายมากยิ่งขึ้น
อาการ ภูมิแพ้อากาศ มีอะไรบ้าง ?
- คัดจมูก คันจมูก มีน้ำมูกใส บางรายอาจคันตา คันเพดานปาก คันในคอ หรือคันในหู
- จามติดกันหลาย ๆ ครั้ง
- ไอ มีเสมหะมาก กระแอมบ่อย เนื่องจากน้ำมูกไหลลงคอ
- หากป่วยเป็นระยะเวลานานเยื่อบุในจมูกจะบวม แดง
- อาการจะเป็นหนักขึ้น เมื่อได้รับสารกระตุ้น หรือสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
- อาการอื่น ๆ เช่น หูอื้อ ปวดมึนศีรษะ
- มักพบบ่อยในบางฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงที่มีเกสรดอกไม้มาก ๆ
รู้หรือไม่ 💡 ภาวะโลกร้อนก็ส่งผลต่ออาการของภูมิแพ้ด้วย
เนื่องจากกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ต้นไม้โตเร็วขึ้น ดอกไม้ผลิตละอองเกสรมากขึ้น เพิ่มโอกาสการรับสารก่อภูมิแพ้ในมนุษย์ นอกจากนี้ มลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ และโรงงานอุตสาหกรรม ยังส่งผลให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุจมูกอีกด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของ ภูมิแพ้อากาศ
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง และเหมาะสม อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ โรคริดสีดวงจมูก โรคไซนัสอักเสบ และโรคหอบหืด
วิธีป้องกัน และรักษา ภูมิแพ้อากาศ
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หากไม่ทราบว่าตนเองแพ้อะไร สามารถไปทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง* ได้
- ใช้ยารักษา 3 กลุ่ม ได้แก่
-
- ยาต้านการอักเสบ กลุ่มเสตียรอยด์แบบพ่นจมูก
-
- ยาต้านฤทธิ์ Leukotriene ลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก
-
- ยาต้านฤทธิ์ Histamine เพื่อลดอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก และคันตา
- ใช้วิธีรักษารูปแบบอื่น ๆ เช่น การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
- ฉีดวัคซีน ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการมาก ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา โดยฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าร่างกายทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้
- ทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะห้องนอน ควรดูดฝุ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- ทำความสะอาดหมอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ทุก ๆ 1-2 สัปดาห์
- เปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเท ไม่มีมุมอับชื้น เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
- ดูแลสุขภาพร่างกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
หมายเหตุ ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Prick Test) คือ การตรวจหาปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ผ่านการสะกิดผิวหนัง เพื่อให้ผู้ป่วยทราบว่าแพ้สารชนิดใด
ไซนัสอักเสบคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร ?
ไซนัส (Sinusitis) คือ โพรงอากาศข้างจมูกภายในกะโหลกศีรษะ ช่วยปรับอากาศภายในโพรงจมูก เมื่อมีอาการอักเสบ เยื่อบุไซนัสจะบวมขึ้น และรูเปิดไซนัสจะปิดลง ทำให้อากาศระบายไม่ได้ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของการอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือได้รับสารก่อภูมิแพ้
ไซนัสอักเสบสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่
- โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน โดยจะมีอาการไม่เกิน 4 สัปดาห์
– เกิดจากเชื้อไวรัส พบประมาณ 90-98% มักมีอาการไม่เกิน 10 วัน และจะหายได้เอง
– เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พบประมาณ 2-10% ในเด็ก มีอาการของหวัด หรือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนนานกว่า 10 วัน และมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส มีน้ำมูกขุ่น ปวดบริเวณใบหน้า ติดต่อกัน 3-4 วัน
– เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อย่างเช่น สารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น
- โรคไซนัสอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลัน จะมีอาการ 4 ถึง 12 สัปดาห์
- โรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง มีอาการตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และอาจมีอาการของโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันแทรกเป็นระยะ ๆ ได้
อาการของไซนัสอักเสบ มีอะไรบ้าง ?
- คัดจมูก แน่นจมูก น้ำมูกมีสี
- ปวดตึงบริเวณใบหน้า
- ได้กลิ่นลดลง หรือไม่ได้กลิ่นเลย
- ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
- ไอมีเสมหะร่วมด้วย
- มีไข้
- อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดฟัน เป็นต้น
ไซนัสอักเสบ มักเกิดหลังอาการหวัด เนื่องจากเมื่อเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะบวม รูเปิดไซนัสก็จะบวมตาม เมือกที่อยู่ในไซนัสจะไม่สามารถขับออกมาได้ ทำให้เกิดอาการอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ
ไซนัสอักเสบ สามารถติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ หากดูแลอย่างไม่เหมาะสม เช่น
– กระบอกตา ส่งผลให้ตาบวม ไปจนถึงขั้นตาบอดได้
– สมอง ส่งผลให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
– เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน และล่าง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ทำให้หูอื้อ เป็นต้น
วิธีป้องกัน และรักษาไซนัสอักเสบ
- หากเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน) แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ
- หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส จะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด, ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
- รักษาโรคพื้นฐานที่ส่งเสริมการเป็นไซนัส เช่น โพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ แพทย์จะให้ยาแก้แพ้ หรือยาต้าน Histamine
- หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- ดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
สำหรับใครที่กำลังมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก ไอ มีไข้ หรือปวดตึงบริเวณใบหน้า ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของไซนัสอักเสบ หรือภูมิแพ้อากาศ หากไม่มั่นใจในอาการที่เป็นอยู่ หรือมีความกังวลใจ สามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรที่น่าเชื่อถือใกล้บ้าน หรือแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee ตัวช่วยที่พร้อมให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพกับคุณโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ใช้บริการ Delivery คลิกเลย!
ภูมิแพ้อากาศ กับ ไซนัสอักเสบ แตกต่างกันอย่างไร
ภูมิแพ้อากาศ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุจมูก หลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป และอาจพัฒนาไปสู่โพรงไซนัสอักเสบได้ ส่วนไซนัสอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ทำให้โพรงไซนัสอักเสบ ไม่สามารถระบายน้ำมูกได้ โดยเราสามารถแยกความแตกต่างของทั้ง 2 โรคนี้ด้วยอาการ ดังนี้
อาการภูมิแพ้อากาศ |
อาการไซนัสอักเสบ |
|
|
คำถามที่พบบ่อย
ภูมิแพ้อากาศ เป็นกี่วัน ?
ภูมิแพ้อากาศ ส่วนมากมักมีอาการมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป โดยมีอาการ น้ำมูกไหลเป็นสีใส คันตา คันคอ จามติดกันหลายครั้ง
มีผื่นคันจากภูมิแพ้อากาศ แก้อย่างไร ?
หากมีผื่นแพ้อากาศให้ทาครีมที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เพื่อลดอาการอักเสบ และบวมให้ดีขึ้น ทั้งนี้การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสูตรอ่อนโยน ให้ความชุ่มชื้น ไม่อาบน้ำเป็นเวลานาน พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
เป็นไซนัสควรหลีกเลี่ยงอะไร ?
ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีฝุ่น ควัน หรือสารเคมี ไม่อยู่ในที่ที่อุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน รวมถึงต้องหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ควรงดบุหรี่ และแอลกอฮอล์
ไซนัสอักเสบ กับ หวัด ต่างกันยังไง ?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหวัด มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งจะหายได้เองโดยประมาณ 10 วัน หากผู้ป่วยมีอาการนานกว่า 10 วัน อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง จะถือว่าผู้ป่วยได้ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบ
สรุป
ภูมิแพ้อากาศ และไซนัสอักเสบมีความเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นภูมิแพ้อากาศ สามารถพัฒนาไปเป็นโรคไซนัสอักเสบได้ แต่ก็มีอาการที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เช่น หากป่วยเป็นภูมิแพ้ น้ำมูกจะมีสีใส คันตา คันจมูก จามติดกันหลายครั้ง มักมีอาการหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ ในขณะที่ผู้ป่วยไซนัสอักเสบจะมีน้ำมูกสีข้น ปวดตึงบริเวณใบหน้า ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น โดยทั้ง 2 โรค หากดูแลอย่างไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าว ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ รวมถึงดูแลสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
ที่มา
สาเหตุของโรคแพ้อากาศ ตอนที่1 จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อากาศเปลี่ยน เสี่ยงภูมิแพ้ ? จาก RAMA Channel
น้ำมูกเขียว (ไซนัสอักเสบ) เมื่อไรต้องให้ยาปฏิชีวนะ ? จาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
เป็นแค่หวัด หรือไซนัสอักเสบ จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
โรคจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ผลของการเปลี่ยนแปลงของอากาศต่อโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
จมูกอักเสบเป็นไซนัส หรือ ภูมิแพ้กันแน่ จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไซนัสอักเสบ รู้ได้อย่างไร จาก RAMA Channel
โรคแพ้อากาศ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สาเหตุของโรคแพ้อากาศ (ตอนที่1) จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
การรักษาโรคแพ้อากาศ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โรคภูมิแพ้ จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เกร็ดความรู้คู่สุขภาพ I ไซนัสอักเสบ โรคเกี่ยวกับภูมิเเพ้ จาก ติดจอ ฬ.จุฬา
แพ้อะไรรู้ได้ด้วย การทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง จาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่
หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง