ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ไม่ใช่เรื่องปกติ เช็กสัญญาณเสี่ยงของโรค

ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ไม่ใช่เรื่องปกติ เช็กสัญญาณเสี่ยงของโรค

ใจสั่น หรือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถเกิดขึ้นไดทุกช่วงวัย และหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกายหักโหม แพ้อาหาร หรือมีความเครียดสะสม เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าอาการดังกล่าว จะมีระดับความรุนแรงที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคบางชนิด หรือมีความผิดปกติภายในร่างกายได้ ทความนี้ ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ึงได้รวบรวมข้อมูลด กี่ยกับ ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ไม่ใช่เรื่องปกติ เช็กสัญญาณเสี่ยงของโรค าฝากกัน 

 

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ใจสั่น คืออะไร 

 

ใจสั่น หรือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร

 

ใจสั่น หรือ Heart Palpitations เป็ภาวะของหัวใจที่มีการทำงานผิดปกติ เต้นผิดจังหวะ หรือไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเต้นเบาหรือหัวใจเต้นเร็วจนเกินไ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกวาบหวิว ละ หายใจไม่อิ่ม ยผู้ป่วยที่มีอาการไม่ม สามารถหายได้เ ่สำหรับบางรายที่มีอาการรุนแ จเกิดอาการหน้าม ็น ือถึงขั้นหมดสติได้  

 

สาเหตุของอาการ ใจสั่น เกิดจากอะไรบ้าง 

โดยปกติอาการใจสั่น มักพบได้บ่อยในผู้หญิง แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเช่นกัน ทั้งนี้สาเหตุของอาการ จะถูกแบ่งออกเป็น 10 ปัจจัยหลักดังนี้  

  • ความเครียด วิตกกังวล ทำให้เกิดอาการใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก สั่น หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกคล้ายกับโรคหัวใจได้ 
  • ติดเชื้อ หรือมีไข้ เนื่องจากร่างกายจะใช้พลังงานหนัก และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการใจสั่นได้ง่าย 
  • การรับประทานยาบางชนิด ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความดัน เป็นต้น 
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของผู้ป่วยแต่ละราย ว่ามีจังหวะที่เร็วช้า หรือไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะมีความรุนแรง และภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน 
  • ไทรอยด์เป็นพิษ โรคดังกล่าวมีผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกายโดยตรง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ มือสั่นได้ 
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจทำให้มีอาการมือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ใจหวิว และระบบหัวใจทำงานผิดปกติ 
  • โรคหอบหืด เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เยื่อบุ และผนังหลอดลมตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หรือ ใจสั่น 
  • โรคโลหิตจาง ภาวะที่เม็ดเลือดแดงมีปริมาณลดน้อยลง ซึ่งเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าวจะมีอาการปวดหัว ใจสั่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และมีผิวหนังซีดลง หรือเหลืองขึ้น 
  • สูบบุหรี่ สารนิโคติน หรือสารสำคัญที่อยู่ในบุหรี่ หากร่างกายได้รับในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลต่อระบบหัวใจ และเกิดอาการอื่น ๆ จากเส้นเลือดตีบ หรือตันได้ เช่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ฯลฯ 
  • สูญเสียเลือด หากร่างกายมีการเสียเลือดจากโรคบางชนิด หรือเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง เมื่อปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อก ใจสั่นได้ เนื่องจากระบบหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ 

 

อาการใจสั่น สามารถเกิดขึ้นตอนไหนได้บ้าง 

 

อาการใจสั่น สามารถเกิดขึ้นตอนไหนได้บ้าง

 

1. ขณะออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายอย่างหนัก จะส่งผลให้หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการใจสั่นจนรู้สึกได้ 

2. หลังรับประทานอาหาร

การรับประทานอาหารรสเผ็ด ดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจทําให้หัวใจเต้นผิดปกติ และรู้สึกวูบวาบได้ 

3. ใจสั่น เมื่อนอนราบ  

การนอนตะแคงอาจทำให้น้ำหนักของปอดลงไปกดทับหัวใจ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการใจสั่น หรือหัวใจล้มเหลวได้ 

4. อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์  

สำหรับผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ อัตราการเต้นของหัวใจ และปริมาณเลือดจะมีการสูบฉีด และไหลเวียนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คนท้องจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ทั้งนี้ควรระมัดระวังในการใช้ชีวิต และหลีกเลี่ยงการทำงานที่หนักเกินไป 

 

การวินิจฉัยอาการ ใจสั่น  

สำหรับการวินิจฉัยอาการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสอบถามข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับผู้ป่วย เพื่อประเมินว่าจำเป็นต้องเขารับการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจ หรือทำการรักษาในขั้นตอนต่อไปหรือไม่ เช่น 

  1. ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย เช่น โรคประจำตัว หรือการแพ้ยาที่มีผื่นร่วมด้วย ฯลฯ 
  2. ลักษณะของอาการที่เกิดขึ้น 
  3. การรับประทานอาหารในแต่ละวัน 
  4. ยา หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ 
  5. ความถี่ของการเกิดอาการดังกล่าว 

 

หากมีอาการใจสั่น เกิดขึ้นบ่อยคั้ง จะมีวิธีการตรวสอบและรักษาอย่างไรบ้าง 

 

“ใจสั่น” บ่อยครั้ง จะมีวิธีการตรวจสอบและรักษาอย่างไรบ้าง

 

กรณีแพทย์พบว่าสาเหตุของใจสั่น มาจากภาวะทางร่างกาย โรคประจำตัว และการแพ้ยาบางชนิด ผู้เชี่ยวชาญจะมีขั้นตอนในการรักษาภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจโดยตรง ดังนี้ 

อัลตราซาวนด์หัวใจเพื่อตรวจสอบอาการ ใจสั่น (Echocardiogram) 

คือ การใช้คลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในบริเวณทรวงอก เพื่อรับเสียงที่สะท้อนออกมาและเเปลคลื่นให้กลายเป็นภาพบนหน้าจอ โดยจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ว่ามีความผิดปกติตรงไหนหรือไม่ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค ตรวจหาความรุนแรง และติดตามผลการรักษาเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ  

แพทย์อาจให้ยาที่ช่วยลดความถี่ และความรุนแรงของอาการใจสั่น เพื่อทําให้จังหวะการเต้นของหัวใจกลับมาปกติ  

 

ตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) 

เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องส่งภายนอกร่างกาย ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอกของผู้ป่วยเพื่อปรับจังหวะ หรืออัตราการเต้นของหัวใจใหม่ 

 

อาการ ใจสั่น แบบไหนควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

แม้ว่าอาการ Heart Palpitations จะสามารถหายได้เองเพียงไม่กี่นาที แต่หากมีประวัติโรคหัวใจ หรือมีลักษณะอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจสอบการทำงานของระบบหัวใจ  

  1. รู้สึกไม่สบายหน้าอก หายใจลำบากหรือเจ็บ 
  2. เหงื่อออกผิดปกติ 
  3. เวียนศีรษะอย่างรุนแรง 
  4. มีอาการหน้ามืด และเป็นลม 
  5. อาเจียน 
  6. หายใจถี่ ๆ  

 

วิธีป้องกันอาการ “ใจสั่น” เบื้องต้น

 

วิธีป้องกันอาการ “ใจสั่น” เบื้องต้น

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  
  • ควรบริโภคชา หรือกาแฟ ที่มีคาเฟอีนไม่เกิน 250 – 400 มก.ต่อวัน 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่หักโหมจนเกินไป 
  • หมั่นควบคุมความดันโลหิต และระดับคอเลสเตอรอล 
  • หากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด 
  • งดสูบบุหรี่ 

 

สรุป  

ใจสั่น (Heart Palpitations) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย และหลายสาเหตุ ซึ่งหากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคไทรอยด์เป็นพิษ และโรคโลหิตจาง เป็นต้น ทั้งนี้การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนมากเกินไป รวมถึงการออกกำลังกายที่ไม่หักโหม ก็จะช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคดังกล่าว และส่งผลดีต่อสุขภาพ หากรู้สึกว่าร่างกายมีความผิดปกติจากการใช้ยา หรือมีอาการรุนแรงตามข้างต้น ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อทำการวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม 

 

ที่มา: 

ใจสั่น สัญญาณเตือนโรคอันตราย จาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  

การดื่มกาแฟกับผลกระทบต่อสุขภาพ จาก กระทรวงสาธารณสุข  

What are Heart Palpitations จาก Clevelandclinic  

Heart Palpitations จาก Mayo Clinic  

 

อัปเดตและติดตามสาระสุขภาพดี ๆ จาก ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ได้ที่

LINE: @eXtaPlus (https://bit.ly/eXtaplus)

หากมีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพและการใช้ยา สามารถปรึกษากับเภสัชกรได้ที่ร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถปรึกษาเภสัชกรร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ผ่าน Application ALL PharmaSee ได้ตลอด 24 ชั่วโมง มาสุขภาพดีไปด้วยกันนะคะ

 

All Pharma See

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้เอ็กซ์ต้าเห็นการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ เอ็กซ์ต้ายังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้เอ็กซ์ต้าไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของเอ็กซ์ต้า แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก