ไอแห้ง VS ไอมีเสมหะ ต้องเลือกใช้ ยาแก้ไอ ให้ตรงกับอาการ

เลือกใช้ยาแก้ไอให้ตรงกับอาการ

เคยไหม? อาการไอที่ดูเหมือนเล็กน้อยกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่รบกวนชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะไอกลางคืนจนหลับไม่สนิท หรือไอในที่สาธารณะจนอาจไปรบกวนคนรอบข้าง ยาแก้ไอ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก แต่เมื่อทานไปแล้วบางครั้งอาการกลับไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงกว่าเดิม นั่นเป็นเพราะ ยาแก้ไอ แต่ละประเภทมีคุณสมบัติแตกต่างกัน และการใช้ยาไม่ตรงกับประเภทของอาการ อาจไม่ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้  

 

บทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ประเภทของอาการไอแห้ง VS ไอแบบมีเสมหะ พร้อมแนะนำวิธีเลือก ยาแก้ไอ ที่เหมาะสมมาฝากกัน 

 

รู้จักอาการไอแห้ง และไอแบบมีเสมหะ ก่อนเลือก ยาแก้ไอ 

อาการไอเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกาย เมื่อมีสิ่งผิดปกติเข้ามาในระบบทางเดินหายใจ เช่น เชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอม โดยจะใช้การไอเพื่อกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป เป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และป้องกันไม่ให้ระบบทางเดินหายใจถูกทำลาย 

 

อาการไอ(Cough) เป็นอาการที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติของร่างกาย เมื่อตัวรับสัญญาณการไอถูกกระตุ้นโดยสิ่งแปลกปลอม หรือเกิดการระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน และส่วนล่าง ได้แก่ บริเวณช่องหู เยื่อบุแก้วหู จมูก โพรงอากาศข้างจมูก (ไซนัส) โพรงหลังจมูก คอหอย กล่องเสียง หลอดลม ปอด กะบังลม และเยื่อหุ้มปอด 

 

นอกจากระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังพบตัวรับสัญญาณการไอในบริเวณอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจ และกระเพาะอาหาร โดยจะส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 ไปยังศูนย์ควบคุมการไอ (Cough Center) ในสมองส่วนเมดัลลา (Medulla) จากนั้นจะสั่งการให้กล้ามเนื้อ และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจทำงาน เช่น กล้ามเนื้อกะบังลม กล้ามเนื้อซี่โครง กล้ามเนื้อท้อง และกล่องเสียง เพื่อเพิ่มแรงดันในหลอดลม ทำให้เกิดการตีบแคบ และเกิดอาการไอตามมา  

 

ซึ่งอาการ ไอ นั้นแบ่งออกเป็นหลายประเภท ใบบทความนี้จะขอนำเสนอ ประเภทของอาการไอที่เกี่ยวข้องกับเสมหะ ที่มีทั้งหมด 2 แบบ  

  • ไอแบบมีเสมหะ (Productive Cough หรือ Wet Cough) เป็นการไอที่มีเสมหะหรือเมือกออกมาร่วม 
  • ไอแห้ง หรือไอแบบไม่มีเสมหะ (Non-Productive Cough หรือ Dry Cough) การไอที่ไม่มีเสมหะ อาจเกิดจากการระคายเคืองในลำคอหรือทางเดินหายใจ 

 

ความแตกต่างระหว่างไอแห้ง และไอแบบมีเสมหะ 

 

ความแตกต่างระหว่างไอแห้ง และไอแบบมีเสมหะ

 

ไอแห้ง 

ไอแห้ง (Dry Cough) เป็นอาการไอที่ไม่มีเสมหะร่วมด้วย มักเกิดจากการระคายเคืองในลำคอ หรือหลอดลม สาเหตุของไอแห้งอาจมาจากการแพ้ อากาศแห้ง หรือโรคบางชนิด เช่น หลอดลมอักเสบ หรือหืด 

 

ไอแบบมีเสมหะ 

ไอแบบมีเสมหะ (Productive Cough) เป็นอาการไอที่มาพร้อมกับการหลั่งของเสมหะ อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือหลอดลมอักเสบ การไอจะช่วยขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจ 

 

อาการไอทั้ง 2 ประเภทจะใช้วิธีรักษาด้วยยาแก้ไอ ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่มักจะใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยตัวยาที่ใช้จะมีทั้งตัวยาสังเคราะห์ และตัวยาจากสมุนไพรแก้ไอ ปัจจุบัน ยาชนิดนี้แบ่งออกตามประเภทของอาการไอ การเลือกยาให้เหมาะสมจึงสำคัญตามมาด้วย 

 

ทำไมการเลือก ยาแก้ไอ ให้ถูกประเภทจึงสำคัญ 

ยาแก้ไอได้รับการผลิตให้มีการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันตามประเภทของอาการไอ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น จึงควรเลือกใช้ยาให้ตรงลักษณะอาการ ในขณะเดียวกัน หากเลือกยารักษาไม่ตรงอาการอาจทำให้อาการไอไม่ดีขึ้น หรือในบางกรณีมีโอกาสที่อาการจะแย่ลง เช่น การใช้ยากดอาการไอกับไอมีเสมหะอาจทำให้เสมหะสะสมในปอดได้ 

 

ประเภทของ ยาแก้ไอทั่วไป (Over-the-Counter) 

 

ประเภทของ ยาแก้ไอ ทั่วไป

 

ยาขับเสมหะ (Expectorants) 

ยาแก้ไอขับเสมหะ เหมาะสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ ทำให้ร่างกายผลิตน้ำออกมาหล่อเลี้ยงทางเดินหายใจมากขึ้น ช่วยทำให้เสมหะเหลวลง และขับออกได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไอมีเสมหะ ตัวอย่างเช่นยาแก้ไอ Guaifenesin ซึ่งพบได้ในผลิตภัณฑ์ เช่น Mucinex และ Robitussin 

 

ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) 

ยาแก้ไอชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับเสมหะโดยตรง เหมาะสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ ช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ยาแก้ไอทำให้เสมหะถูกขับออกจากทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น Bromhexine (Bisolvon) และ Acetylcysteine (Fluimucil) 

 

ยากดอาการไอ (Suppressants) 

ยากดอาการไอ หรือยาแก้ไอ ชนิดกดประสาทส่วนกลาง เหมาะสำหรับอาการไอแห้ง ช่วยลดความถี่ของการไอ โดยเหมาะกับอาการไอแห้งไม่มีเสมหะ ตัวอย่างเช่น Dextromethorphan ที่พบในยาประเภท Delsym และ Vicks DayQuil 

 

วิธีใช้ ยาแก้ไอ ให้ปลอดภัยและได้ผล 

เลือก ยาแก้ไอ ตามประเภทของอาการไอ 

การเลือกใช้ยาต้องพิจารณาประเภทของอาการไอ เช่น หากมีเสมหะ ควรเลือกใช้ยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะ แต่หากเป็นไอแห้งควรใช้ยากดอาการไอ 

 

หลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาด 

การใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือในกรณีรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชัก หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 

 

ไม่ควรใช้ ยาแก้ไอ ร่วมกับยาประเภทเดียวกันซ้ำซ้อน 

ยาแก้ไอบางชนิดมีส่วนผสมที่คล้ายกัน เช่น ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของ Guaifenesin และ Dextromethorphan ควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกันเพื่อป้องกันการได้รับปริมาณยาที่เกินขนาด 

 

ปฏิกิริยาระหว่างยาแก้ไอ กับยาชนิดอื่น 

ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาแก้ไอ เช่น 

  • Dextromethorphan อาจทำปฏิกิริยากับยาต้านเศร้า และยาควบคุมความดันโลหิต เช่น Celecoxib 
  • Guaifenesin อาจเพิ่มผลข้างเคียงหากใช้ร่วมกับยากลุ่มโอปิออยด์ หรือยากันชัก 

ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หากมีโรคประจำตัว หรือกำลังใช้ยาอื่นร่วมด้วย 

 

ความเสี่ยงที่ควรระวังจากการใช้ ยาแก้ไอ เกินขนาด 

การใช้ยาแก้ไอเกินขนาดอาจนำไปสู่ผลกระทบที่ร้ายแรง ตัวอย่างเช่น การใช้ Dextromethorphan มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการหลอน หรือแม้กระทั่งอาการโคม่า ซึ่งการใช้ ยาแก้ไอ เกินขนาดมักทำให้เกิดอาการดังนี้ 

  • ปัญหาการหายใจ 
  • ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ 
  • การมองเห็นพร่ามัว 
  • อาการชัก 
  • คลื่นไส้และอาเจียน 
  • หากสงสัยว่าเกิดการใช้ยาเกินขนาด ควรติดต่อสายด่วนช่วยเหลือพิเศษ 1669 หรือเข้ารับการรักษาฉุกเฉินทันที 

 

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย หากอาการไอยังคงอยู่ หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น เสมหะมีเลือดปน มีไข้สูงร่วมด้วย หรือหายใจลำบาก เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง อาเจียนหรือมีเสมหะเป็นเลือด 

ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีความกังวลใจ ไม่มั่นใจในเรื่องของอาการที่เป็นอยู่ หรือสงสัยในการใช้ยาแก้ไอ สามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรที่น่าเชื่อถือใกล้บ้าน หรือแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee ตัวช่วยที่พร้อมให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพกับคุณโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

 

การใช้สิทธิบัตรทองในการรับยาแก้ไอ ที่ร้านยา     

สำหรับผู้ที่มีอาการ ไอ สามารถใช้สิทธิบัตรทองเพื่อรับบริการที่ร้านยาที่เข้าร่วม “โครงการร้านยาคุณภาพของฉัน ให้บริการดูแลอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย 32 อาการ” ได้ ซึ่งจะมีเภสัชกรคอยให้คำปรึกษา และจ่ายยาแก้ไอที่จำเป็น ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   

ผู้ที่ต้องการใช้สิทธิบัตรทองสำหรับรักษาโรคดังกล่าวที่ร้านยา สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านยาใกล้บ้านได้ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) [ เช็กรายชื่อร้านยาได้ที่นี่ ] โดยร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส มีบริการ Delivery จัดส่งยาและสินค้าสุขภาพถึงบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee
 

ใช้บริการ Delivery คลิกเลย! 

 

ทั้งนี้ การใช้สิทธิบัตรทองในการรับยาแก้ไอ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้มีอาการที่ไม่รุนแรง และต้องการการดูแลเบื้องต้นโดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเท่านั้น หากมีอาการรุนแรง ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ทันที 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ยาแก้ไอ 

ยาแก้ไอสามารถใช้กับเด็กได้หรือไม่? 

ใช้ได้ แต่ควรเลือกยาแก้ไอสำหรับเด็ก เช่น การไอแบบมีเสมหะ ควรเลือกใช้ยาละลายเสมหะสำหรับเด็กที่มีตัวยา คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine) เช่น Amicof ซึ่งช่วยลดความเหนียวของเสมหะ และควรเลือกยาแก้ไอแบบน้ำที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อให้เด็กใช้ยาได้ง่าย และปลอดภัยต่อสุขภาพ 

 

การใช้ยาแก้ไอระหว่างตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่? 

ยาแก้ไอบางชนิด เช่น Guaifenesin และ Dextromethorphan ถือว่าปลอดภัยสำหรับผู้ตั้งครรภ์ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาผสม และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา 

 

หาก ไอ ไม่หายควรทำอย่างไร? 

หากอาการไอไม่ดีขึ้นภายใน 7 วัน หรือมีอาการรุนแรง เช่น เสมหะมีเลือดปน หรือมีไข้สูง ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยเพิ่มเติม 

 

สรุป 

การเลือกยาแก้ไอให้ตรงกับประเภทของอาการ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีอาการไอแห้งจะใช้ยาประเภท ยากดอาการไอ (Suppressants) ส่วนผู้ที่มีอาการไอมีแบบเสมหะ จะใช้ยาประเภท ยาขับเสมหะ (Expectorants) หรือยาละลายเสมหะ (Mucolytics) เมื่อได้รู้จักกับประเภทของยาแก้ไอ แล้ว ควรใช้ยาให้ถูกวิธี เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียง และการใช้ยาเกินขนาด นอกจากนี้ การใช้สิทธิบัตรทองเพื่อรับยาแก้ไอจากร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ ยังเป็นทางเลือกที่สะดวกและประหยัดสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง 

หากมีข้อสงสัยหรืออาการไอไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับอาการ 

  

ที่มา 

อาการไอ(Cough) ตอนที่ 1 จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ยาแก้ไอ… มีกี่แบบ ?? บทความจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Over-the-Counter Cough Medicines: A Complete Guide จาก Webmd
How to Choose the Best Over-the-Counter Cough Medicines จาก Verywell Health

 


อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก